ประสบการณ์พยาบาลจิตอาสาในการส่งเสริมการดูแลผู้สูงอายุระยะยาวแบบองค์รวม โดยใช้แนวคิดการดูแลระยะเปลี่ยนผ่าน

ผู้แต่ง

  • ปัทมา วาจามั่น พยาบาลวิชาชีพจิตอาสา
  • ณัฐฐิตา เพชรประไพ สำนักวิชาพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี

คำสำคัญ:

ประสบการณ์พยาบาลจิตอาสา, การดูแลผู้สูงอายุ, การดูแลระยะยาว, องค์รวม, รูปแบบการดูแลตามระยะเปลี่ยนผ่าน

บทคัดย่อ

การดูแลผู้สูงอายุในระยะเปลี่ยนผ่าน เป็นสิ่งสำคัญในระบบการดูแลผู้สูงอายุระยะยาว โดยพยาบาลจะต้องวางแผนการดูแลทั้งในภาวะปกติ เริ่มป่วยวิกฤติส่งต่อและดูแลที่บ้าน บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอผลของการส่งเสริมการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุระยะยาวแบบองค์รวมสำหรับผู้สูงอายุกลุ่มติดสังคมจำนวน 7 คน ตามแนวคิดของเนย์เลอร์  จากประสบการณ์ของพยาบาลจิตอาสา เพื่อให้ผู้ดูแลผู้สูงอายุได้ใช้ประโยชน์จากแนวคิดการพยาบาลระยะเปลี่ยนผ่านในการดูแลระยะยาว โดยมีพยาบาลจิตอาสาทำหน้าที่ในการให้คำปรึกษาทางโทรศัพท์ ให้การดูแลต่อเนื่องเพื่อให้สามารถดูแลพึ่งพาตัวเองได้อย่างอิสระและมีคุณภาพชีวิตที่ดี จากประสบการณ์การดูแลผู้สูงอายุมากกว่าสองปี พบว่าส่วนใหญ่ผู้สูงอายุขอปรึกษาปัญหาสุขภาพและปัญหาด้านร่างกายจากโรคเรื้อรัง การเจ็บป่วยฉุกเฉินจากโรคหลอดเลือดสมอง โรคหัวใจ การจัดการทรัพย์สินและการทำพินัยกรรม ซึ่งพยาบาลจิตอาสาต้องใช้ความรู้และทักษะการประเมินภาวะสุขภาพ วางแผนการดูแลร่วมกับครอบครัว กำหนดเป้าหมายการดูแล เยี่ยมบ้านและที่โรงพยาบาล ให้คำปรึกษา สอนและฝึกทักษะ สนับสนุนสื่อการดูแลตนเองที่เหมาะสม ช่วยเหลือในการจัดการปัญหาเรื่องเงินและการทำพินัยกรรม โดยใช้การสื่อสารหลายช่องทาง ใช้ทักษะทางคลินิกประเมินผ่านระบบโทรศัพท์เปิดกล้องวิดิโอและประสานผู้เกี่ยวข้องในโรงพยาบาลในกรณีที่เกิดภาวะฉุกเฉินที่บ้าน ผลการปฏิบัติงานพบว่า ผู้สูงอายุ 5 คนมีความสุขขึ้นและพึงพอใจมาก ที่สามารถทำกิจวัตรประจำวันได้อย่างอิสระ 1 คนเกิดภาวะแทรกซ้อนต้องมีคนดูแลฟื้นฟูสุขภาพ 1 คนเสียชีวิตในระยะฟื้นฟูหลัง   สวนหัวใจ องค์ประกอบของการดูแลผู้สูงอายุในระยะเปลี่ยนผ่านสอดคล้องกับรูปแบบการดูแลตามระยะเปลี่ยนผ่านของเนย์เลอร์

References

Wongboonsin P, Aungsuroch Y. Hatsukano N. The ageing society and human resources to care for the elderly in Thailand, in Human Resources for the Health and Long-term Care of Older Person in Asia, Jakarta, ERIA, 2020:pp.104-35.

Social Statistics Division. The 2023 Health and Welfare Survey. national statistical office, bangkok; 2023. (in Thai)

Changprachak S. Long-term care for the elderly in Thailand: A policy perspective. Journal of MCU Nakhonthat. 2023;10(5):233-43. (in Thai)

Sudsawasd S, Siriprapanukul P. Long-term care and support for older persons in Thailand: the roles of living arrangements and health checkups. Southern ASIAN Journal of Economics. 2023;11(1):89-121. (in Thai)

Ministry of Public Health. Health, guide to screening and health assessment for Thai Elderly, Nontaburi: Ministry of Public Health; 2021. (in Thai)

Naylor MD. Transitional care for the older adults: a cost-effective model. LDI Issue Brief. 2004;9(6):1-4.

Naylor MD. A decade of transitional care research with vulnerable elders. J Cardiovas Nurs. 2000; 14(3):1-14.

Berthelsen C, Møller N, Bungenborg G. Transitional care model for older adults with multiple chronic conditions: an evaluation of benefits utilizing an umbrella review. J Clin Nurs. 2024:481-96.

Hirschman KK, Shaid E, McCauley K, Pauly MV, Naylor MD. Continuity of care: the transitional care model. Online J Issue Nurse. 2015;20(3):1.

Jehloh L, Songwathana P, Kitrungrote L. Transitional care based e-health program for older Muslim Thai Adults with chronic obstructive pulmonary disease after hospital discharge: a feasibility study. Pacific Rim Int J Nurs Res. 2024;28(1):103-15.

Thai Nursing Council. Volunteer Personnel. 2021. [cited 2024 Jul 19]. Available from: https://www.tnmc.or.th/images/userfiles/files/AN_CNEU%20COVID-19.pdf.

Chuansangeam M. Transitional care of older adults from hospital to home. Asian Medical Journal and Alternative Medicine. 2023; 23(Supplemental):S52-8. (in Thai)

Nimit-arnun N. Applying the transitional care model in caring for older adults with heart failure. Thai Journal of Nursing and Midwifery Practice. 2024;10(1):5-19. (in Thai)

Silawan T, Powwattana A, Ponsen P, Ninkarnjanakun N. Promoting the wellness of older adults through integrated health-promoting programs and supportive peers: a quasi-experimental study in semi-urban communities of Northeastern Thailand. J Prim Care Community Health. 2024;15:21501319241241456. (in Thai)

Sasat S. Gerontological nursing common problems and caring guideline, Bangkok: Chulalongkorn University; 2020.

Leithaus M, Beaulen A, de Vries E, Goderis G, Flamaing J, Verbeek H, deschodt M. Integrated care components in transitional care models from hospital to home for frail older adults: a systematic review. Int J Integr Care. 2022;22(2):28.

Lorthanavanich D, Komazawa O. Population ageing in Thailand long-term care model: review of population ageing practices and policies. ERIA Research Projects Report FY2012 No.06b, thammasart university, bangkok, 2021. (in Thai)

Suriyanrattakorn S, Chang CL. Long-term care (LTC) policy in Thailand on the homebound and bedridden elderly happiness. Health Policy Open. 2021;2:100026.

Thiengtham S, Chiang-Hanisko L, D'Avolio D, Sritanyarat W. Experience of transitional care among Thai-Isan older stroke survivors and their family caregivers. Qual Health Res. Published online March 14, 2024. (in Thai)

Wisesrith W, Soonthornchaiya R, Sasat S Sakunphanit T. Care service model for dependent older persons in long-term care institution in Thailand. Journal of Royal Thai Army Nurses. 2019;20(3):422-31. (in Thai)

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-08-02