การพัฒนารูปแบบการส่งเสริมการดูแลตนเองสำหรับผู้ป่วยมะเร็งเต้านมเพื่อป้องกันการกลับ มารักษาซ้ำโดยไม่ได้วางแผน แผนกผู้ป่วยนอกศัลยกรรม โรงพยาบาลนครปฐม
คำสำคัญ:
รูปแบบการส่งเสริมการดูแลตนเอง, ผู้ป่วยมะเร็งเต้านม, การกลับมารักษาซ้ำโดยไม่ได้วางแผนบทคัดย่อ
การวิจัยและพัฒนานี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนารูปแบบการส่งเสริมการดูแลตนเองสำหรับผู้ป่วยมะเร็งเต้านมเพื่อป้องกันการกลับมารักษาซ้ำโดยไม่ได้วางแผน 2) ศึกษาผลของการนำรูปแบบฯมาใช้ ได้แก่ ระดับการรับรู้ของผู้ป่วยมะเร็งเต้านมต่อการปฏิบัติตามรูปแบบฯและการกลับมารักษาซ้ำโดยไม่ได้วางแผน 3) ศึกษาความพึงพอใจของผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่ได้รับการใช้รูปแบบและพยาบาลวิชาชีพผู้นำรูปแบบไปใช้ การศึกษาแบ่งเป็น 3 ขั้นตอน คือ 1) ศึกษาสภาพปัญหาและบทบาทพยาบาลวิชาชีพในการส่งเสริมการดูแลตนเองสำหรับผู้ป่วยมะเร็งเต้านม ด้วยวิธีสนทนา กลุ่มตัวอย่างคือ กลุ่มสหวิชาชีพรวม 12 คน ผู้ป่วยมะเร็งเต้านมและผู้ดูแลหลักรวม 6 คน 2) พัฒนารูปแบบการส่งเสริมการดูแลตนเองสำหรับผู้ป่วยมะเร็งเต้านม โดยใช้หลักฐานเชิงประจักษ์และประเมินคุณภาพแนวทางการส่งเสริมฯ ตามเกณฑ์ AGREE II โดยผู้เชี่ยวชาญ 3 ท่าน ได้คุณภาพโดยรวมร้อยละ 95.1 นำรูปแบบฯ ไปทดลองการใช้กับผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่มีผู้ดูแลหลัก 3 คน ผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่ไม่มีผู้ดูแลหลัก 3 คน พร้อมนำผลมาปรับปรุงรูปแบบฯ 3) ดำเนินการใช้รูปแบบฯ ฉบับที่ปรับปรุงแล้วไปใช้จริง พร้อมประเมินผลการใช้รูปแบบกับกลุ่มตัวอย่างทั้ง 2 กลุ่ม ได้แก่ ผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่มีผู้ดูแลหลัก 15 คน และผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่ไม่มีผู้ดูแลหลัก 15 คน โดยพยาบาลวิชาชีพจำนวน 5 คนปฏิบัติตามรูปแบบฯที่พัฒนาขึ้น เครื่องมือที่ใช้ได้แก่ ข้อคำถามที่ใช้ในการสนทนากลุ่ม รูปแบบฯที่พัฒนาขึ้น, แบบสอบถามการรับรู้พฤติกรรมการพยาบาลในการช่วยเหลือผู้ป่วยของพยาบาลวิชาชีพ แบบประเมินความพึงพอใจของผู้ป่วยมะเร็งเต้านมและพยาบาลวิชาชีพต่อรูปแบบฯ , แบบบันทึกการกลับมารักษาซ้ำ ตรวจสอบความถูกต้องและความตรงของเนื้อหาของเครื่องมือได้ค่าดัชนีความตรงเชิงเนื้อหา เท่ากับ 0.96 วิเคราะห์หาความเชื่อมั่นด้วยค่าคอนบาคอัลฟ่าทั้งฉบับที่ 0.85 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา Chi-squared test และ Wilcoxon signed rank test
ผลการศึกษาพบว่า หลังการใช้รูปแบบฯ สำหรับผู้ป่วยมะเร็งเต้านมทั้งสองกลุ่ม พบว่า 1) คะแนนความพึงพอใจของกลุ่มทั้งสองกลุ่มเพิ่มสูงขึ้นกว่าก่อนการใช้รูปแบบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p >.05) 2) กลุ่มตัวอย่างทั้งสองกลุ่มมีคะแนนความพึงพอใจทั้งก่อนและหลังใช้รูปแบบ ไม่แตกต่างกันทางสถิติ (p >.05) 3) เปรียบเทียบระดับการรับรู้ของผู้ป่วยต่อการปฏิบัติตามรูปแบบฯหลังการใช้รูปแบบฯ ทั้งกลุ่มผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่มีผู้ดูแลหลักและไม่มีผู้ดูแลเพิ่มสูงขึ้นกว่าก่อนการใช้รูปแบบแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p <.05) 4) พยาบาลวิชาชีพมีคะแนนความพึงพอใจหลังการใช้รูปแบบฯ เพิ่มสูงขึ้นกว่าก่อนการใช้รูปแบบแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p <.05) และ 5) กลุ่มตัวอย่างทั้งสองกลุ่มไม่พบผู้ป่วยกลับมารักษาซ้ำโดยไม่ได้วางแผน จึงควรนำรูปแบบการส่งเสริมการดูแลตนเองสำหรับผู้ป่วยมะเร็งเต้านมเพื่อป้องกันการกลับมารักษาซ้ำโดยไม่ได้วางแผนที่พัฒนาขึ้นไปใช้ในการส่งเสริมการดูแลตนเองสำหรับผู้ป่วยมะเร็งเต้านมอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ เพื่อป้องกันการกลับมารักษาซ้ำโดยไม่ได้วางแผน
References
World Health Organization. Incidence breast cancer statistics. The World Bank and the United Nations Population Division. Geneva: World Health Organization. 2018.
