โปรแกรมเพื่อเสริมสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพของผู้สูงอายุ : วิจัยแบบผสมผสานวิธี

ผู้แต่ง

  • ธัญรัศม์ ภุชงค์ชัย คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ
  • ภัควรินทร์ ภัทรศิริสมบูรณ์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี
  • ณัฐปภัสญ์ นวลสีทอง คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ
  • ปาริชาต ญาตินิยม คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ
  • จิรัชญา เหล่าคมพฤฒาจารย์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ

คำสำคัญ:

โปรแกรม, ความรอบรู้ด้านสุขภาพ, ผู้สูงอายุ

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้เป็นการวิจัยแบบผสมผสานวิธี มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและประเมินประสิทธิผลโปรแกรมเพื่อเสริมสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพของผู้สูงอายุ แบ่งเป็น 2 ระยะ คือ 1) การวิจัยเชิงสำรวจ กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้สูงอายุที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป จำนวน 352 คน  สุ่มตัวอย่างแบบง่าย รวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบประเมินความรอบรู้ด้านสุขภาพของกองสุขศึกษา แบบสอบถามพฤติกรรมสุขภาพป้องกันโรคไม่ติดเชื้อและโรคติดเชื้อ และแบบประเมินคุณภาพชีวิตขององค์การอนามัยโลก ทดสอบความเที่ยงได้ค่าสัมประสิทธิ์ของครอนบาค เท่ากับ .86, .80 และ .89 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติเชิงพรรณนา 2) การวิจัยเชิงปฏิบัติการ กลุ่มตัวอย่างคือ กลุ่มผู้ให้ข้อมูลหลัก จำนวน 33 คน ได้แก่ กลุ่มผู้สูงอายุ ผู้ดูแลผู้สูงอายุ ผู้นำชุมชน บุคลากรด้านสาธารณสุข อาสาสมัครสาธารณสุข ให้ข้อมูลเกี่ยวกับปัญหาสุขภาพของผู้สูงอายุ และร่วมพัฒนาโปรแกรม โดยใช้แบบสนทนากลุ่มย่อยและแบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา  และกลุ่มผู้สูงอายุเข้าร่วมโปรแกรม จาก 3 หมู่บ้าน จำนวน 66 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 33 คน กลุ่มควบคุม 33 คน สุ่มตัวอย่าง  แบบเฉพาะเจาะจง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติที

            ผลการศึกษาระยะที่ 1 พบว่า ความรอบรู้ด้านสุขภาพโดยรวมอยู่ในระดับพอใช้ พฤติกรรมสุขภาพป้องกันโรคไม่ติดเชื้อและโรคติดเชื้อโดยรวมอยู่ในระดับดี คุณภาพชีวิตโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง ระยะที่ 2 พบว่า 1) ผู้สูงอายุส่วนใหญ่เจ็บป่วยด้วย  โรคเรื้อรัง ขาดความรู้ในเรื่องการดูแลสุขภาพตนเองและขาดความรอบรู้ในด้านการเข้าถึงข้อมูลด้านสุขภาพจากสื่อออนไลน์  2) การสร้างโปรแกรมเสริมสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพของผู้สูงอายุ สรุปได้ 4 กิจกรรม ดังนี้ (1) อบรมให้ความรู้และดูวีดีทัศน์เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงสุขภาพในผู้สูงอายุ (2) พูดคุยแลกเปลี่ยนประสบการณ์เรื่องผู้สูงอายุกินดี ฟันดี ต้านโรค (3) ฝึกทักษะการออกกำลังกายและการบริหารจิตใจ (4) ฝึกทักษะการเข้าถึงข้อมูล และการรู้เท่าทันสื่อ และ 3) หลังการทดลองใช้โปรแกรมของ      กลุ่มทดลอง พบว่าความรอบรู้ด้านสุขภาพและคุณภาพชีวิตโดยรวมอยู่ในระดับดี พฤติกรรมสุขภาพป้องกันโรคไม่ติดเชื้อและโรคติดเชื้อโดยรวมอยู่ในระดับดีมาก และค่าเฉลี่ยความรอบรู้ด้านสุขภาพพฤติกรรมสุขภาพป้องกันโรคโรคไม่ติดเชื้อและโรคติดเชื้อ และคุณภาพชีวิตของกลุ่มทดลองมากกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p <.05)  ดังนั้นการศึกษานี้สามารถนำไปเป็นข้อมูลพื้นฐานสำหรับการวิจัยเชิงทดลองเพื่อเสริมสร้างและพัฒนาคุณภาพชีวิตที่สัมพันธ์กับความรอบรู้ด้านสุขภาพในกลุ่มผู้สูงอายุ

References

Board of the 12th national health development plan. The 12th national health development plan [Internet]. Bangkok: Ministry of Public Health; 2016 [cited 2022 Jul 09]. Available from: https://www.nesdc.go.th /ewt_ dl _link.php?nid=6422. (in Thai)

Matsee C, Waratwichit C. Promotion of health literacy: from concept to practice. BCNUT J Nurs. 2017;9(2):96-111. (in Thai)

Ginggeaw S, Prasertsri N. The relationship between health literacy and health behaviors among older adults who have multi-morbidity. NJPH. 2015;43-53. (in Thai)

Srithanee K. Relationship between health literacy and quality of the elderly’s life at the central part of the North-East Thailand. JHSR. 2017;11(1):26-36. (in Thai)

Nutbeam D. The evolving concept of health literacy. Soc Sci Med. 2008;67(12):2072-8.

