ความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูลส่วนบุคคลกับความรอบรู้ด้านสุขภาพเกี่ยวกับกัญชา ของนักศึกษามหาวิทยาลัยแห่งหนึ่ง

ผู้แต่ง

  • พรภัทรา แสนเหลา คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ
  • สุวารี ทวนวิเศษกุล คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ
  • ปัญญ์กรินทร์ หอยรัตน์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ
  • อรวี มาอ้น คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ
  • จริยา พานสายตา คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ

คำสำคัญ:

ความรอบรู้ด้านสุขภาพ , กัญชา , นักศึกษา

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงพรรณนา มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับกัญชา การเข้าถึงข้อมูลเกี่ยวกับการใช้กัญชา การสื่อสารสุขภาพเกี่ยวกับกัญชา  การรู้เท่าทันสื่อและสารสนเทศเกี่ยวกับกัญชา การตัดสินใจเลือกปฏิบัติเกี่ยวกับการใช้กัญชาและพฤติกรรมการใช้กัญชา 2) ความสัมพันธ์ระหว่างลักษณะทางประชากรกับความรอบรู้ด้านสุขภาพเกี่ยวกับกัญชา  กลุ่มตัวอย่างนักศึกษามหาวิทยาลัยแห่งหนึ่ง  โดยการแบ่งชั้นภูมิแบบเป็นสัดส่วน  จำนวน 390 คน ระหว่างเดือนสิงหาคม 2565 – ตุลาคม 2565 เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามความรอบรู้ด้านสุขภาพเกี่ยวกับกัญชาที่สร้างขึ้นเอง  ผู้เชี่ยวชาญในการตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือได้ค่าความเที่ยงตรงรายข้อระหว่าง 0.7-1.0  และทดสอบความเชื่อมั่น (Reliability) ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับกัญชาทดสอบใช้ Kuder - Richardson สูตร KR - 20  เท่ากับ 0.61 และและหาค่าสัมประสิทธิ์อัลฟ่า (Cronbach’s Alpha Coefficient ) ในองค์ประกอบอื่น ๆ เท่ากับ 0.89, 0.91, 0.91 และ 0.98  วิเคราะห์ โดยใช้สถิตเชิงพรรณนา ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน  และวิเคราะห์ความสัมพันธ์ โดยสถิติ Pearson chi -square

            ผลการวิจัยพบว่า ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับกัญชา การเข้าถึงข้อมูลเกี่ยวกับการใช้กัญชา  การสื่อสารสุขภาพเกี่ยวกับ   การใช้กัญชาและการรู้เท่าทันสื่อเกี่ยวกับการใช้กัญชาอยู่ในระดับปานกลางร้อยละ 87.2, 61.5, 72.3 และ 69.5 ตามลำดับ  ส่วนการตัดสินใจเลือกปฏิบัติเกี่ยวกับการใช้กัญชาและพฤติกรรมการใช้กัญชาอยู่ในระดับน้อยร้อยละ 56.9 และ 48.2 ตามลำดับ  การศึกษาความสัมพันธ์ พบว่า เพศ และรายได้ที่ได้รับต่อเดือนมีความสัมพันธ์กับความรอบรู้ด้านสุขภาพเกี่ยวกับกัญชาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.01) คณะที่ศึกษา และผลการเรียนเฉลี่ยอายุ มีความสัมพันธ์กับความรอบรู้ด้านสุขภาพเกี่ยวกับกัญชาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.05)  ส่วน อายุ ชั้นปี และลักษณะที่พักอาศัยไม่มีความสัมพันธ์กับความรอบรู้ด้านสุขภาพเกี่ยวกับกัญชา    ข้อเสนอแนะ ควรมีนโยบายส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพเกี่ยวกับกัญชาของนักศึกษา  โดยการเปิดโอกาสให้เข้าถึงข้อมูล  การสื่อสารและส่งเสริมการรู้เท่าทันสื่อเกี่ยวกับการใช้กัญชา  เพื่อการตัดสินใจและมีพฤติกรรมการใช้กัญชาที่เหมาะสม

