การใช้อุปกรณ์ช่วยเดินในผู้สูงอายุที่อาศัยอยู่ในชุมชน

ผู้แต่ง

  • พัชรวรรณ สุวรรณรัตน์
  • ทิวาพร ทวีวรรณกิจ
  • สุภาพร แก้วแสนเมือง
  • กิติยวดี ศรีสิม
  • ศิริสุดา พลที
  • ลักขณา มาทอ
  • สุกัลยา อมตฉายา

คำสำคัญ:

Cane, Walker, Functional decline, Older adult, Medical service ไม้เท้า, โครงเหล็กช่วยเดิน, การเสื่อมความสามารถ, คนชรา, การบริการทางการแพทย์

บทคัดย่อ

ผู้สูงอายุมีจำนวนเพิ่มขึ้นอย่างชัดเจน แต่การเสื่อมถอยการทำงานของระบบต่างๆ ของร่างกายทำให้ผู้สูงอายุมีความสามารถลดลงและต้องการความช่วยเหลือจากบุคคลอื่นและอุปกรณ์ช่วย ปัจจุบันยังไม่มีรายงานการใช้อุปกรณ์ช่วยเดินในผู้สูงอายุไทย การวิจัยนี้จึงต้องการศึกษาสัดส่วนและชนิดของอุปกรณ์ช่วยเดินที่ใช้ในผู้สูงอายุ ที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไปที่อาศัยอยู่ในชุมชนต่างๆ จำนวน 395 คน ผลการศึกษาพบว่าอาสาสมัครจำนวน 41 คน (ร้อยละ 10) ใช้อุปกรณ์ช่วยเดิน โดยอาสาสมัครส่วนใหญ่ (ร้อยละ 68) ใช้ไม้เท้าแบบประยุกต์ (เช่น ไม้ไผ่ เสียม และไม้เท้าที่ทำขึ้นเองจากไม้) รองลงมาใช้ไม้เท้าขาเดียวแบบมาตรฐาน (ร้อยละ 27) และโครงเหล็กช่วยเดิน (ร้อยละ 5) ตามลำดับ เมื่อพิจารณาข้อมูลของอาสาสมัครในแต่ละช่วงอายุ พบว่าสัดส่วนการใช้อุปกรณ์ช่วยเดินเพิ่มขึ้นในอาสาสมัครเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 3 เป็นร้อยละ 15 และ 36 ในผู้ที่มีอายุ 60-69, 70-79 และตั้งแต่ 80 ปีขึ้นไปตามลำดับ อาสาสมัครส่วนใหญ่ (ร้อยละ 81) ตัดสินใจเลือกใช้อุปกรณ์ช่วยเดินด้วยตนเอง โดยอาสาสมัครกลุ่มนี้มีจำนวนผู้ที่ปัญหาทางการแพทย์และต้องรับประทานยาประจำมากกว่าอาสาสมัครที่ไม่ใช้อุปกรณ์ช่วยเดินอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.05) ผลการศึกษานี้ช่วยให้ได้ฐานข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการใช้อุปกรณ์ช่วยเดินในผู้สูงอายุไทย 

The number of elderly is increased dramatically. However, functional decline of many body systems reduces their ability, and thus they require assistance from persons and devices. Currently, there is no report on the use of walking devices in Thai elderly. This study explored the proportion and types of walking device used in 395 community-dwelling elderly, aged at least 60 years. The results revealed that 41 subjects (10%) walked with a walking device, in which most of them used a modified walking stick (68%) (i.e. a piece of bamboo, spade or handmade wooden stick), followed by a standard single cane (27%), and walker (5%). When considered the data according to the decades of age, the proportion of walking device used increased from 3% to 15% and 36% in those aged 60-69, 70-79, and 80 years and over, respectively. Most of the device users used a walking device due mostly to their own determination (81%). In addition, these subjects had medical problems and needed regular medications significantly greater than those of the non-device users (P<0.05). The findings provided additional database for the requirement of a walking device in community-dwelling Thai elderly.

Downloads