การพัฒนาแนวทางการป้องกันการติดเชื้อแผลผ่าตัดในผู้ป่วยผ่าตัดกระดูกสันหลัง โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชท่าบ่อ จังหวัดหนองคาย

ผู้แต่ง

  • ทศพร ทองย้อย โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชท่าบ่อ จังหวัดหนองคาย
  • อนันต์ศักดิ์ จันทรศรี คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี
  • แก้วใจ แสนพาน โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชท่าบ่อ จังหวัดหนองคาย
  • มลินา ปฐมเจริญสุขชัย โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชท่าบ่อ จังหวัดหนองคาย
  • วิทยา ไชยจันพรม โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชท่าบ่อ จังหวัดหนองคาย

คำสำคัญ:

การผ่าตัดกระดูกสันหลัง, การติดเชื้อแผลผ่าตัด, แนวทางการป้องกันการติดเชื้อ

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนาแนวทางการป้องกันการติดเชื้อแผลผ่าตัดกระดูกสันหลังและศึกษาผลของการใช้แนวทางการป้องกันการติดเชื้อแผลผ่าตัดบริเวณกระดูกสันหลัง แบ่งออกเป็น 4 ระยะ 1) ศึกษาสถานการณ์และ ปัจจัยเสี่ยง กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ป่วยผ่าตัดกระดูกสันหลัง ญาติ และทีมสหวิชาชีพที่เกี่ยวข้อง จำนวน 45 คน 2) พัฒนาแนวทางการป้องกัน  การติดเชื้อแผลผ่าตัดกระดูกสันหลัง 3) นำแนวทางไปทดลองใช้กับผู้ป่วยจำนวน 15 ราย เป็นระยะเวลา 2 เดือน 4) สรุปและประเมินผล เครื่องมือที่ใช้ ระยะที่ 1 ได้แก่ แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง แนวทางการจัดประชุมกลุ่ม และแนวทางการสังเกต ระยะที่ 2 ได้แก่ คู่มือการดูแลบาดแผลผ่าตัดกระดูกสันหลัง และแผนการดูแลผู้รับการผ่าตัดกระดูกสันหลัง และระยะที่ 3 ได้แก่ แบบประเมินการปฏิบัติการป้องกันการติดเชื้อตำแหน่งผ่าตัด และแบบบันทึกการติดตามผลการรักษาและการติดเชื้อแผลหลังผ่าตัด ตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือวิจัยที่ใช้ในระยะที่ 2 และ 3 จำนวน 4 เครื่องมือโดยผู้ทรงคุณวุฒิ 3 ท่าน มีความตรงตามเนื้อหา เท่ากับ .81, .80, .87 และ .91 ตามลำดับ และคำนวณหาค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาครอนบาก ได้เท่ากับ .95, .85, .88 และ .91 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติเชิงพรรณนา และการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา

            ผลการวิจัย พบว่า ผู้ป่วยและญาติขาดความรู้ในการดูแลแผลผ่าตัดและการจัดการเมื่อเกิดการติดเชื้อของแผน รวมทั้งเจ้าหน้าที่ผู้ให้บริการด้านสุขภาพขาดแนวทางการติดตามดูแลอย่างต่อเนื่อง นำสู่การพัฒนาเพื่อให้เกิดเป็นแนวทางการดูแลผู้รับการผ่าตัดกระดูกสันหลัง ซึ่งแนวทางประกอบด้วย 1) จัดประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อเสริมสร้างศักยภาพของผู้ป่วยผ่าตัดกระดูกสันหลังและญาติให้มีความรู้ในการดูแลแผลผ่าตัดและการจัดการเมื่อเกิดการติดเชื้อ 2) จัดประชุมทีมพัฒนาแนวทางการดูแลผู้ป่วยผ่าตัดกระดูกสันหลังในโรงพยาบาลโดยการพัฒนาทำให้เกิดแนวทางในการดูแลผู้รับการผ่าตัดกระดูกสันหลังตั้งแต่แรกรับจนกระทั่งกลับบ้านและมีการติดตามผลการรักษา อย่างต่อเนื่อง 30 วัน และ 3) จัดประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อเสริมสร้างศักยภาพของเจ้าหน้าที่ในการดูแลผู้ป่วยผ่าตัดกระดูกสันหลังจากการนำแนวทางที่พัฒนาขึ้นไปใช้กับผู้รับการผ่าตัดกระดูกสันหลังจำนวน 15 คน พบว่าผู้รับการผ่าตัดกระดูกสันหลังไม่มีการติดเชื้อของแผลหลังการผ่าตัด ไม่พบว่ามีการติดเชื้อของแผล (ร้อยละ 0)  ดังนั้นการดูแลตามแนวทางที่พัฒนาขึ้นทำให้ผู้รับการผ่าตัดกระดูกสันหลังและญาติมีความรู้ความเข้าใจในการดูแลตนเองเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการติดเชื้อของแผล อีกทั้งทีมผู้ให้บริการสุขภาพมีแนวทางในการให้การดูแลและการติดตามผลการรักษาอย่างต่อเนื่อง

References

Ministry of Public Health. Cause of morbidity by region per 1,000 population [Internet]. 2017 [cited 2022 Feb 1]. Available from: http://www.pcko.moph.go.th/Health-Statistics/stratistics60.pdf (in Thai)

Karnget N. Nursing of spine surgery patients: case studies. 6th National Conference Nakhon Ratchasima College 2019; 2019. (in Thai)

Santiworabut S. Effects of self-efficacy promotion program on the quality of recovery after surgery and the daily routine of postoperative patient’s Lumbar spine surgery. [dissertation]. Bangkok: Christian University; 2018. (in Thai)

Fatoye F, Gebrye T, Odeyemi I. Real-world incidence and prevalence of low back pain using routinely collected data. Rheumatol Int. 2019;39(4):619-26.

