การส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคมะเร็งเต้านมในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล

ผู้แต่ง

  • พุธทา เจือจันทึก

คำสำคัญ:

Health Promotion, Prevention, Breast Cancer การส่งเสริมสุขภาพ การป้องกันโรค มะเร็งเต้านม

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงปฏิบัติการมีวัตถุประสงค์คือ เพื่อพัฒนาแนวทางการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคมะเร็งเต้านมของสตรี อายุ 35 ปีขึ้นไปในชุมชน พื้นที่วิจัยชุมชนบ้านหนองไผ่พัฒนา ตำบลหนองหญ้าขาว จังหวัดนครราชสีมา เครื่องมือได้แก่แบบสัมภาษณ์ แนวทางการสัมภาษณ์เชิงลึก  วิธีดำเนินการวิจัยแบ่งเป็น 4 ขั้นตอนคือ 1) การวิเคราะห์สถานการณ์ความต้องการการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคมะเร็งเต้านม 2) พัฒนากิจกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคมะเร็งเต้านม 3) ปฏิบัติตามแผนกิจกรรม สะท้อนผลการปฏิบัติปรับปรุง 4) การติดตามและประเมินผล วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงบรรยาย จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา

ผลการศึกษา  1)  การวิเคราะห์สถานการณ์การประเมินภาวะสุขภาพสตรีอายุ 35 ปีขึ้นไป 79 คน  พบว่าสตรีอายุ 35 ปีขึ้นไป มีความรู้เรื่องโรคมะเร็งเต้านมต่ำ  ร้อยละ 25.4  ไม่ตรวจเต้านมด้วยตนเองร้อยละ  25.3 การรับรู้สมรรถนะแห่งตนในการตรวจเตานมด้วยตนเองอยู่ในระดับน้อย ร้อยละ 29.1  2) การพัฒนาแนวทางการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคมะเร็งเต้านมสำหรับสตรีอายุ 35 ปีขึ้นไปในชุมชน โดย 2.1) การสร้างความตระหนักและการฝึกปฏิบัติเพื่อส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคมะเร็งเต้านมโดยจัดอบรมความรู้เรื่องโรคมะเร็งเต้านมและฝึกทักษะการตรวจเต้านมด้วยตนเองรวมทั้งจัดกิจกรรมการส่งเสริมสุขภาพเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรม  2.2) ติดตามการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมระยะเวลา1 เดือนและ 5 เดือนโดยการติดตามเยี่ยมบ้านรายบุคคลพร้อมทั้งฝึกทักษะการตรวจเต้านมด้วยตนเองเพิ่มเติม  3) ประเมินผลพบว่า หลังเข้าร่วมกิจกรรมสตรีกลุ่มเป้าหมายเห็นความสำคัญและมีทักษะในปฏิบัติตัวเพื่อป้องกันโรคมะเร็งเต้านม ความรู้เรื่องโรคมะเร็งเต้านม ร้อยละ 85 การตรวจเต้านมด้วยตนเองทุกเดือน ร้อยละ 100 และตรวจเต้านมด้วยตนเองถูกต้องร้อยละ 85 การรับรู้สมรรถนะแห่งตนในการตรวจเต้านมด้วยตนเองร้อยละ 85 การลดการรับประทานอาหารไขมันสูงลง ควบคุมน้ำหนักตัวร้อยละ 100 ออกกำลังกายร้อยละ 100 กิจกรรมการส่งเสริมสุขภาพและการป้องกันโรคมะเร็งเต้านมที่พัฒนาขึ้น สามารถนำไปประยุกต์ใช้กับโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลอื่นๆ กลุ่มสตรีทุกกลุ่มอายุและพัฒนาต่อให้เป็นแนวปฏิบัติสำหรับกลุ่มสตรีในชุมชนอื่นอย่างต่อเนื่องต่อไป

The purposes of this action research were   to develop optimal health promotion  and breast cancer prevention program  in women aged 35 years in the community. In Nongpaipattana Village, Nongyakao Sub-District, Sikhiu District, Nakhonratchasima Province, Thailand. Research instruments were an interview form and a guideline for in-depth interview. Four stages of this study included: 1) the stage for situation analysis to identify needs related to health promotion and breast cancer prevention; 2) the stage for planning of health promotion and breast cancer prevention activities; 3) the stage for activity implementation, outcome reflection, and activity improvement; and 4) the stage for following-up and evaluation. Quantitative data were analyzed using descriptive statistics, including numbers, percentage, and mean. Content analysis was used to analyze qualitative data.

Study results revealed that:

1)            In the stage for situation analysis, 79 women over 35 years old were assessed their health status. 25.4% had low level of breast cancer knowledge and 25.3% had no breast self-examination. One-third (29.1%) had low level of perceived self-efficacy in breast self-examination.

2)            In the stage for planning of health promotion and breast cancer prevention activities, a guideline for health promotion and breast cancer prevention for women over 35 years old was developed by:

2.1      Awareness and skills in health promotion and breast cancer prevention were provided, through a workshop for delivering knowledge about breast cancer and practicing skills in breast self-examination, as well as health promotion activities to modify health behaviours.

2.2       Home visit was conducted to follow-up individual modification of behaviours and provided further practice in breast self-examination skills at 1 month and 5 month.

3) In the stage for following- up and evaluation, women aged over 35 years were aware of, and had skills in, breast cancer prevention. More than four-fifths (85%) had knowledge about breast cancer. All (100%) performed breast self-examination every month. More than four-fifths (85%) had breast self-examination properly and  had perceived self-efficacy in breast self-examination. All decreased their high fat diet, had weight control, and increased physical activities. 

The established health promotion and breast cancer prevention program can be successfully implemented in other sub-district health promotion hospitals and applied to all age groups of women. This program should be further developed to be a practice guideline for health promotion and breast cancer prevention for women in other communities.

Downloads