ผลของโปรแกรมเตรียมความพร้อมก่อนการฝึกภาคปฏิบัติในห้องคลอดโดยการเรียนรู้ผ่านตัวแบบและสาธิตย้อนกลับต่อความเครียดและความพร้อมของนักศึกษาพยาบาล

ผู้แต่ง

  • ลักขณา ไชยนอก สำนักวิชาพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรานารี
  • นรีลักษณ์ สุวรรณโนบล กลุ่มงานบริหาร โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี
  • จินตนา ตาปิน สำนักวิชาพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรานารี และกลุ่มงานการพยาบาล โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี
  • ศรัญญา จุฬารี สำนักวิชาพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี

คำสำคัญ:

โปรแกรมการฝึก , ห้องคลอด , การเรียนรู้, นักศึกษาพยาบาล

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลองแบบกลุ่มเดียววัดก่อนและหลัง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการเตรียมความพร้อมก่อนการฝึกภาคปฏิบัติในห้องคลอดโดยการเรียนรู้ผ่านตัวแบบและสาธิตย้อนกลับตามความคิดเห็นของนักศึกษาพยาบาลและอาจารย์พยาบาล กลุ่มตัวอย่างเลือกแบบเจาะจง คือ นักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 3 ที่ลงทะเบียนเรียนรายวิชา 715310 ปฏิบัติการพยาบาลมารดา-ทารกและการผดุงครรภ์ ซึ่งกำลังจะขึ้นฝึกภาคปฏิบัติในห้องคลอดเป็นครั้งแรก จำนวน 116 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ประกอบด้วย 1) โปรแกรมการเตรียมความพร้อมก่อนการฝึกภาคปฏิบัติในห้องคลอดโดยการสังเกตตัวแบบและสาธิตย้อนกลับ หาคุณภาพโดยให้ผู้เชี่ยวชาญ 3 ท่านตรวจสอบคุณภาพของโปรแกรม 2) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลประกอบด้วย ก. แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป ข. แบบวัดความเครียดต่อการฝึกภาคปฏิบัติในห้องคลอด ค.  แบบประเมินความพร้อมก่อนการฝึกภาคปฏิบัติในห้องคลอด หาคุณภาพของแบบประเมินความพร้อมโดยหาความตรงจากผู้เชี่ยวชาญ 3 ท่าน ก่อนนำมาปรับปรุงแล้วหาความเชื่อมั่นของแบบประเมินความพร้อมโดยหาค่าสัมประสิทธิ์อัลฟาของครอนบาคได้ค่า 0.92 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนา และ paired t-test

               ผลการศึกษาพบว่า ค่าเฉลี่ยคะแนนความเครียดต่อการฝึกภาคปฏิบัติในห้องคลอดก่อนและหลังได้รับโปรแกรมเตรียมความพร้อมก่อนการฝึกภาคปฏิบัติในห้องคลอดโดยการเรียนรู้ผ่านตัวแบบและสาธิตย้อนกลับมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และค่าเฉลี่ยคะแนนความพร้อมก่อนการฝึกภาคปฏิบัติในห้องคลอดก่อนและหลังได้รับโปรแกรมเตรียมความพร้อมก่อนการฝึกภาคปฏิบัติโดยการเรียนรู้ผ่านตัวแบบและสาธิตย้อนกลับมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001  ดังนั้น การจัดกิจกรรมเตรียมความพร้อมที่มีลักษณะใกล้เคียงกับสถานการณ์จริงก่อนฝึกภาคปฏิบัติช่วยส่งเสริมการเรียนรู้และทัศนคติที่ดีต่อวิชาชีพ รวมทั้งด้านทักษะการปฏิบัติการพยาบาลได้ 

References

Division of Nursing, Office of the Permanent Secretary, Ministry of Public Health. Roles and responsibilities of professional nurses. Bangkok: Sua Tawan Publishing Co., Ltd. 2018. (in Thai)

Lertsakornsiri M. The stress, stress management of nursing students during practice in the labor room. Kuakarun Journal of Nursing 2015; 22(1): 7-16. (in Thai)

