การวิจัยและพัฒนารูปแบบความรอบรู้ด้านสุขภาพต่อพฤติกรรมป้องกันสารเคมีกำจัดศัตรูพืชและระดับเอนไซม์โคลีนเอสเตอเรสในเลือดของเกษตรกร

ผู้แต่ง

  • จงรัก สุวรรณรัตน์ โรงพยาบาลหนองบุญมาก จังหวัดนครราชสีมา
  • ธณกร ปัญญาใสโสภณ คณะสหเวชศาสตร์ วิทยาลัยนครราชสีมา

คำสำคัญ:

รูปแบบความรอบรู้ด้านสุขภาพ สารเคมีกำจัดศัตรูพืช เอนไซม์โคลีนเอสเตอเรส การวิจัยและพัฒนา

บทคัดย่อ

การวิจัยและพัฒนาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบความรอบรู้ด้านสุขภาพต่อพฤติกรรมป้องกันสารเคมีกำจัดศัตรูพืชและระดับเอนไซม์โคลีนเอสเตอเรสในเลือดของเกษตรกร การดำเนินการวิจัย 1) ทบทวนวรรณกรรม  2) การพัฒนารูปแบบ 3) การตรวจสอบและปรับปรุงรูปแบบ 4) การทดลองใช้โปรแกรมความรอบรู้ด้านสุขภาพ กลุ่มตัวอย่าง คือ เกษตรกรจำนวน 60 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 30 คน ได้รับโปรแกรมความรอบรู้ด้านสุขภาพที่สร้างขึ้น และกลุ่มควบคุม จำนวน 30 คน ได้รับโปรแกรมการดูแลตามปกติ โดยการสุ่มเลือกแบบเจาะจง ทั้งสองกลุ่มได้รับการตรวจปริมาณเอนไซม์โคลีนเอสเตอเรสก่อนและหลังการทดลอง เครื่องมือการวิจัย ได้แก่ โปรแกรมความรอบรู้ด้านสุขภาพ ระยะเวลา 12 สัปดาห์ แบบสอบถามความรอบรู้ด้านสุขภาพ และแบบบันทึกการตรวจเลือด สถิติที่ใช้ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบค่าที

ผลการวิจัยและพัฒนาพบว่ารูปแบบความรอบรู้ด้านสุขภาพเพื่อสร้างเสริมพฤติกรรมป้องกันสารเคมีกำจัดศัตรูพืชและลดปริมาณเอนไซม์โคลีนเอสเตอเรส ประกอบด้วย  1) วางแผน ได้แก่ การพัฒนาโปรแกรมความรอบรู้ด้านสุขภาพภายใต้ปัญหาและความต้องการ การกำหนดวัตถุประสงค์ และการบริหารจัดการเครือข่าย 2) การปฏิบัติ ได้แก่ การตรวจสอบคุณภาพโปรแกรมและการพัฒนาศักยภาพความรอบรู้ด้านสุขภาพของเกษตรกร 3) การประเมิน ได้แก่ ประเมินความรอบรู้ด้านสุขภาพ ความพึงพอใจ และการตรวจเอนไซม์โคลีนเอสเตอเรส 4) ปรับปรุงแก้ไข ได้แก่ ประชุมปรับปรุง และการจัดการความรู้ 

สรุปและข้อเสนอแนะ: การวิจัยและพัฒนาส่งผลกระทบให้เกษตรกรมีความรอบรู้ด้านสุขภาพ มีพฤติกรรมป้องกันสารเคมีกำจัดศัตรูพืชเพิ่มขึ้นและปริมาณเอนไซม์โคลีนเอสเตอเรสในเลือดลดลง หน่วยงานที่เกี่ยวข้องสามารถนำรูปแบบความรอบรู้ด้านสุขภาพไปประยุกต์เพื่อพัฒนาศักยภาพสำหรับเกษตรกรในการใช้สารเคมีได้อย่างถูกต้องและปลอดภัย

References

Health Promotion Organization. Agricultural production and food security network. [Internet]. 2009 [cited 2015 October 25]. Available from: http://www. thaihealth.or.th/Content/22316.

Janchie T, Kotchapong S, Supaporn C. Health care model agriculturalists using pesticide in Lower Northeastern Region of Thailand. NDJ 2018; 45(2): 69-82.

Division of Occupational and Environmental Diseases. Report situation of disease and health hazards from occupation and environment 2018. Department of Disease Control, Ministry of Public Health; 2018.

Division of Occupational and Environmental Diseases. Surveillance Prevention Control of disease and health hazards for informal workers 2020. Department of Disease Control, Ministry of Public Health; 2020.

National Inorganic Agriculture Development Board. Strategy Development of Organic Agriculture National 2017-2021. Office of Agricultural Economics; 2017.

Tobklang P, Tobklang P. Effects of health iiteracy promoting program for pesticide usage of cassava farmer Soeng Sang District, Nakhonratchasima Province. Journal of Health Education 2019; 42(1): 80-92.

The Office of Prevention and Control 9 Nakhornratchasima. Report on the development of occupational health and hygiene standards for workers in the informal labor community; 2017.

Nongboonmak hospital. Nongboonmak hospital health information center. Nongboonmak hospital Nakhon Ratchasima province; 2021.

Nutbeam D. Health literacy as a public health goal: a challenge for contemporary health education and communication strategies into the 21st century. Health promotion international 2000; 15(3): 259-67.

Anan N. Research and development to practical. Nonthaburi: Sahamit printing and publishing Co., Ltd.; 2014.

Cohen, J. Statistical power analysis for the behavioral science. New York: Academic Press; 1969.

Thanakorn P. Research Methodology for Health Promotion Management. Nakhon Ratchasima: Lertsil Printing House; 2564.

Siriporn J. Qualitative Rresearch. Bangkok: Wittayapat company limited; 2009.

Nutbeam D. Defining and measuring health literacy: What can we learn from literacy studies. International journal public health 2009; 54(5): 303-5.

Chusri W. Techniques for creating research tools:. Bangkok: Amorn printing; 2017.

Division of Occupational and Environmental Diseases. Cholinesterase reactive paper. Nonthaburi: Bureau of Occupational and Environmental Diseases, Department of Disease Control, Ministry of Public Health; 2017.

Phannita L, Pantip H. Effectiveness of a program based on health belief model to reduce pesticide exposure among rice farmers in Kong Krailat District, Sukhothai Province. Disease Control Journal 2020; 46 (3): 247-56.

Phutthamat S, Jatuphon L, Sutthasit K. Effects of health promotion program to risk behavior modification on reducing chemical pesticide among Rice farmers, in Phai Ram Subdistrict, Muang District, Surin province. Journal of Nakhonratchasima college 2018; 12(2): 82-93.

World Health Organization. Health Promotion. WHO Publications; 1998.

Arunrat P, Thawatchai D. Comparisons of the effectiveness on cholinesterase enzyme reducing between take the thunbergiaceae jelly combined with herbs roasting and thunbergiaceae jelly in the blood among risk farmers. Journal of roi et Rajabhat University: Science and technology 2020; 1(1): 52-60.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-03-31