ผลของโปรแกรมการจัดการดูแลตนเองต่อความรู้ กิจกรรมดูแลตนเองและค่าฮีโมโกลบินที่ น้ำตาลเกาะ ผู้เป็นเบาหวานชนิดที่ 2 (EFFECTS OF SELF -MANAGEMENT PROGRAM ON KNOWLEDGE, SELF–CARE ACTIVITIES, AND HbA1c IN PERSONS WITH TYPE 2 DIABETES MELLITUS)

ผู้แต่ง

  • นันนภัส พีระพฤฒิพงศ์
  • น้ำอ้อย ภักดีวงศ์
  • อำภาพร นามวงศ์พรหม

คำสำคัญ:

การจัดการดูแลตนเอง, ความรู้, กิจกรรมการดูแลตนเอง, ค่าฮีโมโกลบินที่มีน้ำตาลเกาะ ผู้เป็น เบาหวานชนิดที่ 2words, self-care management, knowledge, self-care activities, HbA1c, type 2 diabetes.

บทคัดย่อ

This replication study was pre-experimental one group pre-posttest design aimed to examine the effectiveness of the Self-Management Program on knowledge, self-care activities, and HbA1c in person with type 2 diabetes mellitus. The program was developed by Pawana Keeratiyutawong (2005) and used Orem’s Educative-Supportive nursing system with Beck’s Cognitive behavioral therapy as a conceptual framework. Twenty-nine persons with uncontrolled diabetes who receiving care at Tambon Health promoting hospital, Klong Song was purposively selected to attend five sessions including group education, cognitive restructuring, communication skill, problem solving skill and diabetes self-care skill training. Knowledge, Self-care activities and HbA1C were collected before and after the program and analyzed by descriptive statistics, paired t-test and Wlicoxon Signed Rank test.

After 4 months, it was found that knowledge and self-care activity increased significantly (p=.000). While HbA1C tended to decrease in 22 persons, but no statistical significant different was found. The study findings support the effctiveness of the Self-Management Program. Encouraging activity and long-term follow-up study are suggested.

Key words: self-care management, knowledge, self-care activities, HbA1c, type 2 diabetes.

 

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยก่อนทดลอง (Pre-Experimental Research) ชนิดกลุ่มเดียววัดก่อนและหลังการทดลอง (One-group pre-post test design) เป็นการทำซ้ำ เพื่อทดสอบผลของโปรแกรมการจัดการดูแลตนเองที่ออกแบบโดยภาวนา  กีรติยุตวงศ์ (2548) ซึ่งใช้ระบบการพยาบาลแบบสนับสนุนและให้ความรู้ของโอเร็ม และทฤษฎีการบำบัดความคิดและพฤติกรรมของเบ็คเป็นกรอบแนวคิด โดยกลุ่มตัวอย่างที่มีลักษณะแตกต่างจากเดิมและคัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจงจากผู้เป็นเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดและมารับบริการที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลคลองสอง จำนวน 29 ราย เข้าร่วมกิจกรรมที่ประกอบด้วยการให้ความรู้เรื่องโรคเบาหวานเป็นรายกลุ่ม  ฝึกทักษะการปรับความคิด การสื่อสาร การแก้ปัญหาและกิจกรรมการดูแลตนเอง กลุ่มตัวอย่างเข้าร่วมกิจกรรมสัปดาห์ละครั้ง เป็นเวลา 5 สัปดาห์ และติดตามทางโทรศัพท์ 2 ครั้ง ในสัปดาห์ที่ 7 และ 9  เก็บรวบรวมข้อมูลความรู้ กิจกรรมการดูแลตนเองและระดับฮีโมโกลบินที่น้ำตาลเกาะ ก่อนและหลังเข้าโปรแกรม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา Paired t-test และ Wilcoxon Signed Rank test

ผลการวิจัยพบว่า คะแนนความรู้และกิจกรรมการดูแลตนเองของผู้เป็นหวานหลังเข้าโปรแกรมดีกว่าก่อนเข้าโปรแกรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p=.000) และค่าเฉลี่ยฮีโมโกลบินที่มีน้ำตาลเกาะของผู้เป็นหวานหลังเข้าโปรแกรมมีแนวโน้มลดลง โดยพบว่ากลุ่มตัวอย่างมีค่าฮีโมโกลบินที่มีน้ำตาลเกาะลดลงหลังเข้าโปรแกรมมี จำนวน 22 ราย แต่เมื่อทดสอบทางสถิติพบว่าไม่แตกต่างกัน (p=.086)  ผลการวิจัยนี้สนับสนุนการนำโปรแกรมการจัดการดูแลตนเองไปใช้ในการปรับเปลี่ยนกิจกรรมการดูแลตนเองของผู้เป็นเบาหวานชนิดที่ 2  ข้อเสนอแนะในการวิจัยครั้งต่อไป ควรมีกิจกรรมกระตุ้นเตือนและติดตามผลระยะยาว

 

Downloads

How to Cite

1.
พีระพฤฒิพงศ์ น, ภักดีวงศ์ น, นามวงศ์พรหม อ. ผลของโปรแกรมการจัดการดูแลตนเองต่อความรู้ กิจกรรมดูแลตนเองและค่าฮีโมโกลบินที่ น้ำตาลเกาะ ผู้เป็นเบาหวานชนิดที่ 2 (EFFECTS OF SELF -MANAGEMENT PROGRAM ON KNOWLEDGE, SELF–CARE ACTIVITIES, AND HbA1c IN PERSONS WITH TYPE 2 DIABETES MELLITUS). J Nurs Healthc [อินเทอร์เน็ต]. 4 กันยายน 2012 [อ้างถึง 23 มกราคม 2025];30(2):98-105. available at: https://he01.tci-thaijo.org/index.php/jnat-ned/article/view/2696