Sriboonpimsuay W, Srisuthipanporn S, Phanich P. Stress, and stress coping before training in the delivery room of third year nursing students at Boromarajonani College of Nursing, Udon Thani. UMT polu Journal 2016; 13(2): 30-8. (in Thai)

Neamsakul W. The first-time experiences to assist in childbirth of the third-year nursing students. Boromarajonani College of Nursing, Uttaradit Journal 2017; 9(2):1-17. (in Thai)

Jantavat P. Preparation of nursing student for stress relief during practice in delivery room. Kuakarun Journal of Nursing 2018; 25(1): 184-91. (in Thai)

Bandura A. Social foundations of thought and action: A Social Cognitive Theory. Englewood Cliffs, NJ: Prentice Hall; 1986.

Devi B, Pradhan S, Giri D, Lepcha N. Concept of Social cognitive theory and its application in the field of Medical and Nursing education: framework to guide Research. JPSP. 2022; 6(4): 5161-68.

Jungpanich A.Srisailaun O. Effects of Using Daily Care Plan Video Teaching on Clinical Self-Confidence and Satisfaction of Nursing Students, Kuakarun Faculty of Nursing, Navamindradhiraj University. Kuakarun Journal of Nursing 2015; 22(1): 17-34. (in Thai)

Thanaroj S. Simulation-based Learning in Principles and Techniques Course in Nursing Practicum. Boromarajonani College of Nursing, Uttaradit Journal 2017; 9(2): 70-84. (in Thai)

Mahatnirunkul S, Pumpaisalchai W, Tapanya P. The construction of Suanprung stress test for Thai population. Bulletin of Suanprung 1997; 13(3): 1-20. (in Thai)

Rezaei B, Falahati J, Beheshtizadeh R. Stress, stressors and related factors in clinical learning of midwifery students in Iran: a cross sectional study. BMC Med Educ 2020; 18(20):78 https://doi.org/10.1186/s12909-0201970-7

D’emeh WM, Yacoub MI. The visualization of stress in clinical training: A study of nursing students’ perceptions. Nursing Open 2020; 8:290-8. https://doi.org/10.1002/nop2.629

Chaabane S, Chaabna K, Bhagat S, Abraham A, Doraiswamy S, Mamtani R, et al.. Perceived stress, stressors, and coping strategies among nursing students in the Middle East and North Africa: an overview of systematic reviews. Syst Rev 2021; 10(1): 1-7. https://doi.org/10.1186/s13643-021-01691

Phimchaisai P, Wongchantorn N. The factors influencing achievement of practicum in nursing care for mother, infant, and midwifery 1 of nursing students at a Private University in Nakhon Pathom Province. JRTAN 2018; 19(1): 154-63. (in Thai)

Institute of nursing, Suranaree University of Technology. Bachelor of Nursing Science Program (Program revision 2017). 2017.

Dejpitaksirikul S, Boonsin J, Rangdang N. The effect of readiness preparation in the communicating, teaching, and counseling in health on anxiety and communication abilities skills. J Nurs Educ 2021; 14(4): 96-111. (in Thai)

Chubkhuntod P, Elter PT, Gaewgoontol N, Potchana R. Effects of simulation base learning model on knowledge, self-efficacy, and abilities of applying nursing process skills during intrapartum care of nursing students. Journal of Health Science 2020; 29(6): 1062-72. (in Thai)

Aldhafeeri F. Alosaimi D. Perception of satisfaction and self-confidence with high fidelity simulation among nursing students in government universities. Perception, Journal of Education and Practice 2020; 11(11), 137-49. https://doi.org/10.7176/JEP/11-12-16

Wongsaree C, Silirukkananan K. Instructional Design and Achievement Test Construction in 21st Century in Theoretical subjects in the Field of Nursing Education. Journal of Health and Health Management 2019; 5(2): 1-22. (in Thai)

Davies H, Sundin D, Robinson S, Jacob E. Does participation in extended immersive ward-based simulation improve the preparedness of undergraduate bachelor’s degree nursing students to be ready for clinical practice as a registered nurse? An integrative literature review. J Clin Nurs 2021; 30(19-20): 2897-911. https://doi. org/10.1111/jocn.15796

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-02-02