Stevans JM, Delitto A, Khoja SS, Patterson CG, Smith CN, Schneider MJ, et al. Risk factors associated with transition from acute to chronic low back pain in US patients seeking primary care. JAMA Netw Open. 2021;4(2):e2037371.

Yoyuenyong C, Srimongkot P. Factors predicting the recovery of activity of daily living function in patients undergoing lumbar surgery. Journal of The Royal Thai Army Nurses 2015;16(1):62-9. (in Thai)

Nicol V, Verdaguer C, Daste C, Bisseriex H, Lapeyre É, Lefèvre-Colau M-M, et al. Chronic low back pain: A narrative review of recent international guidelines for diagnosis and conservative treatment. J Clin Med. 2023; 12(4):1685.

Hong JY, Song KS, Cho JH, Lee JH, Kim NH. An updated overview of low back pain management. Asian Spine J. 2022;16(6):968-82.

Anderson DJ, Podgorny K, Berrios-Torres SI, Bratzler DW, Dellinger EP, Greene L, et al. Strategies to prevent surgical site infections in acute care hospitals: 2014 update. Infect Control Hosp Epidemiol. 2014;35(6):605-27.

Korol E, Johnson K, Waser N, Sifakis F, Jafri HS, Lo M, et al. A systematic review of risk factors associated with surgical site infections among surgical patients. PLoS ONE 2013;8(12):e83743.

Rosenthal VD, Richtmann R, Singh S, Apisarnthanarak A, Kubler A, Viet-Hung N, et al. Surgical site infections, International Nosocomial Infection Control Consortium report, data summary of 30 countries, 2005-2010. Infect Control Hosp Epidemiol. 2013;34(6):597-604.

Mu Y, Edwards JR, Horan TC, Berrios-Torres SI, Fridkin SK. Improving risk-adjusted measure of surgical site infection for the national healthcare safety network. Infect Control Hosp Epidemiol. 2011;32(10):970-86.

Kasatpibal N, Norgaad M, Jamulitrat S. Improving surveillance system and surgical site infection rates through a network: A pilot study from Thailand. Clin Epidemiol 2009;1:67-74.

Awad SS. Adherence to surgical care improvement project measures and post-operative surgical site infection. Surg Infect (Larchmt). 2012;13(4):234-7.

Zhou J, Wang R, Huo X, Xiong W, Kang L, Xue Y. Incidence of surgical site infection after spine surgery: A systematic review and meta-analysis. Spine (Phila Pa 1976). 2020;45(3):208-16.

Ojo OA, Owolabi BS, Oseni AW, Kanu OO, Bankole OB. Surgical site infection in posterior spine surgery. Niger J Clin Pract. 2016;19(6):821-6.

Kurtz SM, Lau E, Ong KL, Carreon L, Watson H, Albert T, et al. Infection risk for primary and revision instrumented lumbar spine fusion in the Medicare population. J Neurosurg Spine. 2012;17:342–7.

Zhang X, Liu P, You J. Risk factors for surgical site infection following spinal surgery: A meta-analysis. Medicine (Baltimore). 2022;101(8):e28836.

Poe-Kochert C, Shimberg JL, Thompson GH, Son-Hing JP, Hardesty CK, Mistovich RJ. Surgical site infection prevention protocol for pediatric spinal deformity surgery: does it make a difference?. Spine Deform. 2020;8(5):931-8.

Suwannakeeree W, Payaprom Y. Prevention of surgical site infection. Journal of Nursing Science Chulalongkorn University. 2017;29(2):15-28. (in Thai)

Kemmis S, McTaggart R. Participatory action research: Communicative action and public sphere. In Denzin, Norman K. and Lincoln YS. (eds.) The SAGE Handbook of Qualitative Research. 3rd ed. London: SAGE Publications; 2005.

Duangchan C. Nursing hand off communication through the SBAR technique. Journal of Nursing Siam University. 2020;41:91-103. (in Thai)

Piwpong R, Janwithayanuchita I, Kengkatea M, Pongsetpisan T, Sarai K, Sanguanpong R, et al. A development of interprofessional education model by home visit in patients with chronic diseases. Journal of Phrapokklao Nursing College. 2021;32(1):150-70. (in Thai)

Chuenkongkaew W. IPE towards Thai Health Team. Annual National Health Professional Education Reform Forum: ANHPERF; 2016 November 21-22. Bangkok: P. A. Living; 2016. (in Thai)

World Health Organization. Framework for action on interprofessional education and collaborative practice [Internet]. 2010 [cited 2022 Aug 12]. Available from: http://apps.who.int/iris/bitstream/10665/70185/1/WHO_H RH_HPN_10.3_eng.pdf

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-08-24