ผลของโปรแกรมการเตรียมความพร้อมอย่างมีแบบแผนต่อความวิตกกังวลของผู้ป่วยผ่าตัดที่ได้รับยาระงับความรู้สึกทางช่องไขสันหลัง ในโรงพยาบาลศรีสะเกษ Effects of Planned Participation Program on Anxiety among Patients Receiving Spinal Anesthesia at Sisaket hospital.
คำสำคัญ:
ความวิตกกังวล, โปรแกรมการเตรียมความพร้อมอย่างมีแบบแผน, พฤติกรรมตอบสอนงต่อความวิตกกังวล spinal anesthesia, anxiety, behavioral response to anxiety, satisfaction, music therapy *Specialist Nurse APN(W.pi) Nursing Anesthesia, Sisaket Hospitalบทคัดย่อ
การวิจัยกึ่งทดลอง (Quasi-experimental with posttest only control design) นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบระดับความวิตกกังวล และพฤติกรรมตอบสนองต่อความวิตกกังวลหลังได้รับยาระงับความรู้สึกทางช่องไขสันหลัง กลุ่มตัวอย่างคัดเลือกแบบเจาะจงจากผู้ป่วยที่ได้รับยาระงับความรู้สึกทางช่องไขสันหลังที่ได้รับการผ่าตัดทางศัลยกรรมทั่วไป ของโรงพยาบาลศรีสะเกษ จำนวน 90 คน ทำการสุ่มจำแนกกลุ่ม (random assignment) แบบจับฉลากไม่คืนที่ ได้กลุ่มทดลอง ที่ได้รับโปรแกรมการเตรียมความพร้อมอย่างมีแบบแผนจำนวน 45 คน และกลุ่มควบคุมที่ได้รับบริการตามมาตรฐาน 45 คน เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง คือ โปรแกรมการเตรียมความพร้อมอย่างมีแบบแผน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แบบประเมินความวิตกกังวลต่อการได้รับยาระงับความรู้สึกทางช่องไขสันหลังและ แบบสังเกตพฤติกรรมตอบสนองต่อความวิตกกังวลที่ผ่านการหาคุณภาพด้านความตรงเชิงเนื้อหา โดยผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 ท่านและนำไปหาค่าความเที่ยงด้วยวิธีของแอลฟ่าครอนบาค ได้ค่าเท่ากับ .88 และ .86 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนา และเปรียบเทียบความแตกต่างของความวิตกกังวลและพฤติกรรมตอบสนองต่อความวิตกกังวลหลังได้รับยาระงับความรู้สึกทางช่องไขสันหลังระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมโดยใช้สถิติ Independent t-test
ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้
1.กลุ่มตัวอย่างมีความคล้ายคลึงกัน โดยส่วนใหญ่เป็นเพศชาย อายุระหว่าง 51-60 ปี ประกอบอาชีพเกษตรกรรม การศึกษาระดับประถมศึกษา ไม่เคยรับการผ่าตัดและไม่มีโรคประจำตัว รอเข้ารับการผ่าตัด 1-2 วัน
2.กลุ่มทดลองที่ได้รับโปรแกรมเตรียมความพร้อมอย่างมีแบบแผนมีคะแนนเฉลี่ยความวิตกกังวลจากการได้รับยาระงับความรู้สึกทางช่องไขสันหลังเท่ากับ 6.67 (SD=1.79) ส่วนกลุ่มควบคุมมีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 25.89 (SD=2.91) ซึ่งคะแนนความวิตกกังวลต่อการได้รับความรู้สึกทางช่องไขสันหลังของกลุ่มทดลองต่ำกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ p<.05 (t=4.36, df=72.98, one-way testing)
3.คะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมการตอบสนองต่อความวิตกกังวลขณะได้รับยาระงับความรู้สึกทางช่องไขสันหลังของกลุ่มทดลองเท่ากับ 1.66 (SD=0.64) ส่วนคะแนนเฉลี่ยของกลุ่มควบคุมเท่ากับ 2.31 (SD=.66) ซึ่งคะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมการตอบสนองต่อความวิตกกังวลกลุ่มทดลองต่ำกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ p<.001 (t=45.59, df=88, one-way testing)
The aims of this quasi-experimental designed research were to compare the anxiety levels of patients and compare the behavioral response to anxiety after spinal anesthesia. The samples were 90 patients who received spinal anesthesia while having general surgery and orthopedic surgery. The samples were divided into two groups using simple random sampling technique equally: 45 experiments and 45 controls. The instruments were the assessments of anxiety, the behavioral response to anxiety and satisfaction scales. The qualities of instruments were assessed using the content validity testing by five experts as well as the reliability testing with cronbach's alpha coefficient at 0.88 and 0.86 respectively. Descriptive statistics were utilized to describe the findings and independent t-test was utilized to determine the difference between experimental group and control group with a significance level of .05. Findings are shown as below.
There were similarity between experimental and control group in which the majority of subjects were male, aged between 51-60 years were farmers. Finish elementary level, no surgery experience and no underlying disease, and waited from a surgery about 1-2 days.
Means anxiety in experimental group was 6.67 (SD=1.79) and in control group was 25.89 (2.91). Anxiety in experimental was statistically significant lower than control group at p<0.05. (t=4.36, df=72.98, one-way testing).
Mean anxiety’s response behaviors during receive spinal anesthesia in experimental group was 1.66 (SD=0.64) while in control group was 2.31 (SD=.66). Mean anxiety’s response behaviors in experimental group was a statistically significant lower than control group at p<.001 (t=45.59, df=88, one-way testing).