การพัฒนาระบบการดูแลต่อเนื่องในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตันเฉียบพลันโรงพยาบาลพะเยา
คำสำคัญ:
continuing care, acute ischemic stroke, Phayao Hospitalบทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตันฉับพลันอย่างต่อเนื่องในโรงพยาบาลพะเยา และประเมินผลลัพธ์ของการพัฒนาระบบการดูแลต่อเนื่องในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตันเฉียบพลัน ได้แก่ ความสามารถในการปฏิบัติกิจกรรมของผู้ป่วย และความพิการ
กลุ่มตัวอย่างคือผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตันเฉียบพลันที่รับการรักษาในโรงพยาบาลพะเยา จำนวน 49 คน ในเดือน มิ.ย. 56 – ก.ค. 57 การวิจัยแบ่งออกเป็น 2 ระยะ คือ 1) การพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตันฉับพลัน และ 2) การประเมินระบบการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตันฉับพลัน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยแบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคลของกลุ่มตัวอย่าง แบบประเมินความสามารถการทำกิจวัตรประจำวัน (Barthel ADL Index) และแบบประเมินความพิการจากโรคหลอดเลือดสมอง (The Modified Rankin Scale) โดยประเมินเมื่อแรกรับผู้ป่วยเข้าในโรงพยาบาลและเมื่อจำหน่ายออกจากโรงพยาบาล วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าความถี่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติที
ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 59.18 เป็นเพศชาย มีอายุเฉลี่ย 66.4 ปี (Max = 85 ปี, Min = 41 ปี, S.D. = 10.80) ส่วนใหญ่มาโรงพยาบาลด้วยอาการแขนขาซีกใดซีกหนึ่งอ่อนแรงมากที่สุด จำนวน 20 ราย (ร้อยละ 40.82) และมีอาการมานานมากกว่า 3 ชั่วโมง โรคประจำตัวที่พบสูงสุดคือ โรคความดันโลหิตสูง ขณะรับไว้ในโรงพยาบาลกลุ่มตัวอย่างมีค่าคะแนนเฉลี่ยความสามารถในการปฏิบัติกิจกรรมเท่ากับ 64.59 คะแนน (S.D. = 22.77) คะแนนความพิการเฉลี่ยเท่ากับ 2.27 คะแนน (S.D. = 1.50) ในขณะจำหน่ายออกจากโรงพยาบาล พบว่าคะแนนเฉลี่ยความสามารถในการปฏิบัติกิจกรรมเพิ่มขึ้นเท่ากับ 79.67 คะแนน (S.D. = 17.61) และความพิการจากโรคหลอดเลือดสมองลดลงเท่ากับ 1.61 คะแนน (S.D. = 1.20) ซึ่งแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ p < 0.05
This study aimed to develop the continuing care system for patients with acute ischemic stroke in Phayao Hospital and to test the developed care for acute ischemic stroke patients including activities daily living and patient morbidity.
The samples were 49 acute ischemic stroke patients admitted in Phayao Hospital during June 2013 to July 2014. There were 2 phases of study including 1) the development of continuing care system for acute ischemic stroke patients and 2) testing effectiveness of the developed continuing care system. The instruments composed of demographic questionnaire, Barthel ADL Index, and the Modified Rankin Scale. Data were collected when the participants firstly admitted and the last day of admission.
Results found that 59.18 of the participants were male aged 66.4 years old (Max 85, Min 41, S.D. 10.80). Most participants (10.82%) came to the hospital with hemiplegia and had related symptoms for more than 3 hours before arrival the hospital. Hypertension was the most related disease to stroke. During admission period, the average of the Barthel ADL Index was 64.59 (S.D. = 22.77) and the Modified Ranking Scale was 2.27 (S.D. 1.50). At the last day of admission, the Barthel ADL Index increased to 19.67 (S.D. = 17.61) and the Modified Ranking Scale decreased to 1.61 (S.D. 1.20) which was statistically significant difference (p <0.05).