ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการดูแลสุขภาพเด็กปฐมวัยของพ่อแม่หรือผู้ปกครองภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 (COVID-19) ของผู้ปกครองในจังหวัดหนึ่งในภาคใต้

ผู้แต่ง

  • มยุรี ยีปาโล๊ะ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ยะลา
  • เขมพัทธ์ ขจรกิตติยา วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ยะลา
  • ยุซรอ เล๊าะแม วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ยะลา
  • ซูรียะห์ สาและบิง โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพศูนย์อนามัยที่ 12 ยะลา
  • นุศรา ดาวโรจน์ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ยะลา

คำสำคัญ:

ปัจจัย, พฤติกรรมการดูแลสุขภาพ, เด็กปฐมวัย, โรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงบรรยายนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการดูแลสุขภาพเด็กปฐมวัยภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 (COVID-19) ของบิดามารดาและผู้ปกครองในจังหวัดยะลา กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ปกครองที่พาบุตรมารับบริการแผนกคลินิกเด็กสุขภาพดี โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพศูนย์อนามัยที่ 12 ยะลา โดยใช้วิธีสุ่มแบบบังเอิญ จำนวน 116 คน เก็บรวบรวมข้อมูลระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ถึงเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2564  เครื่องมือวิจัยเป็นแบบสอบถาม  ประกอบด้วยข้อมูล 3 ส่วน คือ 1) ข้อมูลทั่วไป 2) ปัจจัยในการดูแลสุขภาพเด็กปฐมวัย และ 3) พฤติกรรมการสร้างเสริมสุขภาพเด็กปฐมวัยของผู้ปกครอง ตรวจสอบความเที่ยงของเครื่องมือโดยวิธีหาค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาครอนบาค (Cronbach Alpha Coefficient) ได้ค่าความเที่ยงของเครื่องมือปัจจัยในการดูแลสุขภาพเด็กปฐมวัย และ พฤติกรรมการสร้างเสริมสุขภาพเด็กปฐมวัยของผู้ปกครอง เท่ากับ 0.71 และ 0.73 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การแจกแจงความถี่ ร้อยละ  ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ สถิติการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ

            ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีพฤติกรรมการดูแลสุขภาพเด็กปฐมวัย อยู่ในระดับมาก (M = 3.24, S.D. = 0.82) และมีคะแนนเฉลี่ยด้านปัจจัยนำ  ปัจจัยเอื้อ  ปัจจัยเสริม  และ ความวิตกกังวล อยู่ในระดับมาก  โดยด้านปัจจัยเอื้อ มีคะแนนเฉลี่ยสูงสูด  รองลงมาคือ ด้านปัจจัยเสริม (M  = 4.08, S.D. = 0.44 และ (M = 3.95, S.D. = 0.53 ตามลำดับ) โดยทัศนคติเป็นปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการดูแลสุขภาพเด็กปฐมวัยภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 (COVID-19) ของผู้ปกครองในจังหวัดยะลา (R = .261) ดังนั้นควรส่งเสริมให้ผู้ปกครองมีทัศนคติที่ดีซึ่งจะส่งผลให้ผู้ปกครองมีพฤติกรรมการดูแลสุขภาพเด็กปฐมวัยที่ดีต่อไป

References

Chumai T. Early childhood growth and development. Hua Hin Sook Jai Klai Kangwon Journal. 2016; 1 (2): 18-33. (in Thai)

Department of Health. Study report factors affecting development Thai early childhood the 6th time, Thailand; 2017. (in Thai)

Department of Disease Control. Coronavirus disease 2019 situation report [Internet]. 2019 [cited 2019 Dec 15] Available from: https://ddc. moph.go.th/viralpneumonia/file/situation/situation-no668-011164.pdf. (in Thai)

Yala Provincial Statistical Office. Analysis of the epidemic situation of COVID-19, Yala Province, 2021. Yala : O.K. copy center and printing ; 2021. (in Thai)

UNICEF. Survey on the situation of children and women in Thailand 2017 [Internet]. 2017 [cited 2018 Sep 04]. Available from : http://service.nso. go.th/nso/web/survey/surpop2-1-12.html. (in Thai)

Mo-suwan L, Puwanant M, Phosuwattanakul J, Suthutvoravut U, Jongpipatwanich S, Chongviriyaphan N, et al. Clinical Practice Guidelines for the Pediatric Inpatient Treatment of Severe Acute Malnutrition 2019. Thai JPEN. 2020; 28(1) : 10-39. (in Thai)

Ua-Kit N, Pensri L. Utilization of the PRECEDE MODEL in health promotion. Thai Red Cross Nursing Journal. 2019; 12(1): 38-48. (in Thai)

Nualsithong N, Phuchongchai T, Thongsawang K. Parental nutrition promotion for preschool children in tambon nafai child development center, Mueang Distric, Chaiyaphum Province. Regional Health Promotion Center 9. 2020.; 14(35): 483-494. (in Thai)

Thisara P, Ponmark J, Seekhao P, Sinlapawit¬thayathon B. Predictive factors of parental behav-iors on promoting early childhood development in Phayao province. Journal of Nursing and Health Care. 2017; 35(2): 169-176. (in Thai)

Kaewmanee S, Thongrit C, Langji M. The development of an assessment and promotion model for early childhood development with participation from people in the community in the Covid-19 situation in the responsible area of Jebilang health promotion hospital, mueang district, Satun province. Journal of Council of Community Public. 2021; 3(2):72-84. (in Thai)

Phangsanga D, Khayankij S. Parents’ Roles in promoting preschooler’s health care during the spread of COVID-19 in Watamarintraram school. An Online Journal of Education (Internet). 2021; 16(2). (in Thai)

Thepha T. Knowledge, attitude, and perception of 6-month exclusive breastfeeding supporting behaviors of husband in the northeast region: A study in tertiary hospitals. Journal of Nursing Science & Health. 2021; 44(3):17-33. (in Thai)

Yosit U. Behaviors and factors associated with oral health care by parents of preschool children in child care centers, municipal Tha pha district, Lampang province. Thammasat university; 2015. (in Thai)

Lohmae U, Yeepaloh M, Kajornkittiya K. Factors predicting preventive behaviors of COVID-19 among guardians of preschool aged children. Journal of Prachomklao College of Nursing, Phetchaburi Province. 2022; 5(1):12-25. (in Thai)

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-15