Department of Medical Services, Ministry of Public Health. The dangers of breast cancer; 2020. [cited 2022 Jul 5]. Available from: https://www.matichon.co.th/local/quality-life/news_3255332 (In Thai)
Siriraj Piyamaharajkarun Hospital. How to treat breast cancer. 2021. [cited 2022 May 27]. Available from: https://www.siphhospital.com/th/news/article/share/breast-cancer-treatment. (In Thai)
Office for the Elevation of Asian Society. Causes, prevention and treatment of breast cancer.2020. [cited 2022 May 27]. Available from: https://shorturl.asia/FDsbf (In Thai)
National Cancer Institute. Breast cancer statistics. Bangkok. 2018. (In Thai)
National Cancer Institute. Department of Medical Services, Ministry of Public Health Screening Guidelines diagnose and treat breast cancer. 2020. [2022 May 27]. Available from: https://www.nci.go.th/th/cpg_index. html (In Thai)
Nakhon Pathom Hospital. Annual Cancer Treatment Statistics Report between 2019-2021. (In Thai)
Ingsirorat T and Chaochuen S. Risk Factors for Seroma After Breast Cancer Surgery by Modified Radical Mastectomy. Srinakarin Medical Journal. 2021;36(4):382-8. (In Thai)
Orem DE. Nursing: concept of practice. 6th ed. St. Louis: Mosby year book; 2001.
Donabedian A. Evaluating the quality of medical care. Milbank Q. 2005;83(4):691-729.
AGREE Next Steps Consortium (2017). The AGREE II Instrument [Electronic version]. [2022 June 28]. Available from: http://www.agreetrust.org.
Kamsan W, Limsakul M. Roles of Social Workers in Social Support for Breast Cancer Patients. Journal of Social Work. 2021;29(1):31-76. (In Thai)
Hanprasitkham K, Namchantra R, Hanucharoenkul S, Suphametaphon P, Nateethanasombat K, Soiwong P. Advanced Practice Nurses’ Efficiency in Caring for Breast Cancer Patients. Thai Journal of Nursing Council. 2021;27(3):45-62. (In Thai)
Honchai T, Soivong P, Lukkahatai N. Effects of a self management support on self-management behaviors and symptom distress among breast cancer patients receiving chemotherapy. Nursing Journal. 2013;40(1): 14-22. (In Thai)
Puttpitak P, Phantasi P, Klangtampon K. The Development of a Clinical Nursing Practice Guideline for Enhancing the Quality of Life of Caregivers Who Cared for The Terminally Ill Cancer Patient in Community. Journal of Food Health and Bioenvironmental Science. 2011;4(1):39-52. (In Thai)
Soivong P, Sawasdisingha P, Tanvattanagul C, Fukul A, Kaewinta Y, Puangsaijai S, et al. Efficacy of a Self-Management Programme in Breast Cancer Patients.Thai Journal of Nursing Council. 2018;32(4): 5-18. (In Thai)
Paisansujareekul K, Soivong P. Nantachaipan P. Effectiveness of implementing nursing management guidelines for persons with type 2 diabetes mellitus. Nursing Journal 2014;41Suppl:26-34. (In Thai)
Ketvatimart M, Phaonoi B, Peungtim P. Kittithan P. Effectiveness of pulmonary rehabilitation guidelines implementing for patients with chronic obstructive pulmonary disease in Saraburi Hospital. Nursing Journal of the Ministry of Public Health 2012;22(2):49-63. (In Thai)
Loh SY, Packer T, Chinna K, Quek KF. Effectiveness of a patient self-management programme for breast cancer as a chronic illness: A non-randomised controlled clinical trial. J Cancer Surviv 2013;7(3):331-42.
James LR, Jones AP. Organizational climate: A review of theory and research. Psychological bulletin. 1974; 81(12):1096.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.