แบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพ ผลกระทบสุขภาพ และพฤติกรรมการป้องกันโรคโควิด-19 ของประชาชนจังหวัดนครราชสีมา
คำสำคัญ:
แบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพ, ผลกระทบสุขภาพ, พฤติกรรมการป้องกันโรคโควิด-19บทคัดย่อ
การวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed Methods) เพื่อศึกษาแบบแผนความเชื่อ ผลกระทบสุขภาพ และพฤติกรรมการป้องกันโรคโควิด-19 ของประชาชนจังหวัดนครราชสีมา กลุ่มตัวอย่างเชิงปริมาณ คือ ประชาชนจังหวัดนครราชสีมา 400 คน การสุ่มแบบชั้นภูมิ เครื่องมือวิจัย ได้แก่ 1) แบบสอบถามแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพ 4 ด้าน ได้แก่ การรับรู้โอกาสเสี่ยงของการเกิดโรคโควิด-19 การรับรู้ความรุนแรงของโรคโควิด-19 การรับรู้ประโยชน์ของการป้องกันโรคโควิด-19 และ การรับรู้อุปสรรคของการป้องกันโรคโควิด-19 2) แบบสอบถามผลกระทบสุขภาพ และ 3) พฤติกรรมป้องกันโรคโควิด3-19 ตรวจสอบความเชื่อมั่นแบบสอบด้วยสัมประสิทธ์แอลฟ่าของครอนบาค มีค่าระหว่าง 0.68-0.87 ผู้ให้ข้อมูลเชิงคุณภาพ คือ ประชาชนที่ผ่านการตอบแบบสอบถามจำนวน 10 คนในการสนทนากลุ่ม และการสัมภาษณ์เชิงลึก 12 คน สุ่มแบบลูกโซ่ เครื่องมือการวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์จากแนวคำถามเชิงปริมาณ วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา
ผลการวิจัยเชิงปริมาณ พบว่า กลุ่มตัวอย่าง มีการรับรู้โอกาสเสี่ยง การรับรู้ความรุนแรง การรับรู้ประโยชน์ การรับรู้อุปสรรค ในระดับปานกลาง ผลกระทบด้านสุขภาพระดับมาก-มากที่สุด และมีพฤติกรรมการป้องกันโรคระดับดี ผลการวิจัยเชิงคุณภาพ พบว่า ประชาชนรับรู้อุปสรรคการเพิ่มค่าใช้จ่าย หน้ากากอนามัย เจลแอลกอฮอล์มีคุณภาพต่ำและไม่เพียงพอ การถูกโกงจากผู้ขาย ด้านจิตใจและเศรษฐกิจ พบว่า มีความวิตกกังวล ความทุกข์ เครียด หดหู่ใจ มีผลกระทบต่อรายรับ-รายจ่าย การถูกเลิกจ้าง ปิดกิจการ ขาดความตระหนักรู้และพฤติกรรมป้องกันโรคตามมาตรการ
สรุปและข้อเสนอแนะ: การวิจัย พบว่า การรับรู้ประโยชน์ การรับรู้อุปสรรค ระดับปานกลาง ผลกระทบระดับมาก-มากที่สุด ดังนั้น หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรกำหนดนโยบายในการพัฒนาคุณภาพชีวิตและการสร้างเสริมสุขภาพของประชาชน
References
Dong E, Du H, Gardner L. An interactive web-based dashboard to track COVID-19 in real time. The Lancet lnfectious Diseases 2020; 20(5): 533-4.
Department of Disease Control Ministry of Health. Coronavirus disease situation report 2019. Emergency Operations Center 2021.
International Health Policy Development Agency (IHPP), Division of Non-Communicable Diseases Department of Disease Control. The economic and social impact of the global COVID-19 outbreak and in Thailand. [Internet]. 2021 [cited 2022 April 24]. Available from: https://ddc.moph.go.th/uploads/ publish/1177420210915075055.pdf.
Becker MH, Maiman LA. The health Belief Model: Origins and Correlation in Psychological Theory. Health Education Monography 1975; 2: 336-85.
Cameron C, Ghosh S, Eaton S. Facilitating communities in designing and using their own community health impact assessment tool. Environ Impact Asses Rev 2011; 31: 433-7.
World Health Organization. Health impact assessment: main concepts and suggested approach European Centre for Health Policy, Copenhagen: WHO Regional Office for Europe 1999.
Nakhon Ratchasima Provincial Public Health Office. Situation of the COVID-19 epidemic. [Internet]. 2021 [cited 2022 April 22]. Available from: https:// www.prachachat.net/local-economy/news-869406.
Wongratana C. Techniques for using statistics for research. Bangkok : Amorn Printing., 2017.
Choocherdrattana S, Srikamsuk J, Pacam C, Tep-udom T, Phuangkham P, Meunkoddee P, Singwee M, Monthon S, Suwannakeeree W. Relationship between Health Belief and Prevention Behaviors of COVID-19 among Security Guards at Naresuan University. JNHS 2021; 15(2): 78-89.
Khantichitr P, Promwong W, Keawmanee C, Charenukul A. Health belief model in the preven¬tion of corona virus disease 2019 (COVID-19) among people in Ubon Ratchathani province. Journal of Health Science Boromarajonani College of Nursing 2021; 5(2): 39-53.
Wong LP, Alias H, Wong PF, Lee HY, AbuBakar S. The use of the health belief model to assess predictors of intent to receive the COVID-19 vaccine and willingness to pay. Human vaccines & immunotherapeutic 2010; 16: 2204-14.
Rosenstock IM, Strecher VJ, Becker MH. Social learning theory and the health belief model. HEQ 1988; 15: 175-83.
Maiman LA, Becker MH. The Health Belief Model: Origins and correlates in psychological theory. HEM 1974; 2(4): 336-53.
Faisol C, Muflih Y, Cua N, Supreecha K. Information exposure, perceived susceptibility and preventive behaviors relating to coronavirus disease 2019 among people living in Nakhon Si Thammarat province. JHEPA 2020; 35(2), 49-58.
Mantaew, Prathum B, Kaew-on S, Chamnian K. Effects and adjustment of people during COVID 19 pandemic in Nakhon Si Thammarat province. JMCUN 2021; 8(11), 327-40.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.