ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพการนอนหลับของผู้สูงอายุที่ไม่มีภาวะพึ่งพิง จังหวัดอุบลราชธานี

ผู้แต่ง

  • ลักขนา ชอบเสียง วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สรรพสิทธิประสงค์ คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก
  • พนัชญา ขันติจิตร วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สรรพสิทธิประสงค์ คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก
  • ชนุกร แก้วมณี วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สรรพสิทธิประสงค์ คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก

คำสำคัญ:

การนอนหลับ, คุณภาพการนอนหลับ, ผู้สูงอายุที่ไม่มีภาวะพึ่งพิง

บทคัดย่อ

คุณภาพการนอนหลับมีความสำคัญต่อการดำรงชีวิตของผู้สูงอายุ ซึ่งถ้าผู้สูงอายุมีปัญหาด้านการนอนหลับจะส่งผลต่อสุขภาพทางด้านร่างกายและจิตใจ การวิจัยเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวางนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคุณภาพการนอนหลับของผู้สูงอายุและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับคุณภาพการนอนหลับของผู้สูงอายุในจังหวัดอุบลราชธานี กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้สูงอายุที่ไม่มีภาวะพึ่งพิง จำนวน 380 คน โดยสุ่มตัวอย่างแบบหลายลำดับขั้น เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาเป็นแบบสัมภาษณ์คุณภาพการนอนหลับของผู้สูงอายุของ The Pittsburgh Sleep Quality Index (PSQI) และแบบประเมินปัจจัยที่รบกวนการนอนหลับ วิเคราะห์หา  ความเชื่อมั่นของเครื่องมือโดยใช้วิธีการหาความสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค มีค่าความเที่ยง 0.79 สถิติในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ สถิติพรรณนา ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติอนุมานวิเคราะห์หาความสัมพันธ์ของเพียร์สันและ Chi-Square test

ผลการศึกษาพบว่า ผู้สูงอายุส่วนใหญ่มีคุณภาพการนอนหลับของอยู่ในระดับดี อายุและสัมพันธภาพในครอบครัวมี  ความสัมพันธ์ทางบวกกับคุณภาพการนอนของผู้สูงอายุอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ  (p-value < .01 และ .05 ตามลำดับ) ในทางตรงกันข้ามปัจจัยรบกวนการนอนด้านร่างกายมีความสัมพันธ์ทางลบกับคุณภาพการนอนของผู้สูงอายุอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ   (p-value <.01) จากการศึกษาครั้งนี้ สามารถนำมาเป็นแนวทางในการจัดการดูแลผู้สูงอายุเพื่อส่งเสริมคุณภาพการนอนหลับในผู้สูงอายุ ตลอดจนเป็นข้อมูลพื้นฐานในการจัดกิจกรรมส่งเสริมการนอนหลับตามช่วงอายุ และประเมินปัญหาสัมพันธภาพครอบครัวเพื่อหาแนวทางแก้ไขปัญหาการนอนของผู้สูงอายุต่อไป

References

Department of Provincial Administration, Ministry of Interior. Statistics of the Thai elderly in 2022. [Internet]. 2022 [cited 2023 Jan 05]. Available from http://stat.bora.dopa.go.th/new_stat/webPage/statByAgeMonth.php (in Thai)

Choombuathong A, Chalopatham W, Dhongyooyen P, Chokchaiworrarat S, Thamwattana K, Changsap B, et al. Sleep quality and factors related to sleep and self-esteem in the elderly. Journal of Health Science 2015;24(5):834-43. (in Thai)

Sleep Society of Thailand. Interesting knowledge and sleep problems. [Internet]. 2016 [cited 2022 Feb 18]. Available from http://www.tmwa.or.th/download/sleep.pdf (in Thai)

Thitima N, Chinvararak C, Sanguanvichaikul T. Quality of sleep and its associated factors in patients with major depressive disorder at out patients department, Somdet Chaopraya Institute of Psychiatry. Chula Med Bull. 2019;1(4):369-81. (in Thai)

Tantrakul V. Common sleep problems in the elderly. In Tantrakul V, Kittivorawitkul P, Prutthiphan A. (Editors), Sleep in the elderly. Nonthaburi: Beyond Enter Price; 2022: P.16–30. (in Thai)

Na Wichian S. Journal of Thailand Nursing and Midwifery Council. 2021;36(2):18-31. (in Thai)

Chinvararak C, Tangwongchai S, Dumrongpiwat N. Sleep quality and Its associated factors in the elderly at Pracha Niwet Village. J Psychiatr Assoc Thailand 2018;63(2):199-210. (in Thai)

Panpanit L. Sleep problems in older people and nursing management. Journal of Nursing Science & Health. 2020;43(1):140-50. (in Thai)

Ubon Ratchathani Provincial Public Health Office. General information and health information Ubon Ratchathani Province. [Internet]. 2022 [cited 2022 Mar 03]. Available from http://demo.phoubon.in.th/?page_id=319 (in Thai)

Buysse DJ, Reynolds CF, Monk TH, Berman SR, Kupfer DJ. The Pittsburgh Sleep Quality Index: a new instrument for psychiatric practice and research. Psychiatry Res. 1989;28(2),193-213.

Krejcie RV, Morgan DW. Determining sample size for research activities. Educ Psychol Meas.. 1970;30(3):607-10.

Jirapramukpitak T, Tanchaisawad W. Sleep disturbances among nurses of Songklanagarind Hospital. JPsychiatr Assoc Thailand. 1997;42(3):123-32. (in Thai)

Best JW. Research in education. New Jersey: Prentice Hall; 1977.

Thumcharoen W, Chalernngam N, Chotedelok Y, Thonghnunui N. Factors affecting sleep quality of the elderly. Suranaree J Soc Sci. 2023;17(2):1-8. (in Thai)

Jaiyen R, Fakkham S, Vajaradul Y. Effect of Ayuwatana Recipes on the quality of sleep in older people with insomnia. Journal of Prachomklao College of Nursing, Phetchaburi Province. 2022;5(2):72-84. (in Thai)

Puengchompoo W. Gerontological nursing: interested common health issues. Chiang Mai: NPT Printing; 2020. (in Thai)

Park JH, Yoo MS, Bae SH. Prevalence and predictors of poor sleep quality in Korean older adults. Int J Nurs Pract. 2013;19(2):116-23.

Thamcharoen W, Chaleonngam N, Chotedelok Y, Thongnunui N. Factors associated with depression of the elderly. Rajabhat Rambhai Barni Research Journal. 2021;15(3):52-62. (in Thai)

Tel H. Sleep quality and quality of life among the elderly people. Neurol Psychiatry Brain Res. 2013;19(1):48-52.

Abraham O, Pu J, Schleiden LJ, Albert SM. Factors contributing to poor satisfaction with sleep and healthcare seeking behavior in older adults. Sleep Health. 2017;3(1):43-8.

Troxel WM, Robles TF, Hall M, Buysse DJ. Marital quality and the marital bed: examining the covariation between relationship quality and sleep. Sleep Med Rev. 2007;11(5):389-404.

Suri K, Sununsirikul K, Tonsuvan K. Quality of sleep and associated factors in elderly at urban community, Nakhon Sawan. Region 3 Medical and Public Health Journal. 2022;19(1):15-27. (in Thai)

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-06-26