ความรอบรู้ด้านสุขภาพในการส่งเสริมพัฒนาการทารกแรกเกิดของพยาบาลวิชาชีพ หอผู้ป่วยทารกแรกเกิดวิกฤต โรงพยาบาลในสามจังหวัดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ผู้แต่ง

  • รัตนา ศรีโย คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • จุฬาภรณ์ ตั้งภักดี คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

คำสำคัญ:

ความรอบรู้ด้านสุขภาพ พัฒนาการทารกแรกเกิด พยาบาลวิชาชีพ

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงพรรณนามีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความรอบรู้ด้านสุขภาพในการส่งเสริมพัฒนาการทารกแรกเกิด           ของพยาบาลวิชาชีพ  หอผู้ป่วยทารกแรกเกิดวิกฤต  โรงพยาบาลในสามจังหวัดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ  กลุ่มตัวอย่าง       เป็นพยาบาลวิชาชีพจำนวน  99  ราย  เลือกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจงตามคุณสมบัติ   เครื่องมือวิจัยเป็นแบบสอบถามแบ่งเป็นข้อมูลทั่วไปของพยาบาลและแบบสอบถามความรอบรู้สุขภาพการส่งเสริมพัฒนาการทารกแรกเกิดที่พัฒนาโดยผู้วิจัย  เป็นแบบสอบถามมาตรส่วนประมาณค่า  จำนวน  68  ข้อ  ที่ผ่านการตรวจสอบความสอดคล้องของเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิ 3 ท่าน มีค่าความสอดคล้องของเนื้อหาเท่ากับ 1  ตรวจสอบความน่าเชื่อถือของแบบสอบถามด้วยค่าสัมประสิทธิ์แอลฟ่าของครอนบาร์ค มีค่าเท่ากับ 0.99 เก็บข้อมูลแบบออนไลน์  วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ความถี่  ร้อยละ  ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 

            ผลการวิจัย  พบว่า พยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานมีค่าคะแนนเฉลี่ยระดับสูงสุดคือความรอบรู้ด้านสุขภาพการเข้าถึงข้อมูลสุขภาพและบริการสุขภาพการส่งเสริมพัฒนาการทารกแรกเกิด  (Mean = 28.2, S.D. = 7.17)  และมีคะแนนเฉลี่ยต่ำสุดคือความรอบรู้ด้านสุขภาพการสื่อสารการส่งเสริมพัฒนาการทารกแรกเกิด (Mean = 26.6, S.D. = 7.42)  ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงปัญหาที่อาจส่งผลต่อพัฒนาการทารกแรกเกิดที่มีภาวะเจ็บป่วยที่ส่งผลกระทบต่อการเกิดพัฒนาการที่ล่าช้า  ดังนั้นพยาบาลถือเป็นบุคคลสำคัญที่ต้องมีการพัฒนาความรอบรู้ด้านสุขภาพในการดูแลทารกแรกเกิดที่เจ็บป่วยระยะวิกฤตและ    การส่งเสริมพัฒนาการอย่างถูกต้องเหมาะสมต่อไป

 

References

Thawitha L, Klunklin P, and Urharmnuay M. Preterm Infant Development Promoting Behaviors Among Primary Caregivers and Related Factors. Nursing J. 2016. 43(4). 12-22.

Stikes R, Arterberry K, Logsdon M. A Nurse Leadership Project to Improve Health Literacy on a Maternal-Infant Unit. Journal of Obstetric, Gynecologic & Neonatal Nursing [Internet].2015 [cited 2015 September 5]. Available from: http:// dx.doi.org/10.1111/1552-6909.12742

Matayaboon D, Klunklin P, and Urtharmuay M. Practices of Nurses and Related Factors on Developmental Care for Preterm Infant. Nursing J. 2016. 43 (4) : 1-11.

Sripichyakan K, Sriarporn P, and Xuto P. Nursing Students’ Learning Outcomes on Maternal Health Education Regarding Promoting Infant Development. Nursing J. 2015; 42 (Supplement): 116-28.

Watcharaach Ju, Meelai Wa, pitaksil Ac, and Kampang Pe. Competency in critical neonatal care of professional nurses, Health Service Provider Board Office 6, Ministry of Public Health. J Health Sci. 2017; 11(1): 99-109

Petmung S, Kasiraksa K, and Payarang J. Effects of Providing Knowledge to Registered Nurses on their Practice in NICU, Krabi Hospital. JFONUBUU. 2016. 3(3): 111-26.

Ministry of Pubplic Health. 20-year Nationnal Strategy (Public Health). Bangkok; 2018. http:// www.oic.go.th/FILEWEB/CABINFOCENTER2/ DRAWER023/GENERAL/DATA0000/00000077.PDF

Chaowinai W, Moolsart S, and Kaewpan Wo. The Model of Neonatal Nursing Competency Development of Professional Nurses at NICU, Panyananthaphikkhu Chonprathan Medical Center. JRTAN. 2019; 20(3): 256-65.

Apichutboonchock S. Parents Participation on Their Preterm Development Support in Neonatal Intensive Care Unit. Vajira Med J. 2013. 57(1): 66- 72.

Unsiam P. Maternal Participation in Caring for Critically ill Newborns, Phatthalung Hospital. SCNJ. 2017. 4 (special): S61-74.

Sutalangka M, Urharmnuay M, and Chotibang J. Maternal Care and Related Factors in Developmental Care of Preterm Infants. Nursing J. 2017; 44(1): 50-61.

Treyvaud K, Spittle A, Anderson PJ, O’Brien K. A multilayered approach is needed in the NICU to support parents after the preterm birth of their infant. Early Hum Dev 2019; 139(104838): 104838

Nutbeam D. The evolving concept of health literacy. Soc Sci Med 2008; 67(12): 2072-8.

Nilnate W, and Rungchutiphopan W. Health Literacy and Nursing Professionals. QLLJ. 2019; 15(2): 1-18.

Choeisuwan V. Health Literacy: Concept and Application for Nursing Practice. RTNNMD journal. 2017; 44(3): 183-97.

Nutbeam D. Defining, measuring and improving health literacy. Health Eval Prompt 2015; 42(4): 450-6.

Yotongyos M, Sawatsan P. Calculation of sample size for research, Academic service center, Institute for the Promotion of Research and Development. J Med Health Sci. 2020: 1-8.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-03-31