ปัจจัยที่มีผลต่อภาวะเสี่ยงน้ำหนักตัวต่ำกว่าเกณฑ์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาในโรงเรียนอนุบาลเทศบาลตำบลบางพลี อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ

ผู้แต่ง

  • อโนทัย ผลิตนนท์เกียรติ คณะสาธารณสุขศาสตร์และสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
  • อัจฉรา มิตรเมือง คณะสาธารณสุขศาสตร์และสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
  • อรพิณ สว่างแจ้ง คณะสาธารณสุขศาสตร์และสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
  • ธาราวดี สิริสุขลาโภ คณะสาธารณสุขศาสตร์และสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
  • ภัทรวดี สุวรรณ คณะสาธารณสุขศาสตร์และสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
  • พันทิวา เทียนขาว คณะสาธารณสุขศาสตร์และสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
  • สุจิตรา ป้านภูมิ คณะสาธารณสุขศาสตร์และสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ

คำสำคัญ:

ภาวะเสี่ยง, ผู้บริหารทางการพยาบาลระดับต้น

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาภาวะเสี่ยงน้ำหนักตัวต่ำกว่าเกณฑ์ และ 2) ศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อภาวะเสี่ยงน้ำหนักตัวต่ำกว่าเกณฑ์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาในโรงเรียนอนุบาลเทศบาลตำบลบางพลี อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ โดยศึกษาจากผู้ปกครองของเด็กอายุ 6-12 ปี ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-6 ในโรงเรียนอนุบาลเทศบาลตำบลบางพลี อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ  จำนวน 121 คน ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบมีระบบ (Systematic random sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถามเรื่องปัจจัยที่มีผลต่อภาวะเสี่ยงน้ำหนักตัวต่ำกว่าเกณฑ์จากแนวคิดของกรมอนามัยที่ผ่านการตรวจสอบความตรงของเนื้อหาจากผู้เชี่ยวชาญจำนวน 3 ท่าน ได้ค่า Index of Item Objective Congruence (IOC) ทุกข้ออยู่ระหว่าง 0.50 – 1.00 มีค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามทั้งฉบับ เท่ากับ 0.71 วิเคราะห์ข้อมูลสถิติพรรณนา โดยใช้การแจกแจงความถี่ ร้อยละ  ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์ความสัมพันธ์ของปัจจัยและภาวะเสี่ยงน้ำหนักตัวต่ำกว่าเกณฑ์ด้วยสถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์สเปียร์แมน (Spearman Rank Correlation) และใช้สถิติการถดถอยพหุคูณ (Multiple Linear Regression) เพื่อทำนายปัจจัยที่ส่งผลต่อภาวะเสี่ยงน้ำหนักตัวต่ำกว่าเกณฑ์

ผลการวิจัย พบว่าภาวะเสี่ยงน้ำหนักตัวต่ำกว่าเกณฑ์ มีระดับภาวะเสี่ยงในระดับปานกลาง ( = 3.08, S.D. = 0.85)และการจัดบริการอาหารในโรงเรียน มีความสัมพันธ์กับภาวะเสี่ยงน้ำหนักตัวต่ำกว่าเกณฑ์อย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value > .05)  ปัจจัยครอบครัวและสื่อโฆษณา ส่งผลต่อภาวะเสี่ยงน้ำหนักตัวต่ำกว่าเกณฑ์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (b = 0.536 และ 0.552) ตามลำดับ

References

World Health Organization and United Nations Children’s Fund. Malnutrition-Obesity Challenges Nutrition of Southeast Asian countries. [Internet]. 2016 [cited 2019 September 21]. Available from: https://www.voathai.com/a/asia-child-nutrition/ 3259066.html

Office of the Basic Education Commission (OBEC) survey found that Thai children are more obesity than skinny. [Internet]. 2016 [cited 2019 September 23]. Available from: https://www.thaihealth.or.th/ Content/0-OBEC survey found that Thai children %20 fat%20 more than skinny.html

Nithitantiwat P, Udomsap W. Impact and solutions to Food consumption behavior of Thai adolescents Journal of Phrapokklao Nursing College, Chanthaburi 2017; 28(1): 123-4. (in Thai)

Ministry of Public Health. A complete health master plan, Samut Prakan Province, 10 years (2016- 2025). [Internet]. 2016 [cited 2019 September 10]. Available from: http://www.spko.moph.go.th/wp-content/ uploads/2013/10/Masterplan-10-Year.pdf (in Thai)

Chaiphet Y. Provincial Government Inspectorate Report Form. [Internet]. 2018 [cited 2019 September 9]. Available from: http://bie.moph.go.th/e-insreport/ file_report/2018-07-05-06-30-22-11.doc (in Thai)

Duangngern P. Data underweight students of primary school in Bang Phli Subdistrict Municipality school, Bang phli District, Samut prakan province. [Interview 3 September 2019].

Office of the Permanent Secretary, Ministry of Public Health. (2019). Department of Health accelerates skill development weight manager school-age children Helping tall, well-proportioned children. [Internet]. 2016 [cited 2019 September 10]. Available from: https://pr.moph.go.th/?url=pr/ detail/2/02/121601

Krejcie RV, Morgan DW. Determining sample size for research activities. Educ Psychol Meas, 1970; 30(3): 607-10.

Kejonjit P, Chutiman N, Kumpol B. Factors associated with low nutritional status of children. preschool in Kuchinarai District Kalasin Province. Journal of Public Health Research, Khon Kaen University 2013; 6(3): 168-75. (in Thai)

Sirinam W. Factors Affecting Nutritional Status of Children in Child Development Centers Under the Ban Klang Subdistrict Municipality San Pa Tong District Chiang Mai Province [thesis]. Chiang Mai: Chiang Mai Rajabhat University; 2018. (in Thai).

Parimanon J, Chaimail P, Woradet S. Nutrition status and related factors. on nutritional status in children under 5 years of age: a review of the literature. Journal Network of Colleges of Nursing and Southern Public Health 2018; 5(1): 329-42. (in Thai).

Chomphuja S. Factors Affecting Food Consumption of 3rd Grade Students with Overnutrition [Independent research thesis]. Chiang Mai: Chiang Mai University; 2009. (in Thai)

Thadsri P. Factors related to nutritional status in preschool children. in the district Pathum Thani Province Journal of Nursing and Health Care Pathum Thani 2014; 32(1): 69-77. (in Thai).

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-10-01