การพัฒนาความรู้ และทักษะของแกนนำนักเรียนในการป้องกันปัญหาการตั้งครรภ์ ไม่พร้อมของวัยรุ่นโรงเรียนมัธยมศึกษา แห่งหนึ่ง อำเภอปัว จังหวัดน่าน
คำสำคัญ:
knowledge the skills, prevention, teenage pregnancy, high school ความรู้และ ทักษะ การป้องกันการตั้งครรภ์ไม่พร้อม วัยรุ่น โรงเรียนมัธยมบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพัฒนามีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1. พัฒนาความรู้ทักษะของแกนนำนักเรียน ในการป้องกันปัญหาการตั้งครรภ์ 2.พัฒนาแกนนำนักเรียนสามารถให้คำปรึกษาหญิงตั้งครรภ์ไม่พร้อมและส่งต่อศูนย์บริการที่เป็นมิตรได้อย่างเหมาะสม และ 3. สร้างเสริมการเรียนรู้ร่วมกันของเครือข่ายในชุมชนในการแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ไม่พร้อม ขั้นตอนการทำวิจัยใช้ PDCA คือ 1. P :การวางแผนที่จะจัดทำโครงการ และการทำความเข้าใจสถานการณ์ของการตั้งครรภ์ไม่พร้อมของอำเภอ ประกอบด้วยผู้ใหญ่บ้าน 5 คน ครู โรงเรียนมัธยม 2 คน และ เจ้าหน้าที่ รพ.สต. 13 คน เจ้าหน้าที่ รพร.ปัว 5 คน อบต. 3 คน 2 D: ระยะดำเนินการ โดยการจัดอบรมเสริมพลังให้แกนนำนักเรียนโรงเรียนปัวชั้น ม.4 และม.5 จำนวน 30 คนในเรื่อง “ วัยรุ่น วัยใสเข้าใจเพศศึกษา” จัดอบรมให้ความรู้ เรื่องเพศศึกษา แก่ผู้ปกครองนักเรียนชั้น ม.1-ม.3 และจัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้แกนนำนักเรียนโรงเรียนปัว ครู เครือข่ายผู้ปกครอง เจ้าหน้าที่สาธารณสุข และ 3. C ระยะประเมินผล ดำเนินการโดยเจ้าหน้าที่ รพร.ปัว 9 คน โดยการเสวนากลุ่ม 15 คน 2กลุ่ม และการสัมภาษณ์เชิงลึก 30 คน และการสังเกตุแบบมีส่วนร่วม ของแกนนำนักเรียนโรงเรียนปัว ภาคีเครือข่ายใน 3 ตำบลที่มีการดำเนินงาน 4. A: การหาวิธีแก้ปัญหาที่ย้งแก้ไขไม่ได้ ข้อมูลเชิงปริมาณวิเคราะห์โดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การจัดข้อมูลเชิงเนื้อหา
ผลการศึกษาพบว่า การพัฒนาความรู้ แกนนำนักเรียนโรงเรียนปัว ในเรื่องการป้องกันการตั้งครรภ์ไม่พร้อม แกนนำนักเรียนมีความรู้เบื้องต้นในการใช้ถุงยางอนามัย และการใช้ยาเม็ดคุมกำเนิด ยาคุมฉุกเฉิน มีทักษะและความมั่นใจในการให้คำปรึกษาเพื่อนๆในโรงเรียนและในชุมชนเพิ่มขึ้น โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชปัวได้พัฒนาแนวทางการป้องกันการตั้งครรภ์วัยรุ่นเป็นระบบที่ชัดเจน มีการประสานงานที่ดีระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
This developmental research was aimed to 1) develop the knowledge and skills, prevent pregnancy of student in high school, 2) develop student volunteer should be counselling to prevention in pregnancy and should send to right service and 3)There were reinforce learning together among network in the community to resolve problems with a pregnancy. The research process was used PDCA : A, Plan to conduced the project ; 2, D: the process of developing , C; the process to evaluation of the development of unwanted pregnancy and 4) Way of problem solving .
Results showed that developing the skills of the student leaders in the prevention
of unwanted pregnancy as well as student volunteer could introduction to the use of condoms. And use of emergency contraceptive pills have the skills and confidence to counselling there friends in school and in the community increases. In addition, the
Pua Crown Prince Hospital has developed guidelines to prevent teenage pregnancy. There is good coordination between the organizations to involved.