การดูแลผู้สูงอายุของผู้ดูแลในครอบครัว บ้านหนองตะไก้ อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี Family caregiving of the elderly in Nongtaguy Village, Maung District Udonthani Province.
คำสำคัญ:
การดูแลผู้สูงอายุ ผู้ดูแลในครอบครัว Elderly care, Family care giver.บทคัดย่อ
การวิจัยเชิงพรรณนานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1)ภาวะสุขภาพของผู้สูงอายุ 2) การดูแลผู้สูงอายุของผู้ดูแลในครอบครัว 3) ความคิดเห็นของผู้สูงอายุต่อการดูแลที่ได้รับ 4) ปัญหาและความต้องการการดูแลของผู้สูงอายุและ 5) ปัญหาและความต้องการในการดูแลผู้สูงอายุของผู้ดูแล ผู้ให้ข้อมูลเป็นผู้สูงอายุในหมู่บ้านและผู้ดูแลผู้สูงอายุกลุ่มละ 59 คนซึ่งได้มาแบบเฉพาะเจาจงตามเกณฑ์ที่กำหนด เครื่องมือที่ใช้ประกอบด้วยแบบสัมภาษณ์คุณลักษณะส่วนบุคคลและภาวะสุขภาพของผู้สูงอายุ ลักษณะการอยู่อาศัยในครอบครัวและคุณลักษณะชองผู้ดูแล ปัญหาความต้องการของผู้สูงอายุและผู้ดูแล และความคิดเห็นของผู้สูงอายุต่อการดูแลที่ได้รับเป็นคำถามแบบ Rating scale 5 ระดับ วิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงพรรณนา
ผลการวิจัย 1) ภาวะสุขภาพของผู้สูงอายุ พบว่าผู้สูงอายุมีการมองเห็นและการได้ยินไม่ดี หลงลืม มีปัญหาเรื่องการเคี้ยวและการกลืน กลั้นปัสสาวะและอุจจาระไม่อยู่ นอนไม่หลับ หกล้มบ่อย ปวดหลังและปวดขา ร้อยละ 54.7 ต้องใช้อุปกรณ์ช่วยเหลือ ได้แก่ แว่นสายตาร้อยละ 26.6 ฟันปลอมร้อยละ 14.4 และไม้เท้าร้อยละ 14 ด้านสุขภาพกาย พบว่าผู้สูงอายุร้อยละ 32.8 ป่วยเป็นโรคเรื้อรัง ได้แก่ เบาหวานร้อยละ 18.8 ความดันโลหิตสูงร้อยละ 10.9 และโรคหัวใจ ร้อยละ 3.1 ด้านสุขภาพจิต พบว่าผู้สูงอายุร้อยละ 26.6 มีความวิตกกังวล ร้อยละ 23.4 มีความเครียดและร้อยละ10.9 รู้สึกเหงา 2) การดูแลผู้สูงอายุของผู้ดูแลในครอบครัว พบว่ามีการดูแลด้านร่างกาย โดยดูแลสุขวิทยาส่วนบุคคล การรับประทานอาหาร การออกกำลังกาย การพักผ่อนและการดูแลเมื่อเจ็บป่วย ด้านจิตใจ มีการสอบถามทุกข์สุข ให้ความรักเอาใจใส่และปฏิบัติต่อผู้สูงอายุด้วยความเคารพ ด้านสังคมได้สนับสนุนให้ผู้สูงอายุพบปะเพื่อนบ้านและเข้าร่วมกิจกรรมในชุมชน ด้านจิตวิญญาณได้สนับสนุนให้ผู้สูงอายุปฏิบัติกิจกรรมทางศาสนาและความเชื่อ 3) ความคิดเห็นของผู้สูงอายุต่อการดูแลที่ได้รับ ผู้สูงอายุเห็นว่าครอบครัวมีการดูแลผู้สูงอายุในระดับมากทุกด้าน ได้แก่ การดูแลเมื่อผู้สูงอายุต้องการ (ค่าเฉลี่ย 3.47) การดูแลการดำเนินชีวิตประจำวัน (ค่าเฉลี่ย 3.39) การดูแลเมื่อเจ็บป่วย(ค่าเฉลี่ย 3.38) ภาพรวมผู้สูงอายุเห็นว่าครอบครัวมีการดูแลผู้สูงอายุอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย 3 .44) 4) ปัญหาและความต้องการการดูแลของผู้สูงอายุ พบว่า ผู้สูงอายุมีปัญหาสุขภาพ ขาดคนดูแล รายได้น้อย ขาดความรู้ในการดูแลสุขภาพและไม่ได้ร่วมกิจกรรมในชุมชน ผู้สูงอายุต้องการคนดูแล การสนับสนุนด้านการเงิน ความรู้ในการดูแลสุขภาพ การเข้าร่วมกิจกรรมในชุมชน และต้องการยานพาหนะในการเดินทางไปตรวจรักษา 5) ปัญหาและความต้องการในการดูแลผู้สูงอายุของผู้ดูแล พบว่าผู้ดูแลผู้สูงอายุมีความเหนื่อยล้าจากการทำงานหนัก มีปัญหาสุขภาพ ขาดการช่วยเหลือจากสมาชิกครอบครัว ขาดงาน ขาดความรู้ในการดูแลผู้สูงอายุและมีความเครียด ด้านผู้สูงอายุพบว่าไม่ให้ความร่วมมือ เอาแต่ใจตนเอง เจ็บป่วยซับซ้อนต้องดูแลพิเศษ ผู้ดูแลต้องการความรู้ในการดูแลผู้สูงอายุ การฝึกปฏิบัติในการดูแล ความช่วยเหลือจากครอบครัวและยานพาหนะในการเดินทางพาผู้สูงอายุไปตรวจรักษา
This descriptive study aimed to investigate (1) elderly health status (2) family care of the elderly (3) the opinions of the elderly toward family care (4) problems and needs of the elderly and family caregivers. Data was collected from 59 elderly and 59 family caregivers by interviews. Descriptive statistic was used in this study.
The results found (1) elderly health status, they had problems with eyesight and hearing loss, forgetfulness, chewing and swallowing problem, incontinent, insomnia, falling, back and legs pain. 54.7 % of the elderly used equipment, such as spectacles 26.6%, artificial teeth 14.4% and walking cane 14%. 32.8 % of the elderly had chronic diseases with Diabetes 18.8% and Hypertention10.9%. 26.6% had anxiety, 23.4% stress and 10.9 % lonely.
(2) Family care of the elderly , they provided physical care, personal hygiene, food, exercise, recreation and illness care, mental support with love and respect, social support for neighbor and community activity, spirit support to meet their believes and religions. (3) Opinions of the elderly toward family care was at a high level. (4) Problems and needs of the elderly, they had health problems, lacked caregiver, low income, inadequate self care knowledge and unable to attend community activity. They required caregivers, self care knowledge, transportation and family support .(5) Problems and requirements of family caregivers, they become burden from loaded work, health problems, lack of family support, unable to work, inadequate knowledge of elderly care and finally stress. They considered the elderly to be incorporated, self–center, having complicated problems and need specific care. They required elderly care knowledge, training, family support and transportation to meet the proper health care.