่Article ชายวัยทอง: บทบาทพยาบาลชุมชนในการส่งเสริมสุขภาพ

ผู้แต่ง

  • ปัณณทัต จันพานิช คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเฉลิมกาญจนา
  • ขนิษฐา สนเท่ห์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเฉลิมกาญจนา
  • ธนิดา สถิตอุตสาหกร คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเฉลิมกาญจนา

คำสำคัญ:

ชายวัยทอง, บทบาทพยาบาล, พฤติกรรมสุขภาพ, การส่งเสริมสุขภาพ

บทคัดย่อ

ชายวัยทอง คือ กลุ่มชายที่มีอายุในช่วงระหว่าง 40-59 ปี  ซึ่งเมื่ออายุย่างเข้าสู่วัยดังกล่าว เรียกว่า ชายวัยทอง (Androgen deficiency )  ปัญหาทางด้านสุขภาพจึงมีความสัมพันธ์กับระดับฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนในร่างกายที่ลดลง ส่งผลให้สมรรถภาพทางร่างกายลดลง อาทิเช่น ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อลดลง อาการปวดตามกล้ามเนื้อและกระดูก ความคงทนในการเล่นกีฬาลดลง ขาดความกระฉับกระเฉง  ในด้านฮอร์โมนที่ลดลง ทำให้ร่างกายมีอาการร้อน วูบวาบตามตัว มีอาการตอบสนองทางเพศที่ลดน้อยลง ทำให้คนในวัยดังกล่าวขาดความมั่นใจในตนเองเกี่ยวกับกิจกรรมทางเพศ ส่งผลต่อด้านภาวะจิตใจและอารมณ์ คือ หงุดหงิด โมโหง่าย ในบางรายส่งผลต่อความเครียด และซึมเศร้าได้ ดังนั้นจากปัญหากลุ่มอาการดังกล่าวมีผลต่อความเชื่อมั่นในตนเอง บุคลิกภาพทางสังคม และการดำเนินชีวิตประจำวัน ทำให้บั่นทอนคุณภาพชีวิตของชายวัยทอง  กลุ่มอาการชายวัยทองในเพศชาย จึงมักไม่มีใครใส่ใจ ขาดการละเลยและไม่เป็นที่รู้จัก เพราะอาการวัยทองนั้น มักรู้จักกันในกลุ่มเพศหญิง (menopause)  เมื่อเพศชายเข้าสู่วัยทองจึงขาดความตระหนักในการดูแลและใส่ใจสุขภาพของตนเอง เมื่อมีอาการภาวะพร่องฮอร์โมนเทสโทสเตอโรน จึงขาดที่ปรึกษาและคลินิกวัยทองในเพศชาย ที่มีลักษณะเฉพาะ เพื่อให้กลุ่มวัยดังกล่าวสามารถเข้าถึงและให้คำแนะนำได้   ดังนั้นปัจจัยที่จะช่วยในการปรับตัวเข้าสู่วัยทองได้อย่างมีคุณภาพ จำเป็นต้องมีทีมสุขภาพ  การจัดตั้งคลินิก  โดยเฉพาะพยาบาลชุมชน ที่ดูแลผู้ป่วยในเขตพื้นที่ในการดูแล เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตและสนับสนุน ส่งเสริมให้กลุ่มชายวัยทองมีภาวะสุขภาพที่ดี และปรับตัวในการดำเนินชีวิตได้อย่างมีความสุข

