ผลของการใช้แนวปฏิบัติการพยาบาลต่อจำนวนเม็ดเลือดขาว การติดเชื้อในโรงพยาบาลและจำนวนวันนอนในผู้ป่วยมะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดเฉียบพลันชนิดไมอีลอยด์ ที่ได้รับการรักษาด้วยเคมีบำบัด (EFFECTS OF NURSING CARE PROTOCOL ON ABSOLUTE NEUTROPHIL COUNT, NOSOCOMIAL INFECTIONS, AND LENGTH OF STAY IN PATIENTS WITH ACUTE MYELOID LEUKEMIA)
คำสำคัญ:
แนวปฏิบัติการพยาบาล, จำนวนเม็ดเลือดขาว, การติดเชื้อในโรงพยาบาล, จำนวนวันนอน NURSING CARE PROTOCAL, ANC, NI, LENGTH OF STAYบทคัดย่อ
This retrospective and prospective uncontrolled before and after Intervention study aimed to investigate the effects of nursing care protocol on ANC, infection rate, and length of stay of patients with AML receiving chemotherapy. A purposive sample of 25 subjects was recruited for this study. Fifteen subjects in the retrospective group received a usual care whereas 10 in the prospective group received the evidence - based nursing protocol developed by the researcher for 5–7 days during hospitalization. Background information of the prospective group was collected and ANC monitoring was recorded. Data and information of the retrospective group were collected from the patients’ record.
The findings revealed that the ANC of the prospective group was at a constant level and some were increasing and then declining on day 7 which was a final day of the chemotherapy. The infection rate of the prospective group was lower than that of the retrospective group however, was not statistically significant (p = .397). The length of stay between the retrospective group and prospective group was significantly different (p = .011). The findings of this study will benefit to nursing practice in caring of patients with AML. Follow - up study regarding infection rate is suggested
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงเปรียบเทียบ ชนิด Retrospective and Prospective Uncontrolled before and after Intervention Study เพื่อศึกษาผลของการใช้แนวปฏิบัติการพยาบาล ต่อจำนวนของเม็ดเลือดขาว (ANC) การติดเชื้อในโรงพยาบาล และจำนวนวันนอน ในผู้ป่วย AML ที่ได้รับการรักษาด้วยเคมีบำบัด กลุ่มตัวอย่างเลือกแบบเฉพาะเจาะจง ทั้งหมด 25 ราย ประกอบด้วย กลุ่มก่อนการใช้แนวปฏิบัติการพยาบาล (Retrospective group) จำนวน 15 ราย และกลุ่มใช้แนวปฏิบัติการพยาบาล (Prospective group) จำนวน 10 ราย โดยกลุ่มก่อนการใช้แนวปฏิบัติการพยาบาล ได้รับการดูแลตามปกติ ส่วนกลุ่มหลังใช้แนวปฏิบัติการพยาบาลเป็นกลุ่มที่ได้รับการดูแลโดย ใช้แนวปฏิบัติการพยาบาลที่ผู้วิจัยได้พัฒนามาจากการหลักฐานเชิงประจักษ์ เป็นระยะเวลา 5–7 วัน ระหว่างการเข้ารับการรักษาด้วยเคมีบำบัดในหอผู้ป่วย เก็บรวบรวมข้อมูลพื้นฐานและข้อมูลด้านการเจ็บป่วย ของผู้ป่วยเมื่อแรกเข้ารับการรักษา ติดตามบันทึกผลการตรวจ จำนวนเม็ดเลือดขาว ทุก 2 วัน ส่วนกลุ่มก่อนการใช้แนวปฏิบัติการพยาบาล เก็บรวบรวมข้อมูลจากเวชระเบียน
ผลการศึกษาพบว่าจำนวน ANC ในกลุ่มหลังการใช้แนวปฏิบัติการพยาบาลอยู่ในระดับคงที่และมีบางส่วนสูงขึ้น ด้านอัตราการติดเชื้อในโรงพยาบาลพบว่าอัตราการติดเชื้อของกลุ่มหลังการใช้แนวปฏิบัติการพยาบาลต่ำกว่ากลุ่มก่อนการใช้แนวปฏิบัติการพยาบาล แต่เมื่อทดสอบทางสถิติพบว่าไม่แตกต่างกัน (p = .397) เมื่อเปรียบเทียบ จำนวนวันนอน ระหว่างกลุ่มก่อนและกลุ่มหลังใช้แนวปฏิบัติการพยาบาลพบว่าแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p = .011) ผลการวิจัยครั้งนี้ เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาการพยาบาลผู้ป่วย AML ข้อเสนอแนะในการวิจัยคือ ควรมีการวิจัยติดตามผลลัพธ์ด้านการติดเชื้อ