ภาวะโภชนาการและพฤติกรรมการบริโภคอาหารต้านมะเร็งของผู้ป่วยมะเร็ง ที่อโรคยาศาล วัดคำประมง อำเภอพรรณนานิคม จังหวัดสกลนคร Nutritional status and food behavior of cancer patients in Arokaya Sala hospice, Kampramong monastery, Punnanikhom district, Sakolnakhon
คำสำคัญ:
ภาวะโภชนาการ พฤติกรรมการบริโภคอาหารต้านมะเร็ง ผู้ป่วยมะเร็ง Nutritional Status, anti-cancer food behavior, cancer patientsบทคัดย่อ
การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาภาวะโภชนาการและพฤติกรรมการบริโภคอาหารต้านมะเร็ง รวมทั้งความสัมพันธ์ระหว่างความรู้ ทัศนคติ และการปฏิบัติ ในการบริโภคอาหารต้านมะเร็งของผู้ป่วยมะเร็งที่อโรคยาศาล วัดคำประมง อำเภอพรรณนานิคม จังหวัดสกลนคร กลุ่มตัวอย่าง เป็นผู้ป่วยโรคมะเร็งที่นอนพักรักษาตัวอยู่ที่อโรคยาศาล จำนวน 85 คน โดยการสุ่มตัวอย่างอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยมีทั้งหมด 5 ส่วน ได้แก่ 1) แบบสัมภาษณ์ข้อมูลเกี่ยวกับลักษณะทางประชากร เศรษฐกิจ และสังคม 2)แบบสัมภาษณ์พฤติกรรมการบริโภคอาหารต้านมะเร็ง 3) แบบสัมภาษณ์ความถี่ในการบริโภคอาหารต้านมะเร็ง 4) แบบประเมินภาวะโภชนาโดยการชั่งน้ำหนักและวัดส่วนสูงเพื่อประเมินค่าดัชนีมวลกาย และ 5) แบบสัมภาษณ์เชิงลึก วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบความสัมพันธ์โดยคำนวณหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน และการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา สถิติไควสแควร์ พบว่า ส่วนใหญ่ ผู้ป่วยมะเร็งเพศชาย เพศหญิง มีภาวะขาดสารอาหาร ร้อยละ 63.6, 46.3 ตามลำดับ ความรู้ ทัศนคติเกี่ยวกับอาหารต้านมะเร็ง อยู่ในระดับปานกลาง ร้อยละ 55.29, 89.41 ตามลำดับ การปฏิบัติในการบริโภคอาหารต้านมะเร็ง โดยบริโภคข้าวกล้อง ผักสดและปรุงสุก ผลไม้สดรสไม่หวาน น้ำคั้นผักและผลไม้ น้ำซุปโปตัสเซียม ไม่ใช้เครื่องปรุงรสทุกชนิด ไม่บริโภคไขมัน โปรตีนจากสัตว์ ความรู้มีความสัมพันธ์เชิงบวกระดับปานกลางกับทัศนคติ ในการบริโภคอาหารต้านมะเร็งอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ(P<0.01) ทัศนคติด้านความรู้ความเข้าใจมีความสัมพันธ์กับการปฏิบัติในเรื่องภาชนะที่ใช้ในการประกอบอาหารต้านมะเร็งของผู้ป่วยโรคมะเร็งอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p – value = 0.02)
This research study aimed to investigate nutritional status, anti-cancer nutritional behaviors and relationships between knowledge, attitude and practice relating to Gerson anti-cancer food therapy among selected cancer patients. The study population were 85 cancer patients who resided in Arokaya Sala hospice, Kampramong monastery, Punnanikhom district, Sakolnakhon Province. Selection of the sample size was by means of simple random sampling technique. Tools used for data collection were consisted of (1) demographic data; (2) Anti-cancer nutritional behavior assessment; (3) Frequency of anti-cancer food consumption;(4) nutritional assessment for weight, height and body mass index and (5) In-depth interview for particular cases. Methods of analysis included quantitative measures i.e., frequency, percentage, mean, SD, X2 test and Pearson’s correlation as well as content analysis for qualitative data.
Results yielded that : (1) male and female cancer patients were under-nutrition at 63.6 and 46.3 percent respectively; (2) knowledge and attitude toward anti-cancer nutritional therapy were at moderate level (55.29 and 89.41 percent respectively; (3) Practice regarding anti-cancer therapy, i.e., consumption of unpolished brown rice, fresh vegetables and fruits, vegetable and fruit juice, Potassium vegetable soup, spicy-free foods, avoiding animal fats and protein were at satisfactory level though appeared to be inconvenient at first; (4)Knowledge had significantly correlated with Attitude on anti-cancer food therapy (p‹0.01) whereas attitude (cognitive component) had significantly associated with use of specific utensils for cooking anti-cancer foods (p=0.02)