ประสิทธิผลของโปรแกรมการส่งเสริมการจัดการตนเองของบุคคลและครอบครัวต่อพฤติกรรม การป้องกันการตั้งครรภ์ซ้ำและคุณภาพชีวิตของมารดาวัยรุ่น

ผู้แต่ง

  • อุทัยวรรณ รัศมีทอง โรงพยาบาลยโสธร

คำสำคัญ:

การจัดการตนเองของบุคคลและครอบครัว, การตั้งครรภ์ซ้ำ, คุณภาพชีวิต, มารดาวัยรุ่น

บทคัดย่อ

การวิจัยกึ่งทดลองครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิผลของโปรแกรมการส่งเสริมการจัดการตนเองของบุคคลและครอบครัวต่อพฤติกรรมการป้องกันการตั้งครรภ์ซ้ำและคุณภาพชีวิตของมารดาวัยรุ่น กลุ่มตัวอย่างเป็นมารดาวัยรุ่นอายุ 14-19 ปี แบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมกลุ่มละ 36 คน กลุ่มควบคุมได้รับการดูแลตามมาตรฐานของโรงพยาบาล กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการส่งเสริมการจัดการตนเองของบุคคลและครอบครัว ประกอบด้วย 1) ผลกระทบการตั้งครรภ์ซ้ำ 2) โรงเรียนพ่อแม่ 3) การคุมกำเนิด 4) การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ 5) ทักษะในการจัดการตนเอง และ 6) ครอบครัวและกลุ่มเพื่อนมารดาวัยรุ่น ระยะเวลาในการเข้าร่วมโปรแกรม 6 เดือน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบวัดพฤติกรรมการป้องกันการตั้งครรภ์ซ้ำและแบบวัดคุณภาพชีวิต ทดสอบความเที่ยงได้ค่าสัมประสิทธิ์ของครอนบาคเท่ากับ 0.86 และ 0.84 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา สถิติไคสแควร์ และสถิติทดสอบค่าทีชนิดสองกลุ่มเป็นอิสระต่อกัน

ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างที่ได้รับรูปแบบการส่งเสริมการจัดการตนเองของบุคคลและครอบครัว มีคะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมการป้องกันการตั้งครรภ์ซ้ำและคุณภาพชีวิตเพิ่มขึ้น กว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p <0.05)

สรุปและข้อเสนอแนะ: การส่งเสริมจัดการตนเองของบุคคลและครอบครัวส่งผลต่อพฤติกรรมการป้องกันการตั้งครรภ์ซ้ำและคุณภาพชีวิตของมารดาวัยรุ่น พยาบาลผดุงครรภ์สามารถใช้เป็นแนวทางส่งเสริมให้มารดาวัยรุ่นเกิดพฤติกรรมป้องกันการตั้งครรภ์ซ้ำ

References

Department of Reproductive Health. Survey to teenage pregnancy. Department of Health, Ministry of Public Health; 2017.

Albuquerque A, Pitangui A, Rodrigues P, Araújo R. Prevalence of rapid repeat pregnancy and associated factors in adolescents in Caruaru, Pernambuco. Rev. Bras. Saúde Matern Infant, Recife 2017; 17(2): 347-54.

Maravilla J. The role of community health workers in preventing adolescent repeated pregnancies and births. J Adolesc Health 2016; 59(4): 378-90.

Norton M, Chandra-Mouli V, Lane C. Interventions for preventing unintended, rapid repeat pregnancy among adolescents: A review of the evidence and lessons from high-quality evaluations. Global Health: Science and Practice 2017; 5(4): 547-70.

Pungbangkadee R, Ratinthorn A. Factors and consequences of repeat pregnancy among teenagers: A case study in Bangkok metropolis. J Nurs sci 2015; 32(2): 23-31.

Ross S, Baird A, Porter C. Teenage pregnancy: Strategies for prevention. Clin Obstet Gynecol Reprod Med 2014; 24(9): 266-73.

El-Kamary SS, Higman SM, Fuddy L, McFarlane E, Sia C, Duggan AK. Hawaii’s healthy start home visiting program: Determinants and impact of rapid repeat birth. Pediatrics 2004; 114(3): e317-26.

Srivilai K. Repeated pregnancy among adolescent: A case study a community hospital, Southern Thailand. The Southern College Network Journal of Nursing and Public Health 2016; 3(3): 142-52.

Dallas C. Rapid repeat pregnancy among unmarried, African American adolescent parent couples. West J Nurs Res 2013; 35(2): 177-192.

Wisarutkasempong A, Muangpin S. Factors related to the intention to repeat pregnancy among pregnant adolescents. Srinagarind Med J 2015; 30(3): 262-9.

Bureau of Reproductive Health, Department of Health, Ministry of Public Health. 2019. Strategy Preventing and Addressing National Adolescent Pregnancy Problems 2017-2026. Retrieved on May 2021 from http://rh.anamai.moph.go.th/main. php?filename =index

Ryan P, Sawin KJ. The individual and family self-management theory: background and perspectives on context, process, and outcomes. Nurs Outlook 2009; 57(4): 217-25.

Mahatnirunkul S, Tuntipivatanakul W, Pumpisanchai W. Comparison of the WHOQOL-100 and the WHOQOL-BREF (26 items). J Ment Health Thai 1998; 5(3): 4-15.

Cook SM, Cameron ST. Social issues of teenage pregnancy. Clin Obstet Gynecol Reprod Med 2015; 25(9): 243-8.

Sangchart E, Duangsong R, The effects of health education program with electronic media (facebook) on skill development for adolescent pregnancy prevention among grade 7 students. Office of Disease Prevention and Control 7, Khon Kaen Province 2016: 23(1): 96-104.

Marangsee S. Risk factors and guidelines for prevention of repeated teenage pregnancy. The Journal of Faculty of Nursing Burapha University 2018; 26(2) :84-99.

Srisomboon A, Serisathien Y, Yusamran C, Phahuwatanakorn W. The Effect of a Maternal Role Promoting Program on Maternal Role Attainment in Adolescent Mothers with Unplanned Pregnancies. J Nurs Sci 2011; 29(2): 74-81.

Arethwetch W, KanKarn W. Effectiveness of Life Assets Development to Prevent Unintended Repeat Pregnancy Behaviors among Adolescent Maternal. J Nurs Health Care 2017; 35(3): 69-77.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-03-31