References

บรรณานุกรม
กฤษณา ไกรสินธุ์.(2543). ภาวะสุขภาพของชายวัยทอง.สืบค้นจาก http://www.doctor.or.th/article/.,เมื่อวันที่ 5/11/2558.
กองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ.( 2019 ). การดูสุขภาพด้วยหลัก 3อ. 2ส.สืบค้นจาก https://www.thaihealth.or.th/NewsHealth.,เมื่อ วันที่ 12/03/2564.
เจน โสธรวิทย์และคณะ, (2557). ชายวัยทอง.ภาควิชาสูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.สืบค้นจาก http://www.md.kku.ac.th/..เมื่อวันที่8/11/2558.
ฐิติพร โยทาพันธ์,(2564).การขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะป้องกันและควบคุมโรคไม่ติดต่อ สู่วาระแห่งชาติ.สืบค้นจาก https://www.thaihealth.or.th/.,เมื่อวันที่ 12/03/2564
นภาบดี อุดสม , (2552). กลุ่มอาการพร่องฮอร์โมนเพศชายและภาวะเสี่ยงต่อสุขภาพในผู้ชายวัยทอง ตำบลแม่ป้าก อำเภอวังชิ้น จังหวัดแพร่. วิทยานิพนธ์ วิทยาศาสตร์ มหาบัณฑิต(สาธารณสุขศาสตร์) บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
ปิยะสกล สกลสัตยาทร, (2018).การประชุมมหกรรมสุขภาพด้านโรคไม่ติดต่อ (NCDs Forum 2018) ภายใต้แนวคิด “Together, Let’s beat NCDs : ประชารัฐร่วมใจลดภัย NCDs”.สืบค้นจาก https://www.hfocus.org/content/2018/08/16157.,เมื่อวันที่ 12/03/2564
บัณฑิต จันทะยานี , (2544).MEN’S HEALTH THROUGH THE AGES.ในสายัณห์ สวัสดิ์, ธนบูณจุลยามิตร พร.
ธนบูรณ์ จุลยามิตรและคณะ , (2547).สุขภาพองค์รวมในชาย-หญิงวัยทอง.(พิมพ์ครั้งที่ 1).กรุงเทพฯ:สำนักพิมพ์ข้าวฟ่าง.
สำนักส่งเสริมสุขภาพ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข, (2559).แนวทางการดำเนินงานส่งเสริมสุขภาพประชากรวัยทอง.กรุงเทพฯ: พิมพ์ที่ อาร์ตควอลิไฟท์ จำกัด.
สายัณห์ สวัสดิ์ศรีและคณะ, (2545). เพิ่มสีสันของชีวิตในชายวัยทอง ตอนสุขภาพดี ชีวี มีสุข. กรุงเทพฯ :บียอนด์ เอ็นเทอร์ไพร์ซ จำกัด.
สิทธิกร ลินลาวรรณ , (2554). อุบัติการณ์และปัจจัยเสี่ยงของภาวะอ้วนลงพุงในบุคลากรโรงพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี. วารสารแพทย์เขต 4-5;30(3):249-259.
สุพรชัย กองพัฒนากูล , (2542). เทคนิคการดูแลรักษาโรคความดันโลหิตสูง การทบทวนปัจจัยด้าน พฤติกรรมและวิถีชีวิตที่เป็ นปัจจัยเสี่ยงและปัจจัยเสริมต่อโรค. คณะแพทย์ศาสตร์ ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพมหานคร:โรงพิมพ์ชุมนุม สหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
สุนีย์ ละกำปั้น ,( 2561),ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจของชายวัยทอง กรุงเทพมหานคร.วิทยานิพนธ์ พยาบาลศาสตร มหาบัณฑิต คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัย มหิดล.
อุรุษา เทพพิสัย , (2547).สุขภาพองค์รวมในชาย-หญิงวัยทอง.(พิมพ์ครั้งที่ 1).กรุงเทพฯ:สำนักพิมพ์ข้าวฟ่าง.
Al-Sejari, M. (2013). Prevalence of andropausal symptoms among kuwaiti males. American Journal of Men's Health, 7(6), 516-522.
Balasubramanian J,Shahul Hammed Maraicar K, Babu Ananth D, Vijayakumar N and Dhanalakishmi R,(2012). DHEA: The remedy for andropause.,from: http://www.iseeadyar.org/ijmhc.html. Vol.1 No.2 (May 2012).
Flint, A. J., Rexrode, K. M., Hu, F. B.,Glynn, R. J,Caspard, H., Manson, J. E,Rimm, E. B.(2010). Body mass index, waist circumference, and risk of coronary heart disease: A prospective study among men and women. Obesity Research & Clinical Practice, 4(3), e171-e181.
Hyde, Z., Norman, P. E., Flicker, L., Hankey, G. J., Almeida, O. P., McCaul, K. A,Yeap, B. B,. Low free testosterone predicts mortality from cardiovascular disease but not other causes: the Health in Men Study. J Clin Endocrinol Metab .2012; 97(1), 179-189.
Ito, K., Yoshida, H., Yanai, H., Kurosawa, H., Sato, R., Manita, D,Tada, N. (2013). Relevance of intermediate-density lipoprotein cholesterol to Framingham risk score of coronary heart disease in middle-aged men with increased non-HDL cholesterol. International Journal of Cardiology, 168(4), 3853-3858.
Lunenfeld B, Saad F.(2005 ). recommendations for the investigation, treatment and monitoring of late-onset hypogonadism in males: scientific background and rationale. Aging male .59-74.
Nieschlag E, Swerdloff R.(2005). Investigation, treatment and monitoring of late-onset hypogonadism in males. Aging male.56-8.
Rao, M., Xavier, D., Devi, P., Sigamani, A., Faruqui, A., Gupta, R,Pais, P.(2015). Prevalence, treatments and outcomes of coronary artery disease in Indians: A systematic review. Indian Heart Journal, 67(4), 302-310.
Schwarz, E. R., Phan, A., & Willix, R. D. (2011). Andropause and the development of cardiovascular disease presentation—more than an epi-phenomenon. Journal of Geriatric Cardiology : JGC, 8(1), 35-43.
Traish, A. M. and K. E. Kypreos (2011). "Testosterone and cardiovascular disease: An old idea with modern clinical implications." Atherosclerosis 214(2): 244-248.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-09-29