การรับรู้อาการและการตัดสินใจมารับการรักษาในผู้ป่วย กลุ่มอาการโรคหลอดเลือดหัวใจเฉียบพลัน

ผู้แต่ง

  • ลาวัลย์ ออกสุข
  • วาสนา รวยสูงเนิน

คำสำคัญ:

กลุ่มอาการโรคหลอดเลือดหัวใจเฉียบพลัน การรับรู้อาการ การตอบสนองและจัดการกับอาการ การตัดสินใจมารับการรักษาในโรงพยาบาล Acute coronary syndrome, perception of symptoms, response of symptoms and symptoms management, decision to seek treatment

บทคัดย่อ

This descriptive study aimed to explore perception of symptoms and decision to seek treatment in patients with acute coronary syndrome. Participants were 18 patients with acute coronary syndrome, including both old and new cases; who were admitted for treatment at Khon Kaen Hospital.  Data were collected by in-depth interviews using guided questions.  Each interview took approximately 45-60 minutes.  Content analysis was used for data analysis and conclusion of findings.

Findings revealed that participants perceived their symptoms in 2 different ways which were severity of symptoms and causes of symptoms.  Symptom severity was differentiates into 2 groups according to their experiences including immediately severe that accounted for 2 in 5 of the participants and accumulation of non severe to increasing severity.  Additionally, participants perceived their symptoms in relation to the cause in which 3 different causes were identified in this group depending on the description, location, and clarity of symptoms.  Causes of symptoms were distinguished as heart symptom, possibly heart symptom, and non heart-related symptoms that accounted for 4 in 5 of the participants.  Vagueness of symptoms was the reason for this understanding.

Diverse perceptions of symptoms resulted in different responses and management.  Those who perceived their symptoms not to be related to the heart problems tried to manage their symptoms according to their experiences and understandings.  Consequently, they waited to see if the symptoms disappeared after management.  However, there were several participants who felt that they could wait for the symptoms to get better without having to see the doctor.  There was only one participant who was an old case decided to see the doctor immediately because of symptom familiarity.  Key factors to the decision to seek treatment in this study were deterioration of symptoms to the critical state as well as clarity of symptoms to be perceived as heart conditions.  Surprisingly, some participants who were old cases could not identify the symptoms to be related to their condition.  Some of them took sublingual medication as suggested by their doctors.  However, they waited until symptoms became intolerable to go to the hospital.  Another condition involved in a decision to seek treatment was transportation problem. Several participants disclosed that they needed to wait for children or cousins to take them to the doctor.  EMS service was not commonly used because of its delay and the avoidance to use the vehicle that might deliver the dead body.  All of these conditions were responsible for the delay in seeking treatment.

Findings from this study indicate the importance of communication with the risk group of acute coronary syndrome regarding symptoms of disease, especially atypical presentation of symptoms.  Education of appropriate symptom response and management should be provided.  Moreover, the transportation system that serves people needs in emergency state should be developed. 

การศึกษาครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงบรรยาย (Descriptive research) เพื่อศึกษาการรับรู้อาการและการตัดสินใจมารับการรักษาในผู้ป่วยกลุ่มอาการโรคหลอดเลือดหัวใจเฉียบพลัน โดยใช้เทคนิคการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก (In-depth interview) ผู้ให้ข้อมูลเป็นผู้ป่วยกลุ่มอาการโรคหลอดเลือดหัวใจเฉียบพลันรายเก่าและรายใหม่ ที่มารับการรักษาที่โรงพยาบาลขอนแก่น จำนวน 18 คน เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึกตามแนวคำถาม ข้อมูลที่ได้นำมาวิเคราะห์และสรุปผลเชิงเนื้อหา (Content analysis)

