ความชุกของภาวะซึมเศร้าหลังคลอดในสถานการณ์ระบาดไวรัสโคโรน่า 19

ผู้แต่ง

  • สร้อย อนุสรณ์ธีรกุล คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชธานี วิทยาเขตอุดรธานี
  • อัญชลี อ้วนแก้ว คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชธานี วิทยาเขตอุดรธานี
  • สุภาพักตร์ หาญกล้า คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชธานี วิทยาเขตอุดรธานี
  • กิ่งแก้ว สิทธิ โรงพยาบาลพังโคน จังหวัดสกลนคร
  • ธรรมวรรณ์ บูรณสรรค์ โรงพยาบาลหนองหาน จังหวัดอุดรธานี
  • วรนุช ไชยวาน คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชธานี วิทยาเขตอุดรธานี

คำสำคัญ:

ภาวะซึมเศร้าหลังคลอด ไวรัสโคโรน่า 19 โควิด-19 มารดาหลังคลอด

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงพรรณนานี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความชุกของภาวะซึมเศร้าหลังคลอดด้วยแบบประเมิน Postpartum Depression Assessment Scale (EPDs) และแบบประเมิน Patient Health Questionnaire (PHQ-9/ 9Q) และศึกษาความสอดคล้องของแบบประเมิน EPDs และ 9Q ในมารดาหลังคลอด 48-72 ชั่วโมง จำนวน 129 คน ในโรงพยาบาลพังโคน และโรงพยาบาลหนองหาน  ในเดือนพฤษภาคม ถึงพฤศจิกายน 2564 โดยให้มารดาตอบแบบประเมินภาวะซึมเศร้าหลังคลอด EPDs และ 9Q ด้วยตนเอง วิเคราะห์ข้อมูลด้วย ความถี่ ร้อยละ และใช้สถิติ Kappa test ผลการวิจัยพบว่าความชุกของภาวะซึมเศร้าหลังคลอดที่ประเมินด้วยแบบประเมิน EPDs และ 9Q มีอัตราร้อยละ 8.5 เท่ากัน (11 คน) ผลการประเมินของแบบประเมินทั้ง 2 ชนิดรวมกัน พบความชุกของภาวะซึมเศร้าหลังคลอดเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 15.5 (20 คน) แบบประเมินทั้ง 2 ชนิดประเมินภาวะซึมเศร้าหลังคลอดได้ตรงกัน 2 คน และเมื่อทดสอบความสอดคล้องของแบบประเมินทั้ง 2 ชนิด  พบว่าไม่มีความสอดคล้องกันทางสถิติที่ระดับนัยสำคัญ .05 (kappa = .106, p = .231)  สรุปว่า แบบประเมิน EPDs และ 9Q สามารถประเมินภาวะซึมเศร้าหลังคลอดใน 48-72 ชั่วโมงหลังคลอดได้ แบบประเมินทั้ง 2 ชนิดประเมินภาวะซึมเศร้าหลังคลอดได้ไม่สอดคล้องกัน การเลือกใช้แบบประเมินชนิดใดจึงขึ้นอยู่กับผู้ประเมินที่ต้องการบ่งบอกระดับภาวะซึมเศร้าหลังคลอดด้วยหรือไม่

References

Sriarporn P, Suntornlimsiri N, Juntratit K, Deeluea J, Nunchai J, Khiaokham P. Factors of related to postpartum depression among first time mother and father. J Nurs 2015; 42(3): 37-50.

Kumbor M, Sriarporn P, Deeluea J. Effect of the postpartum depression prevention program on postpartum among adolescent mothers. Journal of Nursing and Health Care 2020; 38(1): 147-56.

Nivin T. Understanding postpartum depression-the basics. [Internet]. 2015. [cited 2021 March 31]. Available from: http://www.webmd.com/depression/ postpartumdepression/understanding-postpartum-depression-basics

Chaopanichwet W. Prevalence and factors associated with postpartum depression in Central Hospital. Journal of Charoenkrung Pracharak Hospital 2012; 8(1): 12-21.

Chulapoon T, Yikian C. A study of depression of postpartum mothers. Journal of King Prajadhipok’s College of Nursing, Chanthaburi 2015; 26(1): 64-74.

Sukkasem N. Factors predicting postpartum depression. Journal of Nursing and Health Care 2016; 34(1): 61-9.

Nuanchawee W, Kasiphon T, Nateethanasasombat K. Prevalence of postpartum depression and predicting Factors for postpartum depression in postpartum pothers. HCU Journal 2018; 21(42): 65-77.

Marcus SM. Depression during pregnancy: rates, risks and consequences. Can J Clin Parmacol 2009; 16(1): e15-22.

Dashraath P, Wong JLJ, Lim MXK, Li LM, Li S, Biswas A. Coronavirus disease 2019 (COVID-19) pandemic and pregnancy. AJOG 2020; 222(6): 521-31.

Kittichotiwat W. Prevalence and factors associated with postpartum depression at Kaeng Khoi Hospital. Saraburi Province. Journal of the Department of Medical Services 2018; 43(5): 125-30.

Phumek S, Kovavisarat E, Kuanphakul M, Sangpitak W. Factors predicting depression of postpartum mothers who come to Rajavithi Hospital. J Nurs Healthc Res 2019; 35 (3): 158-70.

Department of Health, Ministry of Public Health. Maternal and Child Health Diary. Nonthaburi: Department of Health, Ministry of Public Health; 2020.

Cox JL, Holden JM, Sagovsky R. Detection of postnatal depression: development of the 10-item Edinburgh Postnatal Depression Scale. Br J Psychiatry 1987; 150: 782-6.

Watcharaporn K, Pitanupong J, Samangsri N. Evaluation of the questionnaire, The Edinburgh Postnatal Depression Scale, Thai version. J Ment Health Thai 2003: 11(3): 164-9.

Duang-iad K. Prevalence of postpartum depression in adolescent mothers at Khuan Khanun Hospital. J Med Syst 2018; 31(3): 457-64.

Stuart PK, Stuart S. Perinatal depression: an update and overview. Curr Psychiatry Rep 2014; 16: 468.

Pitanupong J, Liabsuetrakul T, Vittayanont A. Validation of the Thai Edinburgh Postnatal Depression Scale for screening postpartum depression. Psychiatry Res 2007; 149(1-3): 253-9.

Kongsuk T, Arunpongpaisal S, Janthong S, Prukkanone B, Sukhawaha S, Leejongpermpoon J. Criterion-Related Validity of the 9 Questions Depression Rating Scale revised for Thai Central Dialect. J Psychiatr Assoc Thailand 2018; 63(4): 321-34.

Cochran WC. Sampling techniques. 2nded. New York: John Wiley & Sons; 1973.

Landis JR, Koch GG. The measurement of observe agreement for categorical data. Biometrics 1977; 33(1): 159-74.

Kaewchanta N, Rungruengkonkit S, Thavornphithak Y, Rujiraprasert N, IKotnara I, Kabkhamba C. Prevalence of depression among adolescent pregnancy in antenatal care clinics. Provincial Hospital in Northeastern Thailand. J Psychiatr Assoc Thailand 2014; 59(3): 207-20.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-03-31