Chaiyaphum Provincial Statistical Office. Provincial statistical report. Report of sickness with non-communicable diseases [Internet]. 2017 [Cited 2022 May 25]. Available from: https://cpm.hdc.moph. go.th/hdc/main/index.php. (in Thai)

Chaiyanukoo T. Development of health literacy of the elderly at Khamkrang Sub-district, Detudom District, Ubon Ratchathani Province. J Health Sci TSU. 2020;2(3):73-9. (in Thai)

Puttha N, Chalardlon P. The development of health literacy activities of self-care for elderly in the new normal Ban Lueak Subdistrict, Photharam District, Ratchaburi Province. Journal of MCU Nakhondhat. 2022;9(3):46-64. (in Thai)

Arahung R, Hoontrakul S, Roojanavech S. The effects of health literacy enhancement program on hypertensive prevention behavior of pre-hypertension risk group at a community in Nakhon Pathom Province. RTNNMDjournal. 2018;45(3):509-26. (in Thai)

Krejcie RV, Morgan DW. Determining sample size for research activities. EPM. 1970;30(3):607–10.

Division of health education, Department of health service support ministry of public health. Assessment of health literacy and health behaviors of the people to prevent infectious and non-infectious diseases. Important people of working age in the village to change their health behavior in the year 2022. [Internet]. [cited 2022 July 20]. Available from: http://www.hed.go.th/linkHed/437. (in Thai)

Mahatnirunkul S, Tuntipivatanakul W, Pumpisanchai W. Comparison of the WHOQOL-100 and the WHOQOL-BREF (26 items). J Ment Health Thai. 1998;5(3):4-15. (in Thai)

Saeloo J, Kaewkrachok T, Samdaengsarn D. How social support and health literacy influence quality of life of elders in Mueang District of Nakhon Si Thammarat. SCNJ. 2021;8(2):39-52. (in Thai)

Suksri S, Settheetham D. Health literacy and self-care related to quality of life of elderly in Amnatcharoen Municipality Amnatcharoen province. KKU Res J (GS). 2017;17(4):73-84. (in Thai)

Meebunmak Y, Intana J, Kijnopakieat K, Khamthana P, Rungnoe N. Health literacy among older adults in a Semi-Urban Community in Ratchaburi Province. The Southern College Network Journal of Nursing and Public Health. 2019;6(Special issue):129-41. (in Thai)

Ruangkiatku N. Factors Associated with Health Literacy among Thai Older Adults. DMS. 2022; 47(1):80-86. (in Thai)

Vilawarn J, Laokhompruttajan J, Laokhompruttajan T, Boonnao B, Boonserm P. The effect of socio-cultural program for promoting quality of life and depressive prevention in the elderly, Na Fai Subdistrict, Mueang Chaiyaphum District, Chaiyaphum Province. Research and Development Health System Journal. 2022;15(1):181-95. (in Thai)

Puttamat W. The study of factors affecting to quality of life among elderly in Nafai Subdistrict, Muang District, Chaiyaphum by using multiple linear regression model. EAU Heritage Journal Social Science and Humanities. 2019;1(2):112-22. (in Thai)

Kabmanee N, Ouicharoen S, Sakulkoo P. The quality of life of the elderly in Thamboon Nongphai Muang, Udornthani. Journal of Boromarajonani College of Nursing, Surin. 2021;11(1):27-39. (in Thai)

Jirawongnusorn S, Chitmanasak N. Development of a health literacy model to enhance health behaviours according the “3A” principle of the elderly. Journal of Roi Kaensarn Academi. 2022;7(4):233-49. (in Thai)

Choojai R, Boonsiri C, Patcheep K. Effects of a health literacy enhancement program for COVID-19 prevention on health literacy and prevention behavior of COVID-19 among village health volunteers in Don Tako Sub-district, Mueang District, Ratchaburi Province. The Southern College Network Journal of Nursing and Public Health. 2021;8(1):250-62. (in Thai)

Nilnate W, Rungchutiphopan W. Health literacy and nursing professionals. Quality of Life and Law Journal. 2019;15(2):1-18. (in Thai)

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-05-10