ปัจจัยทำนายคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยมะเร็งเต้านมภายหลังการรักษาในโรงพยาบาลสังกัดมหาวิทยาลัย
คำสำคัญ:
ปัจจัยทำนายคุณภาพชีวิต/ความเข้มแข็งในการมองโลก/แรงสนับสนุนทางสังคม/ ผู้ป่วยมะเร็งเต้านม ภายหลังการรักษา Factors Predicting Quality of Life /Sense of Coherence/Social Support/Breast Cancer Patients after Treatmentบทคัดย่อ
การวิจัยเชิงบรรยายนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึง 1) ระดับความเข้มแข็งในการมองโลก แรงสนับสนุน
ทางสังคมและคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยมะเร็งเต้านม และ 2) ปัจจัยทำนายคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยมะเร็งเต้านม ภายหลังการรักษาโดยใช้กรอบแนวคิดการจัดการของดอร์ดและคณะ (2001) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาเป็นผู้ป่วยมะเร็งเต้านมภายหลังการรักษาที่มาตรวจในโรงพยาบาลสังกัดมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่ง จำนวน 132 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล ได้แก่ 1) แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล โรค การรักษา อาการข้างเคียงและผลกระทบจากอาการข้างเคียง 2) แบบสอบถามความเข้มแข็งในการมองโลก ฉบับย่อของแอนโตนอฟสกี (1987)แปลเป็นภาษาไทยโดย สมจิต หนุเจริญกุลและคณะ (1989) 3) แบบสอบถามแรงสนับสนุนทางสังคมของโทลจาโมและเฮนติเนน (2001) แปลเป็นภาษาไทยโดยสิริรัตน์ ลีลาจรัส (2005) และ 4) แบบสอบถามคุณภาพชีวิตฉบับภาษาไทยของเซลลา (1997) ได้รับอนุญาติให้ใช้เครื่องมือจาก FACIT. Org (Functional Assessment of Chronic Illness Therapy) วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติบรรยายและวิเคราะห์ปัจจัยทำนายโดยใช้สถิติถดถอย
ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีอายุเฉลี่ย 56.5 ปี (SD = 9.9) มีปัญหาทางเศรษฐกิจจำนวน 91 คน (ร้อยละ68.9) มีการรบกวนจากอาการข้างเคียงมีค่ามัธยฐานเท่ากับ 1 ( = 2.5, SD = 2.9, range 0-10) และช่วงเวลาภายหลังการรักษาเฉลี่ย 6.3 ปี มีค่ามัธยฐานเท่ากับ 5 (SD = 4.6, range 1-25) ค่าเฉลี่ยของความเข้มแข็งในการมองโลก ( = 65.0, SD = 10.7) แรงสนับสนุนทางสังคม( = 50.6, SD = 8.3)และคุณภาพชีวิต( = 114.2, SD = 19.6) อยู่ในระดับสูงทั้ง 3 ตัวแปร ผลการศึกษาปัจจัยทำนายคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยมะเร็งเต้านมภายหลังการรักษา พบว่า ความเข้มแข็งในการมองโลก (β = 0.8, p< 0.001) แรงสนับสนุนทางสังคม (β = 0.7, p< 0.001) กลุ่มอายุ (β = -7.1, p = 0.03) และภาวะสภาพเศรษฐกิจ (β = 5.8, p = 0.04) โดยตัวแปรทั้ง 4 ตัวแปรสามารถร่วมกันทำนายได้ร้อยละ 44 ส่วนตัวแปรที่ไม่สามารถทำนายคุณภาพชีวิตในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ ภาวะการรบกวนจากอาการข้างเคียงและช่วงเวลาภายหลังการรักษา ผลการวิจัยสามารถนำไปใช้ในการส่งเสริมความเข้มแข็งในการมองโลกและแรงสนับสนุนทางสังคมโดยเฉพาะในบุคคลที่มีอายุน้อยกว่าหรือเท่ากับ 50 ปีหรือผู้ที่มีปัญหาทางเศรษฐกิจ เพื่อเพิ่มคุณภาพชีวิตให้กับผู้ป่วยมะเร็งเต้านมภายหลังการรักษาต่อไป
Purposes of this descriptive research were to study 1) level of sense of coherence, social support, and quality of life, and 2) factors predicting the quality of life in women with breast cancer after treatment in university hospital by using Symptom Management Model by Dodd and colleague (2001). Samples included 132 women who visited at university hospital. The instruments were 1) the personal data, disease, treatment, side effects, and distress from side effects 2) sense of coherence -13 (short form questionnaires) developed by Antonovsky (1987) translated to Thai by Hanucharurnkul et. al. (1989), 3) social support questionnaires developed by Toljamo and Hentinen (2001) translated to Thai by Leelacharas (2005), and 3) quality of life for breast cancer questionnaires (FACT_ B) Thai version developed by Cella (1997) permitted to use by FACIT.org. Data were analyzed by descriptive and multiple regression.
Results found that the average age of participants was 56.5 years (SD = 9.9, range = 25-82). Ninety one women had financial problem (68.9%). The median of side effects distress was 1 ( = 2.5, SD = 2.9, range 0-10) and median of period after treatment was 5 years ( = 6.3, SD = 4.6, range 1-25). Results also found that the average of sense of coherence ( = 65.0, SD = 10.7); social support ( = 50.6, SD = 8.3); overall quality of life ( = 114.2, SD = 19.6) were high level. In addition, results also found that sense of coherence (β = 0.8, p< 0.001), social support (β = 0.7, p< 0.001), age (β = -7.1, p = 0.03), and financial status (β = 5.8, p = 0.04) could predict quality of life 44%. Whereas side effects distress, and time after treatment could not predict quality of life in women with breast cancer after treatment. Results from the study can be used as evidence-based to provide the sense of coherence and social support especially in women age less than or equal to 50 years and had financial problems for further improving quality of life in women with breast cancer after treatment.