ผลการศึกษาพบว่า ผู้ป่วยกลุ่มอาการโรคหลอดเลือดหัวใจเฉียบพลันมีการรับรู้อาการ 2 ลักษณะ กล่าวคือ การรับรู้ตามความรุนแรงของอาการ และการรับรู้ตามสาเหตุของอาการ ทั้งนี้ผู้ให้ข้อมูลรับรู้ความรุนแรงของอาการแตกต่างกัน 2 กลุ่ม คือ รับรู้ว่าอาการรุนแรงมาก เกิดขึ้นเฉียบพลันทันทีทันใด ซึ่งคิดเป็นประมาณ 2 ใน 5 ของผู้ให้ข้อมูลทั้งหมด ส่วนที่เหลือรับรู้อาการว่าไม่รุนแรง ค่อยๆเกิดขึ้น สำหรับการรับรู้ตามสาเหตุและตำแหน่งของอาการสามารถ แบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม คือ กลุ่มที่รับรู้อาการมีสาเหตุมาจากหัวใจโดยตรง กลุ่มที่ไม่แน่ใจว่าอาการเกิดจากหัวใจ และกลุ่มที่รับรู้ว่าอาการไม่ได้มีสาเหตุจากหัวใจ ซึ่งผู้ให้ข้อมูลประมาณ 4ใน 5 รายรับรู้ว่าอาการของตนไม่ได้มีสาเหตุมาจากหัวใจ เนื่องจากอาการที่เกิดคลุมเครือ ไม่ชัดเจน ส่งผลให้ผู้ให้ข้อมูลตอบสนองและจัดการกับอาการแตกต่างกัน โดยกลุ่มที่รับรู้ว่าสาเหตุของอาการไม่น่าจะมาจากหัวใจจะพยายามรักษาหรือบรรเทาอาการด้วยวิธีของตนเอง ตามความเข้าใจ และรอประเมินอาการหลังการจัดการนั้นๆ โดยมีส่วนหนึ่งที่อดทนรอคอยให้อาการหายไปเองโดยไม่คิดว่าต้องรีบไปรับการรักษา มีผู้ให้ข้อมูลเพียง 1 รายซึ่งเป็นผู้ป่วยรายเก่า ที่คิดว่าตนเองจะต้องไปพบแพทย์โดยด่วน เนื่องจากเคยประสบการณ์มาแล้ว  ปัจจัยสำคัญที่ทำให้ผู้ให้ข้อมูลตัดสินใจมาโรงพยาบาลคือ อาการที่รุนแรงมากขึ้นจนทนไม่ไหว รู้สึกกำลังจะตาย รวมทั้งความชัดเจนของอาการ โดยที่ผู้ให้ข้อมูลส่วนหนึ่งที่เป็นผู้ป่วยเก่ายังคงไม่สามารถเชื่อมโยงอาการที่เกิดขึ้นกับโรคที่ตนเองเป็นอยู่ได้ แม้ผู้ให้ข้อมูลบางรายจะพยายามจัดการอาการโดยการอมยาใต้ลิ้นตามคำแนะนำที่ได้รับ แต่ระยะเวลาที่รอดูอาการจนกว่าจะตัดสินใจมาพบแพทย์ ยังขึ้นอยู่กับอาการที่รุนแรงจนทนไม่ไหวเป็นหลัก ปัจจัยอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องในการตัดสินใจคือ ความสามารถในการเดินทางมาโรงพยาบาลด้วยตนเอง ผู้ให้ข้อมูลหลายรายจำเป็นต้องรอลูกหรือญาตินำส่งโรงพยาบาล ระบบบริการทางการแพทย์ในการรับส่งผู้ป่วยฉุกเฉินไม่เป็นที่นิยมเพราะความล่าช้าและความเชื่อเกี่ยวกับการใช้รถที่เคยรับส่งผู้เสียชีวิต ล้วนทำให้ระยะเวลาในการมารับการรักษาค่อนข้างล่าช้า การศึกษานี้ชี้ให้เห็นความสำคัญของการให้ความรู้แก่ประชาชนกลุ่มเสี่ยงต่อ ความเข้าใจในอาการของโรคหลอดเลือดหัวใจเฉียบพลัน โดยเฉพาะอาการที่คลุมเครือไม่ชัดเจน รวมทั้งวิธีการตอบสนองต่ออาการที่ถูกต้อง และการจัดระบบรับส่งผู้ป่วยฉุกเฉินที่ตอบสนองความต้องการใช้งานของประชาชน

Downloads