การพัฒนาแบบฟอร์มบันทึกปฏิบัติการพยาบาลและประเมินผลการพยาบาล โรงพยาบาลหนองวัวซอ จังหวัดอุดรธานี Development of Nursing Implementation and Evaluation Documentation at Nong Wau Saw Hospital, Udon Thani

ผู้แต่ง

  • มัลลิกา ลุนจักร์
  • มาริสา ไกรฤกษ์

คำสำคัญ:

แบบฟอร์มบันทึกปฏิบัติการพยาบาลและประเมินผลการพยาบาล สหสาขาวิชาชีพ การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม Development of Nursing Implementation and Evaluation Documentation

บทคัดย่อ

                      การศึกษาวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม(Participatory action research)มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาแบบฟอร์มบันทึกการปฏิบัติการพยาบาลและประเมินผลการพยาบาลโรงพยาบาลหนองวัวซอ จังหวัดอุดรธานี การศึกษาประกอบด้วย 4 ขั้นตอนได้แก่ 1)ขั้นวางแผนงาน  2) ขั้นลงมือปฏิบัติงาน 3) ขั้นตอนการสังเกตผลการปฏิบัติงานและ 4) การสะท้อนกลับ  ดำเนินการระหว่างเดือนมีนาคม ถึงเดือนมิถุนายน 2556   กลุ่มที่ร่วมกันพัฒนาคือ นักวิจัย และบุคคลากรของโรงพยาบาล ประกอบด้วย แพทย์ จำนวน 3 คน เภสัชกร จำนวน 4 คน พยาบาลวิชาชีพ จำนวน 10 คน นักกายภาพบำบัด จำนวน 2 คน นักโภชนากร จำนวน 1 คน รวม 20 คน เครื่องมือที่ใช้ได้แก่ 1) แนวคำถามปลายเปิด   2) แบบประเมินความพึงพอใจต่อแบบฟอร์มบันทึกการปฏิบัติการพยาบาลและประเมินผลการพยาบาลของพยาบาลซึ่งผ่านการตรวจสอบจากผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 5 ท่านและหาความเที่ยงโดยใช้วิธีการคำนวณสัมประสิทธิ์อัลฟาของครอนบาค (Cronbach’s Alpha coefficient) ได้ค่าความเที่ยง เท่ากับ 0.80  3)  แบบประเมินคุณภาพการบันทึกทางการพยาบาลของสำนักการพยาบาล ซึ่งใช้หลัก 4C คือ ความถูกต้อง (Correct) ความครบถ้วน (Complete) ความชัดเจน (Clear) และได้ใจความ (Concise)   วิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา( Content Analysis  จากการสัมภาษณ์และสนทนากลุ่มเกี่ยวกับปัญหาการใช้แบบบันทึก วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณความพึงพอใจและคุณภาพการบันทึกโดยหาค่าความถี่ ร้อยละ  ค่าเฉลี่ย  ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

                ผลการศึกษาพบว่า หลังจากที่สหสาขาวิชาชีพวิเคราะห์ร่วมกันถึงปัญหาการบันทึกการปฏิบัติการพยาบาลและการประเมินผลการพยาบาลที่ผ่านมา ได้ร่วมกันพัฒนาแบบฟอร์มบันทึกการปฏิบัติการพยาบาลและประเมินผลการพยาบาลที่มีโครงสร้างการบันทึกข้อมูล 7 ช่อง ได้แก่ ช่องที่ 1 วันที่-เวลา ช่องที่ 2 คือสัญญาณชีพ ช่องที่ 3 ช่องอื่นๆ(ผลตรวจทางห้องปฏิบัติการหรือการตรวจอื่นๆ) ช่องที่ 4 ปัญหาข้อมูลสนับสนุน ช่องที่ 5 ปฏิบัติการพยาบาล ช่องที่ 6 ประเมินผล, และช่องที่ 7 ผู้บันทึก  และมีการบันทึกแบบ Focus charting ที่มุ่งความต้องการและสะท้อนประเด็นสำคัญของผู้ป่วย  หลังจากนำแบบฟอร์มบันทึกใหม่ไปปฏิบัติ  สหสาขาวิชาชีพได้ให้ข้อคิดเห็นว่าสามารถใช้ประโยชน์จากข้อมูลในแบบฟอร์มการบันทึกนี้และสามารถติดตามผลการดูแลรักษาได้ต่อเนื่อง การประเมินคุณภาพการบันทึกทางการพยาบาลพบว่าการบันทึกมีคุณภาพเพิ่มมากขึ้นจากระดับไม่ดีมาอยู่ระดับปานกลางถึงดีมาก     ความพึงพอใจภาพรวมของพยาบาลต่อการใช้แบบฟอร์มบันทึกการปฏิบัติการพยาบาลและประเมินผลการพยาบาลที่พัฒนาขึ้นมาใหม่อยู่ในระดับพึงพอใจมาก    ผลการศึกษาครั้งนี้ สามารถนำไปใช้เป็นแนวทางสำหรับผู้บริหารในการพัฒนาแบบฟอร์มบันทึกการปฏิบัติการพยาบาลและประเมินผลการพยาบาลโดยการมีส่วนร่วมของสหสาขาวิชาชีพ และเกิดผลลัพธ์ที่เป็นการพัฒนาคุณภาพการบันทึกทางการพยาบาลที่เพิ่มมากขึ้น 

This participatory action research aimed to develop nursing implementation and evaluation documentation at Nong Wau Saw Hospital, Udonthani. The research was conducted in  four distinctive processes: analysing  the problem  of the actual situations , planing to define the solutions, implementing the tasks, and evaluating. The development process started from March, 2013 to June, 2013. The development team consisted of the researcher  and the 20 hospital personnels which were  three  medical doctors, four pharmacists, 10 professional nurses,  two  physical therapists, and one  nutritist. The research tool was a questionnaire of satisfaction evaluation which was approved by five  experts and reliability tested by applying Cronbach’s Alpha coefficient resulted 0.80. Moreover, the documentation quality was evaluated in 4C: correct, complete, clear, and concise with an evaluation form. The quantitative data were analyzed with frequency, percentage, mean, and standard deviation. The qualitative data were analyzed by content analysis.

In the development process, the multi-health professional team agreed to develop nursing implementation and evaluation documentation. The documentation form consist of seven different columns: date and time, vital signs, laboratory investigation results, problems and supported data, nursing activities, nursing evaluation, and signature. It was also recoreded with focus charting style which reflected necessary information of patients. Consequently, the team has recognized its effectiveness of the written information as it can be used continueously to accompany the implementation. According to the documents, it has shown the result of the implementation from low level to high level. Moreover,  overall satisfaction of the implementation has been upgraded to be extremely satisfied.

This study can be well used to emphasize the better quality of nursing documentation which was satisfied by multidisciplinary health team. The information in the nursing documentation will be used by health team to make a care plan of the patient.  This study demonstrates a good example of promoting participatory decision in an institution that can create the better system in coordinating overall and inclusive qualified patients cares in the best practice. Thus, the managing team or the directors should take a concern in participating this kind of multi-helth profession team to forward precious health care.

Downloads