ความรู้และการปฏิบัติของพยาบาลเกี่ยวกับกระบวนการหย่าเครื่องช่วยหายใจ ในโรงพยาบาลพระนั่งเกล้า (Knowledge and Practice of Nurses in Weaning Patients from Ventilator at Pranangklao Hospital)

ผู้แต่ง

  • สาวรีย์ ปัญเศษ
  • อำภาพร นามวงศ์พรหม
  • น้ำอ้อย ภักดีวงศ์

คำสำคัญ:

ความรู้และการปฏิบัติ การหย่าเครื่องช่วยหายใจ knowledge and practices, weaning ventilator

บทคัดย่อ

This descriptive study aimed to investigate knowledge and practices of nurses and factors relating to weaning patients from ventilator. The nursing role effective model was used as a conceptual framework.  A purposive sample of 80 nurses who had experiences in caring of patients with ventilator was recruited for this study. Instruments used to collect data included personal information sheet, test, and questionnaire. Data were analyzed by using Pearson Product Moment Correlation and Chi-square.

 

The findings showed that 70% of nurses had a low level of knowledge. Nevertheless, 62.5% of nurses had a high level of practices. Experiences of training in caring of patients with ventilator was the only factor that found correlated with knowledge of nurses. Nursing staff development is suggested.

การวิจัยครั้งนี้เป็นวิจัยเชิงบรรยายเพื่อศึกษาความรู้และการปฏิบัติเกี่ยวกับการกระบวนหย่าเครื่องช่วยหายใจและปัจจัยพื้นฐานที่มีความสัมพันธ์กับความรู้และการปฏิบัติของพยาบาลในโรงพยาบาล การศึกษาครั้งนี้ใช้ The Nursing Role Effectiveness Model เป็นกรอบแนวคิด กลุ่มตัวอย่างเลือกแบบเฉพาะเจาะจงตามเกณฑ์ จำนวน 80 ราย ที่ปฏิบัติงานเกี่ยวกับการดูแลผู้ป่วยที่ใส่เครื่องช่วยหายใจ ในหอผู้ป่วยผู้ใหญ่สามัญ หอผู้ป่วยหนักศัลยกรรมและอายุรกรรม  เครื่องมือใช้เก็บรวบรวมข้อมูลประกอบด้วย แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคล แบบทดสอบความรู้เกี่ยวกับการหย่าเครื่องช่วยหายใจ และแบบสอบถามการปฏิบัติเกี่ยวกับกระบวนการหย่าเครื่องช่วยหายใจ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และหาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรโดยใช้ ด้วยสถิติ Pearson Product Moment Correlation และ Chi-square

ผลการวิจัยพบว่า ค่าคะแนนความรู้ของพยาบาลวิชาชีพเกี่ยวกับกระบวนการหย่าเครื่องช่วยหายใจ ร้อยละ 70 อยู่ในระดับต่ำ และร้อยละ 30 อยู่ในระดับปานกลาง ส่วนการปฏิบัติของพยาบาลร้อยละ 62.5 อยู่ในระดับดี ที่เหลืออยู่ในระดับปานกลาง (33.75%)  และพบว่า การอบรมเกี่ยวกับ
การดูแลผู้ป่วยที่ใส่เครื่องช่วยหายใจ มีความสัมพันธ์กับความรู้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p = .001) ผลการวิจัยนี้ จะเป็นประโยชน์ต่อการใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาบุคลากรพยาบาลเพื่อเป็นการพัฒนาคุณภาพการพยาบาลต่อไป

Downloads