โปรแกรมการเตรียมครอบครัวเพื่อส่งเสริมพฤติกรรมการป้องกันมะเร็งปากมดลูก อำเภอโพนพิสัย จังหวัดหนองคาย (Family health behavior prevention program for cervix cancer in Amphoe Phonphisai, Nongkhai Province )

ผู้แต่ง

  • ขนิษฐา มูลนิบาล
  • พิมภา สุตรา

คำสำคัญ:

โปรแกรมการเตรียมครอบครัว, พฤติกรรมการป้องกันมะเร็งปากมดลูก, แพ็พสเมียร์ Family health program, behavior prevention for cervix cancer, pap smear

บทคัดย่อ

Cervical  cancer  has  revealed  itself  as  the  most significant  disease  affecting  women’s       health  status  in  Thailand,  and  trend  to  increase,  even  though  it  can  be  treated  easily  and  effectively  if  it  is  status  in  the  early  stage.  Many  studies  indicated  the  women  do  not  like  to  participate  in  the  detection  activity,  pap  smear,  because  of  many  reasons.  This  research  studied  the  education  activities  which  will  increase  pap  smear participation  among  30 – 60  years  of  age  women,  such  attendance  behavior  can  help  for  providing    treatment  and    decrease   mortality  rate  family  health  behavior   prevention  program    for cervix  cancer in  Amphoe  Phonphisai, Nongkhai  Province.  Samples   were  39  family, 39  women  and  39  family, age  30 – 60  years  ,   39  family  of  them,  were  in  the  experimental  group  39  family,  were  in  the  comparative  group.  The  subjects  in  experimental  group  were  received  activity  that  applied  from  “Health  Promotion  Model”  such  as  education  about    cervical cancer,  Human  media.  The   evaluation  in  both  before  and  after  implementation.

The  results  indicate  that  after  implementation,  the  implemented group  had mean score of knowledge, percived susceptibility of cervical  cancer, perceived severity of cervical cancer, perceived benefits of cervical  cancer and perceived barriers of cervical  cancer practice higher than the group without  implementation  with statistical significantly different  at

p – value < 0.001  ,  t  =   26.053  In addition, the mean score of knowledge, perceived susceptibility  of cervical  cancer and perceived barriers of cervical  cancer practice and  a signification different (p – value < 0.001) between implemented group and comparative group in both before and after implement proportion of samples in the experimental  group attending pap smear  is statistically higher than that comparative group.

มะเร็งปากมดลูกพบมากเป็นอันดับหนึ่งของสตรีไทยและมีแนวโน้มอุบัติการณ์เพิ่มสูงมากขึ้นทั้งที่สามารถป้องกันได้ตั้งแต่ระยะเริ่มแรก  โดยวิธีการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกและสามารถรักษาให้หายขาดได้เมื่อเป็นระยะเริ่มแรก  แต่ส่วนใหญ่จะพบผู้ป่วยมะเร็งปากมดลูกในระยะลุกลามที่ให้ยากต่อการรักษาให้หายขาดได้  ทำให้อัตราการตายด้วยมะเร็งปากมดลูกเพิ่มสูงมากขึ้นมีผลกระทบต่อภาวะเศรษฐกิจ  สังคมของครอบครัว  ดังนั้นการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการเตรียมครอบครัวเพื่อส่งเสริมพฤติกรรมการป้องกันมะเร็งปากมดลูกโดยการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก ที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลนาหนัง อำเภอโพนพิสัย  จังหวัดหนองคาย  กลุ่มตัวอย่างเป็นสตรีและครอบครัว  โดยกลุ่มเป้าหมายมีอายุระหว่าง  30  -  60  ปี  จำนวน  78  ครอบครัว  แบ่งเป็น  กลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม  กลุ่มละ  39  ครอบครัว  โดยกลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการเตรียมครอบครัวที่ประยุกต์ทฤษฏีการส่งเสริมสุขภาพของเพนเดอร์ร่วมกับแรงสนับสนุนของครอบครัว  จัดกิจกรรมให้ความรู้ ชมวีดีทัศน์  นำเสนอสื่อบุคคล  ตัวอย่างมดลูกที่เป็นมะเร็งจริง  โปสเตอร์ภาพมดลูกผิดปกติ  แผ่นพับการป้องกันมะเร็งปากมดลูก  เครื่องมือตรวจแพ็พสเมียร์  บัตรนัดตรวจ  การกระตุ้นเตือน  เครื่องมือที่ใช้ในการวัดแบบบันทึกข้อมูลทั่วไป  แบบวัดการส่งเสริมพฤติกรรมการป้องกันมะเร็งปากมดลูกจากการสนับสนุนของครอบครัว  ได้รับการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน  5  ท่าน และได้ค่าความเที่ยงโดยใช้สูตรคูเดอร์ – ริชาร์ดสัน (Kuder  -  Richardson) หรือ  KR 21 ได้ค่าความเที่ยงเท่ากับ  .78  และวัดพฤติกรรมการมาตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก

ผลการวิจัย  พบว่า  ค่าคะแนนเฉลี่ยรายด้านและโดยรวมการสนับสนุนจากครอบครัวในการส่งเสริมพฤติกรรมการป้องกันโรคมะเร็งปากมดลูกภายหลังการได้รับโปรแกรมในกลุ่มทดลองสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ(p – value < 0.001  ,  t  =   26.053)  และความแตกต่างของพฤติกรรมการมารับบริการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก  โดยกลุ่มทดลองมีพฤติกรรมการมารับบริการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก  สูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p – value < 0.001)

Downloads