การพัฒนารูปแบบบริการผู้ป่วยไตวายระยะสุดท้ายที่ได้รับการล้างไตทางช่องท้อง โรงพยาบาลร้อยเอ็ด Development care services model for patients with end stage renal disease who received the continuous ambulatory peritoneal dialysis at Roi Et Hospital
คำสำคัญ:
รูปแบบบริการ, ไตวายระยะสุดท้าย, การล้างไตทางช่องท้องแบบถาวร Care services model, ESRD, CAPDบทคัดย่อ
การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (Participatory Action Research : PAR) ครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบบริการผู้ป่วยไตวายระยะสุดท้ายที่ได้รับการล้างไตทางช่องท้องแบบถาวรของคลินิกล้างไตทางช่องท้อง โรงพยาบาลร้อยเอ็ด ผู้ให้ข้อมูลประกอบด้วย ผู้ป่วยไตวายระยะสุดท้ายที่ได้รับการล้างไตทางช่องท้องแบบถาวรที่เข้ารับบริการคลินิกล้างไตทางช่องท้องจำนวน 30 คน ผู้ดูแลจำนวน 30 คน อายุรแพทย์โรคไตจำนวน 1 คน พยาบาลผู้เชี่ยวชาญการล้างไตทางช่องท้องจำนวน 3 คน นักเทคนิคการแพทย์จำนวน 1 คน เภสัชกรจำนวน 1 คน นักโภชนากรจำนวน 1 คน อสม.จำนวน 18 คน ทีมสุขภาพของ รพ.สต.จำนวน 18 คน เก็บรวบรวมข้อมูลเชิงคุณภาพโดย การสังเกต สัมภาษณ์ ศึกษาเอกสาร บันทึกภาคสนาม และเก็บข้อมูลเชิงปริมาณ ระหว่างเดือน พฤษภาคม พ.ศ. 2556- เดือน พฤษภาคม พ.ศ. 2557
ผลการวิเคราะห์สถานการณ์การบริการผู้ป่วยไตวายระยะสุดท้ายที่ได้รับการล้างไตทางช่องท้องแบบถาวร พบว่า ผู้ป่วยและผู้ดูแลที่มารับบริการต้องประสบปัญหาการเสียเวลารอนาน การใช้ยา อสม.ขาดความรู้ในการช่วยเหลือผู้ป่วยและผู้ดูแล ไม่มีแนวปฏิบัติในการบริการ ไม่มีระบบการปรึกษาผู้เชี่ยวชาญที่ชัดเจน ยังไม่มีระบบประสานข้อมูลผู้ป่วยระหว่างสถานบริการ ผู้ป่วยและผู้ดูแลยังมีปัญหาในการจัดการตนเองในขณะที่ต้องล้างไตทางช่อง
รูปแบบบริการผู้ป่วยไตวายระยะสุดท้ายที่ได้รับการล้างไตทางช่องท้อง โดยมีองค์ประกอบของทีมประกอบด้วย อายุรแพทย์โรคไต พยาบาลผู้เชี่ยวชาญด้านการล้างไตทางช่องท้อง ทีมสุขภาพโดยมีการกำหนดบทบาทหน้าที่และการประสานความร่วมมือในการดูแลเพื่อให้บริการผู้ป่วยที่ได้รับการล้างไตทางช่องท้องอย่างชัดเจน รูปแบบบริการ ประกอบด้วย 6 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) ระบบบริการ: จัดบริการ One stop service 2) ความร่วมมือของชุมชน: อาสาสมัครเพื่อนช่วยเพื่อน 3) การสนับสนุนการจัดการตัวเอง: พยาบาลผู้จัดการรายกรณี 4) บริการเชิงรุกในชุมชน 5) สนับสนุนการตัดสินใจ: ประสานจัดการการดูแลผู้ป่วยร่วมกัน 6) ระบบฐานข้อมูลผู้ป่วยไตวายระยะสุดท้ายที่ได้รับการล้างไตทางช่องท้อง
ผลลัพธ์จากการใช้รูปแบบบริการ 1) ด้านทีมสุขภาพ พบว่า ทีมสุขภาพส่วนใหญ่มีความคิดเห็นว่ามีความเป็นไปได้ในการปฏิบัติจริง ใช้ง่ายไม่ยุ่งยากซับซ้อน เกิดประโยชน์ต่อผู้ป่วยไตวายระยะสุดท้ายที่ได้รับการล้างไตทางช่องท้องแบบถาวรและผู้ดูแล ทีมสุขภาพสามารถปฏิบัติตามได้ ทำให้ประหยัดค่าใช้จ่ายในการดูแลและมีความพึงพอใจในการใช้อยู่ในระดับมาก 2) ด้านผู้ป่วยไตวายระยะสุดท้ายที่ได้รับการล้างไตทางช่องท้องแบบถาวรและผู้ดูแล พบว่า รับรู้ความสามารถในการดูแลตนเอง ได้รับบริการที่คลินิกล้างไตทางช่องท้องที่รวดเร็วไม่เสียเวลารอนาน เฉลี่ย 100 นาที ได้กลับบ้าน มีความพึงพอใจต่อการบริการสุขภาพมากที่สุด 3) ด้านองค์กรได้รูปแบบบริการผู้ป่วยไตวายระยะสุดท้ายที่ได้รับการล้างไตทางช่องท้อง
This Participatory Action Research aims at developing services for the patients with end stage renal disease who received the continuous ambulatory peritoneal dialysis (CAPD) at the CAPD clinic, RoiEt Hospital. Research data was obtained from 30 patients with end stage renal disease who underwent the CAPD with Roi Et Hospital, 30 cargivers, Nephrologist attending these patients, 3 nurses specialized in CAPD, physical therapist ,pharmacist, nutritionist, 18 health care volunteers, 18 multidisciplinary team: PCU. Qualitative data, which included observation, interviews, literature review and field recording, and quantitative data was collected between May, 2013 and May, 2014.
Results of the situational analysis showed that with the current service patients and their accompanying family members have experienced long waiting time, issues with medicine usage, volunteers lacking proper knowledge to help the patients and families, lacking best practice for the services, no clear system for expert advice, and lacking coordination of patients’ records between healthcare facilities. In addition, the patients and their family members faced difficulties in self-care while undergoing CAPD treatment. The proposed services for end stage renal disease patient comprised a team of experts including Nephrologist, nurses specialized in CAPD treatment, and multi-disciplinary team members. The roles, responsibilities and coordination within the team needed to be well defined to provide care to these patients effectively. The service is composed of 6 elements: 1) One-stop service system 2) Cooperation from the community volunteers 3) Encouraging self-care through case nurses 4) Proactive community outreach 5) Organized patient decision support system and 6) Clinical information system: end-stage renal disease patient database. The results from the proposed service demonstrated the following: 1) Healthcare team found the proposed service is beneficial to the patients and accompanying family members, not overly complex and has good probability of success when implemented. The users found the proposed service easy to follow, cost effective with high satisfaction level. 2) The patients and families felt encouraged to care for themselves while receiving CAPD treatment; found that they were provided support and relevant information from the healthcare professionals, and were very satisfied with the service. 3) Organization: Care services model for patients with end stage renal disease who received the continuous ambulatory peritoneal dialysis.