สมรรถนะด้านการพยาบาลครอบครัวขั้นสูงของพยาบาลวิชาชีพ ที่ให้การดูแลครอบครัวที่มีหญิงตั้งครรภ์ได้รับการคัดกรองกลุ่มอาการดาวน์
คำสำคัญ:
สมรรถนะการพยาบาลครอบครัวขั้นสูง, การคัดกรองกลุ่มอาการดาวน์, พยาบาลวิชาชีพหน่วยบริการฝากครรภ์บทคัดย่อ
การวิจัยเชิงพรรณนาเพื่อศึกษาสมรรถนะด้านการพยาบาลครอบครัวขั้นสูงของพยาบาลวิชาชีพที่ให้ การดูแลครอบครัวที่มีหญิงตั้งครรภ์ได้รับการคัดกรองกลุ่มอาการดาวน์ ณ หน่วยบริการฝากครรภ์ โรงพยาบาลสังกัดกระทรวงสาธารณสุข จังหวัดขอนแก่น จำนวน 27 แห่ง กลุ่มตัวอย่างได้แก่ พยาบาลวิชาชีพ ณ หน่วยบริการฝากครรภ์ จำนวน 89 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ที่พัฒนาขึ้นตามกรอบแนวคิดของสมาคมพยาบาลครอบครัวนานาชาติ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงพรรณนา หาค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่าพยาบาลส่วนใหญ่มีอายุระหว่าง 41-50 ปี ( = 43.76) สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีร้อยละ 88.80 มีระยะเวลาการปฏิบัติงาน ณ หน่วยบริการฝากครรภ์มากกว่า 5 ปี ร้อยละ 44.94 สมรรถนะด้านการพยาบาลครอบครัวขั้นสูง พบว่าค่าคะแนนเฉลี่ยโดยรวมอยู่ในระดับสูง ( = 4.11, SD = 0.35) ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ สมรรถนะด้านการปฏิบัติตามหน้าที่รับผิดชอบเชิงวิชาชีพ ( = 4.02, SD = 0.68) และด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ สมรรถนะด้านการพยาบาลครอบครัวโดยใช้หลักฐานเชิงประจักษ์ ( = 3.46, SD = 0.73)
สรุปได้ว่าค่าคะแนนเฉลี่ยสมรรถนะด้านการพยาบาลครอบครัวโดยใช้หลักฐานเชิงประจักษ์น้อยที่สุด สอดคล้องกับข้อมูลการสัมภาษณ์พบว่าไม่มั่นใจในทำวิจัย และมีการบูรณาการงานวิจัยมาใช้ในกิจกรรมการพยาบาลน้อย ดังนั้นควรพัฒนาสมรรถนะในด้านดังกล่าวเพื่อนำไปสู่คุณภาพทางการพยาบาลต่อไป
References
2. Department of Health. Handbook for the Prevention of Infants Training Down Syndrome. Nonthaburi: Ministry of Public Health, Thailand; 2020.
3. Royal College of Obstetricians and Gynecologists of Thailand. Guidelines for medical practice.: Screening for Down syndrome children in pregnant women. 2nded. Bangkok: Royal College of Obstetricians and Gynecologists of Thailand; 2015.
4. Titilayo, T.A., Matthew, M., Michele, D., Marie-Pierre, G., Samira, A.R., Hubert, R., ...France, L. Pregnant women's views on how to promote the use of a decision aid for Down syndrome prenatal screening: a theory-informed qualitative study. BMC Health Serv Res 2018; 18(434): 1-15.
5. International Family Nursing Association (IFNA). Position Statement on Generalist Competencies for Family Nursing Practice. [database on the Internet]. 2015 [cited 2021 Apr 20]. Available from: https://internationalfamilynursing.org/ wordpress/wp-content/uploads/2015/07/GC-Complete-PDF-document-in-color-with-photos-English-language.pdf.
6. International Family Nursing Association (IFNA). Position Statement on Advanced Practice Competencies for Family Nursing. [database on the Internet]. 2017 [cited 2021 Apr 20]. Available from: https://internationalfamilynursing. org /wordpress/wp-content/uploads/2017/05/APCCom plete-PDF-document-in-color-with photos- English-language.pdf.
7. Supaporn Srisuphan. Family nursing competency of professional nurses at the postnatal service unit. Tertiary Hospital in Northeastern Region Ministry of Public Health. Master of Nursing Thesis Khon Kaen University; 2018.
8. Boonchom Srisaat. Preliminary research. 10thed. Bangkok: Suwiriya; 2017.
9. Benner, PE. Form novice to expert: Excellence and power in clinical nursing practice. Menlo Park, CA: Addison-Wesley; 2001.