การพัฒนาแนวปฏิบัติการจัดการสุขภาพผู้สูงอายุติดบ้านและติดเตียงโดยการมีส่วนร่วมของชุมชนโนนประดู่ จังหวัดนครราชสีมา

ผู้แต่ง

  • พรปวีณ์ ชื่นใจเรือง คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ
  • สมชาย ชัยจันทร์ สำนักวิชาพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี
  • ธณกร ปัญญาใสโสภณ คณะสหเวชศาสตร์ วิทยาลัยนครราชสีมา

คำสำคัญ:

แนวทางปฏิบัติการจัดการสุขภาพ ผู้สูงอายุติดบ้านและติดเตียง การมีส่วนร่วมของชุมชน

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม เรื่องนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาแนวปฏิบัติการจัดการสุขภาพผู้สูงอายุติดบ้านและติดเตียงโดยการมีส่วนร่วมของชุมชนโนนประดู่ จังหวัดนครราชสีมา ดำเนินการวิจัยเป็น 2 ระยะ คือ 1) การวิเคราะห์สถานการณ์ และ 2) การพัฒนาแนวปฏิบัติการจัดการสุขภาพผู้สูงอายุติดบ้านติดเตียง  ผู้ให้ข้อมูลและผู้ร่วมวิจัย ประกอบด้วย 3 กลุ่ม คือ บุคลากรสุขภาพภาครัฐ  ผู้ดูแลสุขภาพภาคประชาชน และผู้สูงอายุติดบ้านติดเตียงและครอบครัว เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสนทนากลุ่ม สัมภาษณ์เชิงลึก และการสังเกตแบบมีส่วนร่วม วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา

     การวิเคราะห์สถานการณ์ พบ 3 ประเด็นที่สำคัญ ดังนี้ 1). แนวปฏิบัติในการจัดการสุขภาพเป็นแบบแยกส่วนและไม่สอดรับกับวิถีชีวิตผู้สูงอายุ  2). ไม่มีเกณฑ์ที่ชัดเจนในการคัดแยกระดับการเจ็บป่วยฉุกเฉินของผู้สูงอายุที่เจ็บป่วยส่งผลให้ผู้สูงอายุที่เจ็บป่วยฉุกเฉินไม่ได้รับการจัดการดูแลสุขภาพที่เป็นไปตามมาตรฐาน และ3). การดูแลขาดความต่อเนื่องและเป็นองค์รวมเนื่องจากฐานข้อมูลขาดการบูรณาการที่เชื่อมโยงการนำใช้ข้อมูลของหน่วยงานที่เป็นเครือข่ายการดูแล ส่วนแนวปฏิบัติการจัดการสุขภาพที่พัฒนาครั้งนี้ ประกอบด้วย 1) การจัดการสุขภาพแบบมีส่วนร่วมและเป็นองค์รวม 2) การจัดการสุขภาพในภาวะฉุกเฉิน และ 3) การพัฒนาระบบบริการดูแลสุขภาพที่ต่อเนื่องและบูรณาการ ข้อค้นพบนี้ชี้ให้เห็นว่า การนำแนวปฏิบัติการจัดการสุขภาพผู้สูงอายุติดบ้านและติดเตียงไปใช้โดยบุคลากรทีมสุขภาพและทีมเครือข่ายการดูแลสุขภาพในชุมชน สามารถช่วยให้ผู้สูงอายุติดบ้านติดเตียงได้รับการจัดการสุขภาพอย่างเป็นองค์รวมและสอดคล้องกับวิถีการเจ็บป่วยแต่ละระยะอย่างต่อเนื่องและมีคุณภาพ

References

Foundation of Thai Gerontology Research and Development institute (TGRI). Situation of the Thai older persons 2021. Nakorn Pathom: Mahidol University, Institute for Population and Social Research (IPSR); 2022. (in Thai).

Ministry of Public Health. Guidelines for driving health systems to support the elderly society Ministry of Health and an integrated plan to drive the health system to support the aging society Ministry of Health 2020-2022. [Internet]. 2020. [cited 2022 Jun 1]. Available from: https://eh.anamai.moph.go.th/ web-upload/10x2f8665bc5c6742a30312c81435ca2 84e/202102/m_news/33518/201584/file_download/ 261e3453488af6620bd7b671e1e39c46.pdf (in Thai).

National Statistical Office n.d. The 2021 survey of the older persons in Thailand. [Internet]. Bangkok: national statistical office; 2022. [cited 2022 Jun 1]. Available from: http://www.nso.go.th/sites/2014en/ Survey/social/domographic/OlderPersons/2021/ fullreport_64.pdf (in Thai).

Chaichan S. Local communities with elderly potential development in community. Journal of Health Research and Development Nakhon Ratchasima Public Health Provincial Office 2022;8(1): 5-17. (in Thai).

Chaichan S. Community way: the construction area of elderly value identity. The Journal of Boromarjonani College of Nursing Suphanburi 2019; 2(2): 12-21. (in Thai).

Kemmis S, Mctaggart R, Nixon R. The action research planner doing critical participatory action research. Singapore: Springer Science & Business Media; 2014.

Hongyim S. Buddhist way of promoting holistic health and sustainability. J Buddh Stud Rev 2021; 1(2): 27-41.

Speziale, Helen S, Helen JS, Carpenter DR. Qualitative research in nursing: Advancing the humanistic imperative. Philadelphia: J.B. Lippincott; 2011.

Spelziale HJ, Dona RC. Qualitative in nursing: Advancing the humanistic imperative. 5th ed Philadelphia: Lippincott Williams and Winkin; 2011.

Chirawatkul S. Qualitative research in nursing. Khon Kaen: Siripun offset Printing; 2012. (in Thai).

Phalasuek R, Thanomchayathawatch B. A family model for older people cares. The Southern College Network Journal of Nursing and Public Health 2019;4(3): 135-50. (in Thai).

Thachart S. Elderly care, buddhist way: case study of elderly home watpanongsaeng Udon Thani province. Mahasarakham: Departmentof Culturescience Mahasarakham University; 2008. (in Thai).

Nakkul N. The development of a care model for home-bound and bed-bound chronically ill patients in Suratthani municipality. Nursing Journal of the Ministry of Public Health 2018; 28(3): 36-50. (in Thai).

Pattarapornpairoj W, Chantamolee S, Suwan P, Hoonnirun P. Development of a buddhist health care model for the elderly in Ranong province. Journal of The Royal Thai Army Nurses 2020; 21(1): 157- 66. (in Thai).

Kimsuwanwong P. Holistic health care of the elderly according to the buddhist concept b.e. Khon Kaen: Mahachulalongkornrajavidyalaya University; 2013. (in Thai).

Kunbunya P. The ways for copying with dying and death preparation model of the elderly in buddhist perspective. journal of Social Science and Buddhistic Anthropology 2020; 5(10): 196-212. (in Thai).

Kanyatip S. The buddhist doctrine and elderly health promotion: a case study in the buddhist meditation center. [dissertation Master of Public Health Promotion Management]. Pathum Thani: Thammasat University; 2017. (in Thai).

Srivarathan A, Jensen AN, Kristiansen M. Community-based interventions to enhance healthy aging in disadvantaged areas: perceptions of older adults and health care professionals. BMC Health Serv Res 2019;19(7):1-9.

Punyathorn K, Worrawitkrangkun R, Pinyo P. The elderly care in rural community: a study of village in Nong Phai district, Udon Thani Province. Research and Development Health System Journal 2016; 9(3): 1-9.(in Thai).

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-09-23