ภาวะโภชนาการและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับภาวะโภชนาการในผู้สูงอายุเจ็บป่วยเรื้อรังที่มารับบริการที่คลินิกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลทุติยภูมิแห่งหนึ่ง Nutritional Status and Factors Related to Nutritional Status in Chronically Ill Older Persons Attended Outpatient Cl
คำสำคัญ:
ภาวะโภชนาการ ปัจจัยที่เกี่ยวข้อง ผู้สูงอายุเจ็บป่วยเรื้อรัง คลินิกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลทุติยภูมิ nutritional status, factors related, older persons, chronic illness, out-patient clinicบทคัดย่อ
การวิจัยเชิงพรรณนา ศึกษาภาวะโภชนาการและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับภาวะโภชนาการ กลุ่มตัวอย่างคือผู้สูงอายุเจ็บป่วยเรื้อรังที่มารับบริการคลินิกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลทุติยภูมิแห่งหนึ่ง 182 คน กรอบแนวคิดพัฒนาจากการทบทวนวรรณกรรม เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถามที่พัฒนาขึ้น แบบประเมินมาตรฐาน และการตรวจร่างกาย วิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรม SPSS ใช้สถิติเชิงพรรณนา ผลการศึกษา (1) ภาวะโภชนาการ การประเมินทางกาย พบมีดัชนีมวลกายเกิน (ร้อยละ 46.70) และภาวะอ้วนลงพุง (ร้อยละ 52.20) การประเมินทางชีวเคมี พบมีฮีโมโกลบินและฮีมาโตคริตต่ำ (ร้อยละ 74.18 และ 73.63) มีน้ำตาลในเลือดสูง (ร้อยละ 58.24) มีอัลบูมินต่ำ (ร้อยละ 19.78) และโคเลสเตอรอลสูง (ร้อยละ 11.5) การตรวจร่างกาย พบเยื่อบุตาซีด (ร้อยละ 36.81) การประเมินอาหารที่บริโภค พบว่าได้รับโปรตีน เฉลี่ย 45.59 กรัมต่อวัน และพลังงานเฉลี่ย 1,043.86 กิโลแคลอรี่ต่อวัน (2) ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับภาวะโภชนาการ พบส่วนใหญ่เป็นหญิง (ร้อยละ 65.93) ผู้สูงอายุวัยกลาง (ร้อยละ 46.15) มีโรคเรื้อรัง 3 โรค (ร้อยละ 40.66) ได้ยามากกว่า 4 ชนิด (ร้อยละ 56.59) สามารถทำกิจวัตรประจำวันพื้นฐาน (ร้อยละ 97.80) ไม่มีภาวะซึมเศร้า (ร้อยละ 79.6) และสภาพสมองปกติ (ร้อยละ 85.71) ด้านสังคม พบยังคงอาศัยอยู่กับครอบครัว (ร้อยละ 86.81) และมีรายได้เพียงพอ (ร้อยละ 58.79) ข้อมูลนี้สามารถใช้เป็นแนวทางการดูแลผู้สูงอายุเจ็บป่วยเรื้อรังที่คลินิกผู้ป่วยนอกได้
This descriptive research aimed to study nutritional status and factors related to nutritional status. The sample comprised of 182 chronically ill older persons attended outpatient clinic at a secondary hospital. The conceptual framework used was based on the literature reviewed. Data were collected using the developed questionnaires, standard instruments, and physical assessment. Data analysis was done by SPSS program using descriptive statistics. Results: (1) Nutritional status, Results from physical measures showed that most of the sample had BMI and waist circumference over normal limit (46.70% and 52.20%); results from biochemistry test showed that heamatocrit and hemoglobin were lower (74.18% and 73.63%), blood sugar levels were higher (58.24%), albumin were lower (19.78%), and cholesterol levels were higher than standard levels (11.5%); and results from physical examination showed pale conjunctiva (36.81%). Most of the sample consumed protein and energy less than daily standard levels with the averages of 45.59 and 1,043.86 calories per day. (2) Factors related to nutritional status: most of the sample were females (65.93%), were in old-old age group (46.15%), had 3 chronic illnesses (40.66%), took 4 medicines or more per day (56.59%), could perform basic activity of daily living (97.80%), had no depression (79.6%), had normal mental status (85.71%); social dimension found that the sample still lived with their families (86.81%) and had enough incomes (58.79%). These data can be guided care for chronically ill older persons attended at outpatient clinics.