การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้สูงอายุบนพื้นฐานของระบบเศรษฐกิจชุมชน และวัฒนธรรมท้องถิ่นโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน

ผู้แต่ง

  • ชิณกรณ์ แดนกาไสย วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีนครพนม
  • อรอุมา แก้วเกิด วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีนครพนม มหาวิทยาลัยนครพนม
  • ชัยวัฒน์ อินไชยา วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีนครพนม มหาวิทยาลัยนครพนม
  • เบญจยามาศ พิลายนต์ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีนครพนม มหาวิทยาลัยนครพนม
  • อมรรัตน์ แสงใสแก้ว วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีนครพนม มหาวิทยาลัยนครพนม

คำสำคัญ:

ระบบเศรษฐกิจชุมชน ผู้สูงอายุ วัฒนธรรมท้องถิ่น การมีส่วนร่วม

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการดูแลผู้สูงอายุบนพื้นฐานของระบบเศรษฐกิจชุมชนและวัฒนธรรมท้องถิ่นโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน ผู้ให้ข้อมูลเลือกแบบเฉพาะเจาะจง (Purposive sampling) ประกอบด้วย ผู้สูงอายุ 30 คน เจ้าหน้าที่อบต./ผู้นำชุมชน 10 คน พยาบาลวิชาชีพ 1 คน และอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน 10 คนเครื่องมือวิจัยมี 2 ชุด ประกอบด้วย 1)แบบสอบถามข้อมูลทั่วไปของผู้สูงอายุ 2)แบบสอบถามเชิงคุณภาพ ประกอบด้วย แบบสัมภาษณ์เชิงลึกแบบกึ่งโครงสร้าง (Semi- structure interview) ผู้สูงอายุ แบบสนทนากลุ่ม (Focus group) และการสังเกต วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้สถิติบรรยาย ประกอบด้วย ร้อยละ ค่าเฉลี่ย การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์แก่นสาระ (Thematic analysis) ดำเนินการศึกษาระหว่างเดือนสิงหาคม 2563 - มิถุนายน 2564

ผลการศึกษาพบว่า ผู้สูงอายุส่วนใหญ่มีโรคประจำตัวร้อยละ 63.7 มีรายได้เฉลี่ย 1,506.70 บาทต่อเดือน รายได้หลักจากเบี้ยผู้สูงอายุและจำหน่ายผลิตภัณฑ์ในชุมชน มีผู้สูงอายุว่างงานร้อยละ 26.7 ส่วนใหญ่มีความต้องการประกอบอาชีพร้อยละ 56.7 และมีหนี้สินร้อยละ 40 การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้สูงอายุบนพื้นฐานของระบบเศรษฐกิจชุมชนและวัฒนธรรมท้องถิ่นโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน  ทั้ง 2 วงรอบพบว่า มี 4 กิจกรรมการพัฒนา 1)ฟื้นฟูและเพิ่มกิจกรรมการจัดตั้งโรงเรียนผู้สูงอายุ ผู้รับผิดชอบหลักคือองค์การบริหารส่วนตำบลร่วมกับโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ 2)ส่งเสริมการปลูกผักสวนครัวปลอดสารพิษโดยใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น ผู้รับผิดชอบหลักคือชมรมผู้สูงอายุร่วมกับโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ 3)ส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่นเรื่องการใช้สมุนไพร  ผู้รับผิดชอบหลักคือโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ และ 4)การสร้างข้อตกลงเพื่อสุขภาพของชุมชน ผู้รับผิดชอบหลักคือ องค์การบริหารส่วนตำบลร่วมกับผู้นำชุมชน 

References

United Nations Department of Economic and Social Affairs Ageing. 2018 UNIDOP Celebrates Older Human Rights Champions [Internet]. 2018 [cited 2020 Mar 8]. Available from: https://www.un.org/ development/desa/ageing/ international-day-of-older-persons-homepage/2018unidop.html

Office of The National Economic and Social Development Board. Population Projections for Thailand 2010-2040. Bangkok: October Print Press; 2013.

Artsanthia J, Pomthong R. The Trend of Elderly Care in 21st Century: Challenging in Nursing Care. JRTAN 2018; 9(1): 39-46.

Metcalfe O, Higgins C, Lavin T. Health Impact Assessment Guidance [Internet]. 2009 [cited 2020 Mar 8]. Available from: https://publichealth.ie/ health-impact-assessment-guidance-2009/

Prasartkul P, Thaweesit S, Chuanwan S. Prospects and Contexts of Demographic Transitions in Thailand. JPSS 2019; 27(1): 1-22.

Nuntaboot K, et al. Community Research using Rapid Ethnographic Community Assessment Process. (1st ed.). Bangkok: Thai Health Promotion Foundation, Healthy Community Strengthening Section; 2018.

Crane P, O’ Regan M. On PAR Using Participatory Action Research to Improve Early Intervention. Department of Families, Housing, Community Services and Indigenous Affairs, Australian Government; 2010.

Devalersaku N, Siriwarakoon W, Roadyim C. The Development of the Elderly as a Burden to Power: Case Study of Rangsit City Municipality. Veridian E-Journal, Silpakorn University 2016; 9(1): 529-45.

Wongprom J, Jongwutiwes K, Prasertsuk N, Jongwutiwes N. Community Participation in the Development of Older Persons’ Quality of Life. Veridian E-Journal, Silpakorn University 2015; 8(3): 41-54.

Pullarp R , Laorinthong A, Vanisprinyakul S. Elderly Health Promotion of Wat Hua Fai Elderly School, Tumbon San Klang, Amphoe Phan, Chiang Rai. UBRU Journal for Public Health Research 2019; 8(1): 149-58.

Patsin TA. Management of Environmental with Local Wisdoms: The Case study Ban Nonggoa Kosumphisal District, Mahasarakham Province. Chophayom Journal 2017; 28(1): 193-202.

Kleebbua S, Yomchareon C, Suchard O. Factors Relating to Behavior in Using Herbs for Self Health Care of People in Mueng District, Lampang Province. Journal of Legal Entity Management and Local Innovation 2021; 7(1): 195-209.

Phontip K. The Organization of Alcohol-free Funeral of Nungbua Sub-District, Atsamart District, Roi-Et Province. Mahasarakham Hospital Journal 2021; 18(1): 34-41.

Khorphon S, Pankeaw J, Sarobol T, Somporn Sitthisongkram, Chaisrisawat S, Chaisrisawat S, et al. Use of Participatory Action Research (PAR) in Preventing and Solving Problems Caused by Alcohol Consumption in the Community of Nong Toa Kammai Village, Pa Phai Sub-district, San Sai District, Chiang Mai Province. Journal of Community Development and life Quality 2014; 2(3): 313-24.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-03-31