ผลของโปรมแกรมระเบิดสมองและการรับรู้ความรู้สึกตัวต่อความเครียด ของนักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 2 มหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย Effective of the Enlightenment and Mindfulness Program on stress in second year nursing students at Eastern Asia University

ผู้แต่ง

  • กนิษฐ ศรีปานแก้ว
  • สายฝน กันธมาลี

คำสำคัญ:

สมาธิรู้เท่าทันตนเองตามความเป็นจริง ระเบิดสมองโดยการรับรู้ลมหายใจ การรับรู้ความรู้สึกตัว การจัดการความเครียด Mindfulness Meditation, Enlightenment, Consciousness, Stress management

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผลของโปรมแกรมระเบิดสมองและการรับรู้ความรู้สึกตัวต่อความเครียดของนักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 2 มหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย   ปีการศึกษา 2556  กลุ่มประชากรคือนักศึกษาพยาบาลที่มีคะแนนความเครียดตามเกณฑ์ของแบบประเมินและวิเคราะห์ความเครียดด้วยตนเอง ของกรมสุขภาพจิต กำหนดให้กลุ่มตัวอย่างมีคุณสมบัติคล้ายคลึงกันและสมัครใจเข้าร่วมวิจัยจำนวน 29 คน ได้กลุ่มทดลองจำนวน 19 คน กลุ่มควบคุมจำนวน 10 คน กลุ่มทดลองได้เข้าร่วมโปรแกรมระเบิดสมองและการรับรู้ความรู้สึกตัวเป็นแนวทางปฏิบัติการทำสมาธิรู้เท่าทันตนเองตามความเป็นจริงที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น ทั้งหมดจำนวน  7 ครั้ง ครั้งละ 30-60 นาที/วัน จนครบเป็นเวลา 14 วัน ประเมินด้วยแบบประเมินและวิเคราะห์ความเครียดด้วยตนเองในกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม  วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติค่าที (t-test)  ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มทดลองมีความเครียดหลังการทดลองลดลงมากกว่าก่อนทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .05)  และความเครียดของกลุ่มทดลองลดลงมากกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .05) สรุปว่า โปรแกรมระเบิดสมองและการรับรู้ความรู้สึกเป็นแนวปฏิบัติของสมาธิรูเท่าทันตนเองตามความเป็นจริงซึ่งเป็นประโยชน์ในการจัดการความเครียด โดยนักศึกษาพยาบาลสามารถปฏิบัติด้วยตนเองในทุกอิริยาบถ ทุกเวลา โดยประยุกต์ใช้กับตนเองอย่างเหมาะสม ทำให้นักศึกษาพยาบาลสามารถจัดการความเครียดได้ดีขึ้น จึงส่งผลให้นักศึกษามีความเครียดลดลง

A quasi-experimental design was performed to reveal the effects of the Enlightenment and Mindfulness Program on stress in the second year nursing students at Eastern Asia University. The participants included 29 students who were passing the criteria of stress, measured by the Stress Assessment and Self Analysis Questionnaires (SASAQ) of Department of Mental Health, and 19 participants volunteer to be in the experimental group which was trained with the program, while 10 participants were in the control group which was not trained. The stress test was repeated again at the end of training period. Data were analyzed by t-test to compare the difference between mean scores of the experiment and control group, and paired t-test before and after training of each group. The results were suggested that there was significantly lower stress in the experimental group, at the end of training period, than in the control group and lower than before training. The conclusion was the Enlightenment and Mindfulness Program can be practical used for stress reduction among the second year nursing students, and this technique can be self-administered by nursing students at all times.

Downloads