สถานการณ์ของการจัดการดูแลผู้เป็นโรคหลอดเลือดสมอง ที่มารับการรักษาที่แผนกฉุกเฉิน โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ อินเตอร์เนชั่นแนล (Situation of Care Management in Persons With Stroke at Emergency Department, Bumrungrad International Hospital )

ผู้แต่ง

  • พัชราภรณ์ สมหาญวงค์
  • วารินทร์ บินโฮเซ็น
  • น้ำอ้อย ภักดีวงศ์

คำสำคัญ:

การจัดการการดูแล ผู้เป็นโรคหลอดเลือดสมอง การดูแลระยะฉุกเฉิน care management, persons with stroke, emergency care

บทคัดย่อ

 

This descriptive research aimed to study situation of care management in persons’ suspected having stroke at ED of Bumrungrad International Hospital. Sample was purposive sampling from patient’s medical records that stroke code were activated from January - December 2010 in a total of 105 patients. Patients are categorized into 2 groups 1) request an ambulance to pick-up and 2) walk-in patient. Data were collected by recording forms including 1) demographic data 2) Pre- hospital screening test 3) care management process 4) door-to-CT, and door-to-rt-PA. and 5) care management result. Descriptive statistics was used to analyze the data.

The research finding shows that in 1st group, by applying LAPSS, from total number of 18 patients, 94.4% of patients’ call-to-respond time is within 8 minutes. 94.4% of patients’ door-to-CT result is within 45 minutes. 66.7% of 18 patients were diagnosed with stroke (Ischemic stroke 44.4%, TIA and Hemorrhagic stroke 11.1% each). In 2nd group, by applying F.A.S.T, from total number of 87 patients was assessed by ED physician within 10 minutes. 98.9 % of patients’ door-to-CT result is within 45 minutes. 65.4% of 87 patients were diagnosed with stroke (Ischemic stroke 35.6 %, TIA 21.8 %, and Hemorrhagic stroke 8 %).  15.38 % of total patients with ischemic stroke received a treatment of rt-PA, whereas 84.62% didn’t received a treatment. (onset >4.5 hours 66.67 %, significant improvement of symptoms 18.18 %, and medical contraindication 15.15 %).

This research finding recommends that majority of patients are considered to lack of self-awareness therefore, stroke alert education program need to be disseminated.

การวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา (Descriptive Research) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานการณ์ของการจัดการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองที่มารับการรักษาในแผนกฉุกเฉิน ที่โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ อินเตอร์เนชั่นแนล กลุ่มตัวอย่างเลือกแบบเฉพาะเจาะจง (Purposive sampling) เป็นเวชระเบียนของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองที่ได้รับการ Activate stroke code ที่แผนกฉุกเฉิน ตามเกณฑ์ที่กำหนด จำนวน 105 ราย แบ่งกลุ่มตัวอย่างออกเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่ 1 เป็นผู้ที่ขอใช้บริการรถพยาบาล และกลุ่มที่ 2 เป็นผู้ป่วยที่ญาตินำส่งแผนกฉุกเฉิน ระหว่างเดือนมกราคม ถึง เดือนธันวาคม พ.ศ. 2553 เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบบันทึกประกอบด้วย 1) แบบบันทึกข้อมูลทั่วไป 2) แบบบันทึกการคัดกรองผู้ป่วย 3) แบบบันทึกการจัดการดูแล 4) แบบบันทึกระยะเวลาที่ใช้ และ5) แบบบันทึกผลการจัดการดูแล การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงพรรณนา

ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มที่ 1 มีจำนวน 18 คน สามารถจัดส่งรถพยาบาลออกไปรับผู้ป่วยได้ ภายใน 8 นาที ร้อยละ 94.4 ผู้ป่วยทุกรายได้รับการประเมินโดยใช้ The Los Angeles Pre-hospital Stroke Screen (LAPSS) และนำผู้ป่วยส่งตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์สมอง ตั้งแต่มาถึงโรงพยาบาลจนกระทั่งได้ผลอ่าน ภายใน 45 นาที ร้อยละ 94.4 และได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคหลอดเลือดสมอง ร้อยละ 66.7  และเป็นชนิดหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตัน ร้อยละ 44.4  กลุ่มที่2 มีจำนวน 87 คน ผู้ป่วยทุกรายได้รับการคัดกรองโดยใช้ F.A.S.T Test ( Face Arm Speech Time) และได้รับการประเมินอาการ การดูแลโดยแพทย์ภายใน 10 นาที และนำผู้ป่วยส่งตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์สมอง ตั้งแต่มาถึงโรงพยาบาลจนกระทั่งได้ผลอ่าน ภายใน 45 นาที ร้อยละ 98.9 ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคหลอดเลือดสมอง  ร้อยละ 65.4  และเป็นชนิดหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตัน ร้อยละ 35.6 ผู้ป่วยทั้งสองกลุ่มได้รับการรักษาด้วย rt-PA เพียงร้อยละ 15.38

ผลการวิจัยนี้เสนอแนะว่า ผู้ที่สงสัยว่าเป็นโรคหลอดเลือดสมองควรได้รับการรักษาด้วยยาละลายลิ่มเลือดที่มีประสิทธิภาพภายในระยะเวลาที่กำหนด ดังนั้น ควรมีการรณรงค์ให้ความรู้แก่ประชาชน การสังเกตอาการเบื้องต้น เพื่อให้เข้ารับการรักษาอย่างทันท่วงที

 

Downloads