การเสริมสร้างพลังอำนาจของบุคลากรวิชาชีพทางการแพทย์ โรงพยาบาลสกลนครที่มีภาวะน้ำหนักเกิน ในการควบคุมน้ำหนัก

ผู้แต่ง

  • กุลธิดา แก้วดี คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • วิลาวัณย์ ชมนิรัตน์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

คำสำคัญ:

น้ำหนักเกิน, การควบคุมน้ำหนัก, บุคลากรโรงพยาบาล

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงปฏิบัติการครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์สถานการณ์และสาเหตุปัจจัยน้ำหนักเกินของบุคลากรในพื้นที่โรงพยาบาลสกลนครและ เสริมสร้างพลังอำนาจของบุคลากรโรงพยาบาลสกลนครที่มีน้ำหนักเกิน ในการควบคุมน้ำหนัก        มีผู้ร่วมวิจัยทั้งสิ้น 23 คน โดยแบ่งเป็นกลุ่มผู้มีน้ำหนักเกิน 15 คน และกลุ่มผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในด้านการดูแลสุขภาพบุคลากร 8 คน เครื่องมือในการวิจัยประกอบด้วย แนวทางการสัมภาษณ์เชิงลึก การสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วม และแนวทางการทำสุนทรียสนทนา ใช้การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ จากการหาค่าความถี่ ร้อยละ และข้อมูลเชิงคุณภาพโดยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา

ผลการวิจัย พบว่า เกิดการพัฒนาในประเด็นต่อไปนี้ 1) พัฒนาระบบการตรวจสุขภาพบุคลากร การคัดกรอง และการดูแลส่งต่อร่วมกันกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการดูแลปัญหาน้ำหนักเกิน ช่องทางการเข้ารับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ และการส่งต่อข้อมูลระหว่างหน่วยงาน 2) การเสริมสร้างพลังอำนาจของบุคลากรโรงพยาบาลสกลนครที่มีน้ำหนักเกิน ในการควบคุมน้ำหนักผ่านกิจกรรม 3 กิจกรรมได้แก่ 2.1) กิจกรรม เปิดใจเรา 2.2) กิจกรรม ข้องใจ ไขปัญหา 2.3) กิจกรรม ฝ่าฟันอุปสรรค พบว่าผู้เข้าร่วมกิจกรรมแต่ละคนได้มีพฤติกรรมการดูแลสุขภาพ และปรับสิ่งแวดล้อมของตน โดยพบว่าเพื่อนร่วมงานมีบทบาทสำคัญในการควบคุมน้ำหนักที่มีประสิทธิภาพ ผลจากการศึกษาครั้งนี้ส่งผลให้ บุคลากรที่มีน้ำหนักเกินมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่ดีขึ้นจำนวน 13 คน คิดเป็นร้อยละ 86.67 และมีค่าดัชนีมวลกายลดลงจำนวน 8 คน คิดเป็นร้อยละ 61.53

References

1. Aekplakorn W, Chariyalertsak S, Kessomboon P, Assanangkornchai S, Taneepanichskul S, Putwatana P. Prevalence of Diabetes and Relationship with Socioeconomic Status in the Thai Population: National Health Examination Survey, 2004–2014. J Diabetes res [Internet]. 2018 [cited 2018 Sep 10]. Available from: https://www.hindawi.com/journals/jdr/2018/1654530/
2. World Health Organization. World Health Statistic 2017. World Health Organization [Internet]. 2017 [cited 2018 Sep 10]. Available from: http://apps.who.int/iris/bitstream/handle/10665/255336/9789241565486-eng.pdf
3. World Health Organization. World Health Statistic 2016 Monitoring Health for the SDGS Sustainable Development Goals. World Health Organization [Internet]. 2016 [cited 2018Sep10]. Available from: https://reliefweb.int/sites/reliefweb.int/files/resources/9789241565264_eng.pdf
4. Feingold K.R., Grunfeld C. Obesity and Dyslipidemia. NCBI [Internet]. 2015 [cited 2018 May 21]. Available from: https://www.ncbi.nlm.nih.gov/books/NBK305895/
5. Tassaniyom N, Tassaniyom S. Teaching of health promotion. In: Tassaniyom N, editors. Health promotion Empowerment. Khon Kaen: Klang Na Na Vitthaya; 2012. p. 157.
6. World Health Organization. Ottawa Charter for Health Promotion. [Internet]. 1986 [cited 2018 Sep 30]. Available from: http://www.euro.who.int/__data/assets/pdf_file/ 0004/129532/Ottawa_Charter.pdf
7. Rangkakulnuwat P, Pothiban L, Metzger B.L, Tiansawad S, Teaukul S. Development of the Body Image Self-Schema Scale and the Body Image Possible Selves Scale for Thai Middle-Aged Women. Thai Journal Nursing Research 2008;12(1):40-58
8. Prasertjit P, Limpasenee W, Soomnasretakul S. Cities worker lifestyles affect obesity: Health worker case study vajira hospital. Vajira Med J 2019;63:73-84
9. Phanwattana P. Food consumption behavior of working age people in Bangkok. Journal of the Office of DPC 7 Khon Kaen. 2018;26:93-103.
10. Puntiya P. Obesity in Physician. Journal of Health Systems Research 2020;14(1):19-25.
11. Daenseekaew S, Saensome D, Ruaisungnoen W, Chaiyapoom N, Nissayan P, Damnok K. Empowering People with Chronic Illness to Create Smoke-Free Homes for Emergency Condition Prevention. Journal of Nursing and Health Care 2019;37:231-240

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-12-28