References

Teaamprung N. Production and Utilization of Marijuana. Nakhon Ratchasima: Suranaree University of Technology, Thailand; 2021. (in Thai)

Khongcharoensombat T. Cannabis - From Past to Present. Bangkok: Chulalongkorn University, Thailand; 2019. (in Thai)

Aimaiem S, Seansanak S, Suakjareon P, Sawatchai C. Drug Interesting; Cannabis. The Journal of Prapokklao Hospital Clinical Medical Education Center 2019;36(4): 356-62. (in Thai)

Suphanchaimat R, Pavasuthipaisit C. Potential Benefits and Risks from Medicalisation and Legalisation of Cannabis. Journal of Health Systems Research. 2018;12(1):71-94. (in Thai)

Administration N C. Marijuana [internet]. 2020 [cited 2022 Jul 17]. Available from: https://www.fda.moph.go.th.

Centre for Addiction Studies.Teenages beware Use marijuana in combination with beer liquor Lots of risks. [internet]. 2023 [cited 2023 May 3]. Available from: https://cads.in.th/cads/content?id=299

Ratanathongkum S. Characteristics of Higher Education Learners . Physical therapy teaching. 1/2013 Semeter.[Internet].2023[cited 2023 May 3]. Available from: https://ams.kku.ac.th/ aalearn/resource/edoc/tech/56web/6learn_sty56.pdf

World Health Organization. Health promotion glossary. [Internet]. 2022 [cited 2022 Dec 27]. Available from: http://www.who.int/healthpromotion/about/HPR% 20Glossary%.

Choeisuwan V. Health Literacy : Concept and Application for Nursing Practice. Royal Thai Navy Medical Journal. 2017; 44(3):188-90. (in Thai)

Narnmomtee O. Health literacy. Thai Dental Nurse Journal. 2018;29(1):122-8. (in Thai)

Keawdumgead K. Health Literacy: Knowledge Skill and Application. Bangkok: Amarine printing and pupling Lim, Thailand; 2021. (in Thai)

Sasanreidthichai K. Health Literacy : Concept, Theory and Application. Khon Kean: Khuan nana vitaya, Thailand; 2021. (in Thai)

Akaphin S, Saodaen K, Thongjumnong L, Senchaowanich Y. Health Literacy of Thammasat University Students towards Medical Use of Cannabis. Bangkok: Thammasat University, Thailand; 2019. (in Thai)

Jintaphaphuthanasiri N, Nakamon C. Knowledge and Understanding and Attitude about Cannabis Use. Bangkok: Rangsit University. Thailand; 2020. (in Thai)

Yamane T. Statistics: An introductory analysis (3rd.ed.). New York: Harper & Row; 1973.

Saijanket P , Nojan P, Meekai N, Suknarin R . Knowledge and Attitudes about Medical Cannabis among People in Phitsanulok Province. JTT Med Res. 2020;18(3):163-71. (in Thai)

On-Kail P, Suwannaphant K. Health Literacy of Medical Cannabis Use among Village Health Volunteers in Khon Kaen Province. Journal of Health Science and Community Public Health. 2020;3(2):28-35. (in Thai)

Choosrithong K, Dendoung N, Kulprayong P. Attitudes knowledge and opinion about medical cannabis among students. Chonburi: Burapha University, Thailand; 2020. (in Thai)

Boonmark T, Nonthanathorn P. Knowledge Attitude and Practice towards Cannabis Use among People in the Central Region of Thailand. Journal of the Association of Researchers. 2021;26(2):69-86. (in Thai)

Phanwichian K . Factors Associated with Cannabis Usage on Behavioral Level for Medical Benefits of the people. The Journal of Boromarjonani College of Nursing Suphanburi . 2020;3(1): 31-42. (in Thai)

Luangwichianporn A, Sribundit N. Knowledge and Opinionstowards Medical Cannabis among Public Hospital Pharmacists. Thai Journal of Pharmacy Practice. 2022;14(2):245-59. (in Thai)

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-05-22