ความสัมพันธ์ระหว่างความรอบรู้ด้านสุขภาพกับคุณภาพชีวิตของนักศึกษาสาธารณสุขชุมชน สถาบันอุดมศึกษาในภาคเหนือ

ผู้แต่ง

  • ชัชชฎาภร พิศมร คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง
  • อลงกต ประสานศรี คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
  • เอกสิทธิ์ ไชยปิน สาขาวิชาสาธารณสุขชุมชน คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง
  • ฉัตรสุดา มาทา สาขาวิชาสาธารณสุขชุมชน คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง

คำสำคัญ:

ความรอบรู้ด้านสุขภาพ , คุณภาพชีวิต , นักศึกษาสาธารณสุขชุมชน

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงพรรณนานี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ความรอบรู้ด้านสุขภาพ และคุณภาพชีวิตของนักศึกษาสาธารณสุขชุมชน สถาบันอุดมศึกษาในภาคเหนือ และ 2) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตของนักศึกษาสาธารณสุขชุมชน สถาบันอุดมศึกษาในภาคเหนือ กลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษาระดับปริญญาตรี สาขาสาธารณสุขชุมชน สถาบันอุดมศึกษาในภาคเหนือ จำนวน 99 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) ข้อมูลทั่วไป 2) ความรอบรู้ด้านสุขภาพ มีค่าความเชื่อมั่น (Cronbach's alpha) เท่ากับ 0.96 3) คุณภาพชีวิต มีค่าความเชื่อมั่น (Cronbach's alpha) เท่ากับ 0.84 ข้อมูลทั่วไปของกลุ่มตัวอย่าง คะแนนความรอบรู้ด้านสุขภาพ และคุณภาพชีวิต วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา และวิเคราะห์ความสัมพันธ์ด้วยสถิติทดสอบการถดถอยโลจิสติกแบบไบนารี

ผลการศึกษา พบว่า ในภาพรวมกลุ่มตัวอย่างมีคะแนนความรอบรู้ด้านสุขภาพ ในระดับพอใช้ได้ ร้อยละ 57.57 และคะแนนคุณภาพชีวิตในระดับดี ร้อยละ 63.64  ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยความรอบรู้ด้านสุขภาพกับคุณภาพชีวิตพบว่า นักศึกษาเพศหญิงมีโอกาสมีคุณภาพชีวิตดีกว่าเป็น 1.84 เท่า ของนักศึกษาเพศชาย อย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ p-value = 0.429 ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตของนักศึกษา มี 3 ปัจจัย ได้แก่ ความเพียงพอของค่าใช้จ่าย ด้านการเข้าถึงข้อมูลและบริการสุขภาพ และด้านการตรวจสอบข้อมูลและบริการสุขภาพ ซึ่งจากผลการศึกษาพบว่า นักศึกษาที่มีความเพียงพอของค่าใช้จ่าย มีโอกาสมีคุณภาพชีวิตดีกว่าเป็น 5.15 เท่า ของนักศึกษาที่ค่าใช้จ่ายไม่เพียงพอ นักศึกษาที่มีความรอบรู้ด้านสุขภาพด้านการเข้าถึงข้อมูลและบริการสุขภาพระดับดีมาก มีโอกาสมีคุณภาพชีวิตดีกว่าเป็น 3.22 เท่า ของนักศึกษาที่มีความรอบรู้ด้านสุขภาพด้านการเข้าถึงข้อมูลและบริการสุขภาพระดับไม่ดีพอถึงพอใช้ได้ นักศึกษาที่มีความรอบรู้ด้านสุขภาพด้านการตรวจสอบข้อมูลและบริการสุขภาพระดับดีมาก มีโอกาสมีคุณภาพชีวิตดีกว่าเป็น 5.18 เท่า ของนักศึกษาที่มีความรอบรู้ด้านสุขภาพด้านการตรวจสอบข้อมูลและบริการสุขภาพระดับไม่ดีพอถึงพอใช้ได้ ผลการศึกษาครั้งนี้แสดงให้เห็นว่าควรส่งเสริมให้นักศึกษามีความตระหนักเรื่องสุขภาพ เพื่อให้นักศึกษามีการดำรงชีวิตที่เหมาะสม มีสุขภาพดี และคุณภาพชีวิตที่ดีต่อไป  

References

Tobacco Control Research and Knowledge Management Center. Mahidol University. Report on the situation of tobacco consumption in Thailand, Bangkok: Sinthaweekit Printing Limited Partnership; 2019.

National Statistical office. The smoking and drinking behaviors survey 2017, Bangkok: Pimdeekarnpim Co., Ltd; 2017.

National Statistical office. Strategy and Planning Division. Public Health Statistics A.D.; 2019.

Office of the National Economic and Social Development Council. The Twelfth National Economic and Social Development Plan (2017- 2021); 2016.

World Health Organization. Health promotion glossary. Division of Health Promotion, Education and Communications, Health Education and Health Promotion Unit, WHO Geneva. 1998: 1-10.

Kaeodumkoeng K. Health literacy access, understand and application, Bangkok: Amarin Printing and Publishing Public Company Limited; 2018.

Choeisuwan V, Tansantawee A et al. Selected Factors Related to Health Literacy of Nursing Students in Royal Thai Navy College of Nursing. Royal Thai Navy Medical Journal 2018; 45(2): 250-66.

Health Education Division. Department of Health Service Support together with the Behavioral Science Research Institute. Creating and Developing of Thailand Health Literacy Scales; 2014.

Choeisuwan V, Tansantawee A et al. Project to create a package of mental health surveys in the area. WHOQOL - BREF-THAI. Suanprung Hospi¬tal Chiang Mai Province; 2002.

Nutbeam D. Health literacy as a public health goal: a challenge for contemporary health education and communication strategies into health 21st century. Health Promotion International 2000; 15(3): 259-67.

The WHO group. The development of the World Health Organization Quality of Life assessment instrument. In J.Orley, and W.Kuyken (eds.) Quality of Life Assessment : International perspectives (pp.41-75), New York : Springer-Verlag; 1994.

Kanjam S et al. Health literacy and Health behaviors among students at Uttaradit Rajabhat University. Academic Journal of Science and Applied Science 2019; (1): 33-43.

Kanjam S et al. Quality of Life of Students in Sirindhorn College of Public Health Suphanburi. Ubru Journal for Public Health Research 2020; 9(1): 56-64.

Wagoner S, Ponatong C, Yongsorn C. Factors Affecting the Quality of Life of Rajabhat University Students In Bangkok. Journal of education : Faculty of Education : Srinakharinwirot University 2019; 20(2): 54-67.

Maslow, A.H. Motivation and Personality. New York : Harper and Brothers; 1954.

Lorloehakarn S. & Narintharuksa P. Health Literacy Health Behavior and Quality of Life of Phuket Village Health Volunteers. Journal of Health Science 2021; 30(3): 414-22.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-06-29