ภาวะบีบคั้นทางจิตวิญญาณของพยาบาลวิชาชีพในช่วงการระบาดของ โรคติดเชื้อไวรัส COVID – 19 ในประเทศไทย: การสำรวจออนไลน์เบื้องต้น

ผู้แต่ง

  • วรรณชาติ ตาเลิศ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุรินทร์
  • อนุศร การะเกษ โรงพยาบาลราศีไศล จังหวัดศรีสะเกษ
  • เกตุนรินทร์ บุญคล้าย วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นพรัตน์วชิระ
  • วราพร สุดบุญมา สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 จังหวัดขอนแก่น
  • อนุสิษฐ์ เป็งแก้ว โรงพยาบาลพิชัย จังหวัดอุตรดิตถ์

คำสำคัญ:

ภาวะบีบคั้นทางจิตวิญญาณ, พยาบาลวิชาชีพ, โรคติดเชื้อไวรัสCovid 2019, การสำรวจออนไลน์

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจและเปรียบเทียบภาวะบีบคั้นทางจิตวิญญาณของ พยาบาลวิชาชีพตามลักษณะการปฏิบัติงานในห้อง negative pressure และระดับของพื้นที่ในช่วงการระบาดของโรคติด เชื้อไวรัส COVID-19 ในประเทศไทย กลุ่มตัวอย่างเป็นพยาบาลวิชาชีพจำนวน 658 คน เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบตามสะดวก
เก็บรวบรวมข้อมูลระหว่างเดือนสิงหาคม – กันยายน พ.ศ.2564 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามข้อมูลทั่วไปและแบบสอบถามภาวะบีบคั้นทางจิตวิญญาณของพยาบาลวิชาชีพ มีความเชื่อมั่นโดยค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค เท่ากับ 0.97 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูปด้วยการแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติเปรียบเทียบ Mann-Whitney U และสถิติเปรียบเทียบ Kruskal-Wallis H ผลการวิจัยพบว่า 1) ภาวะบีบคั้นทางจิตวิญญาณของพยาบาลวิชาชีพในช่วงการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัส COVID - 19 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (M=2.66, SD=0.47) 2) ภาวะบีบคั้นทางจิตวิญญาณของพยาบาลวิชาชีพในช่วงการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัส COVID-19 ที่ปฏิบัติงานในห้อง negative pressure และระดับของพื้นที่ที่แตกต่างกันมีภาวะบีบคั้นทางจิตวิญญาณที่แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ผลการวิจัยสามารถนำข้อมูลไปใช้การวางแผนเพื่อดูแลและเยียวยาความต้องการพื้นฐานทั้งทางด้านร่างกาย จิตใจ และจิตวิญญาณของพยาบาลวิชาชีพต่อไป

References

1. Chaiyasit Y & Piboonrungroj P. Nursing cares for patients with spiritual distress. 2nd ed. Bangkok:
Chulalongkorn university printing house; 2021
2. Sangsirilak A & Sangsirilak S. Stress and depressed mood in healthcare workers during COVID-19
outbreak. Journal of the psychiatric association of Thailand. 2020; 65(4): 401-408.
3. Lalani N. Spiritual distress among novice nurses during role transition at a university teaching hospital in
Pakistan. Nursing practice today. 2019; 6(2): 55-62.
4. Harnlakorn P, Phetcharat T, Rithirod N, Kamollerd S, Pitayavatanachi T & Meesing A. Stress worry and
effects among health personnels during pandemic of Coronavirus disease 2019 in Srinagarind
hospital. Srinagarind Med J. 2021; 36(4): 488-494.
5. Chaiyasit Y, Chanbunlawat K, Thong-orn R & Kaewkerd O. A Conceptual analysis of spiritual distress.
Thai journal of nursing council. 2021; 36(2): 5-17.
6. Ratanamaitrekeart R & Piphatvanitcha N. Factors related to spiritual needs among older adult patients.
Songklanagarind journal of nursing. 2017; 37 (2): 14-26.
7. Wongrattana C. Statistical techniques for research. 10th ed. Nonthaburi: Taineramitkij Inter Progressive
Press; 2007.
8. Srisatidnarakul B. The methodology in nursing research. 5th ed. Bangkok: U & I Intermedia. 2010.
9. Ridner S H. Psychological distress: concept analysis. J Adv Nurs. 2004; 45: 536-545.
10. Gundelach A & Henry B. Cancer - related psychological distress: a concept analysis. Clin J Oncol Nurs.
2016; 20: 630 – 4
11. Watanabe N. The epidemiology of chronic fatigue, physical illness and symptoms of common mental
disorder : A cross - sectional survey from the second British Nation survey of psychiatric
morbidity. Journal of psychosomatic research 64; 2008: 357-362.
12. Gyaltshen K, hengudomsub P & Wacharasin C. Psychological impact and its affecting factors among
nurses working in COVID-19 designated hospitals in Bhutan. The journal of faculty of nursing
Burapha university. 2021; 29(3): 102-114.
13. Lazarus R S & Folkman S. Stress, appraisal, and coping. New York: Springer; 1984.
14. Gorman L M & Sultan D F. Psychosocial nursing for general patient care. 3th ed. Philadelphia: F.A. Davis;
2008
15. International federation of Red Cross and Red Crescent societies (IFRC). Mental health and
psychosocial support for staff, volunteers and communities in an outbreak of novel coronavirus.
IFRC: Hong Kong, 2020.
16. Intolo S, Sihaboonnak T & Saisangjan N. Infection control nurse’ roles in infection prevention and
control for COVID-19 within healthcare setting. Journal of nursing and health care. 2021; 39(1):
14-21.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-12-28