การเสริมพลังอาสาสมัครสาธารณสุขเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมกลุ่มเสี่ยงความดันโลหิตสูง

ผู้แต่ง

  • พิชัย บุญมาศรี
  • ระพีพรรณ นันทะนา โรงพยาบาลเลย
  • ฐิตารีย์ ธนสิริกาญจน์ โรงพยาบาลเลย

คำสำคัญ:

การเสริมพลัง อาสาสมัครสาธารณสุข การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม กลุ่มเสี่ยงความดันโลหิตสูง

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงปฏิบัติการนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาศักยภาพอาสาสมัครสาธารณสุข (อสม.) ในการสนับสนุนการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในกลุ่มเสี่ยงความดันโลหิตสูงในชุมชน ผู้ร่วมวิจัยเป็น อสม. 56 คน พยาบาล 25 คน นักวิชาการสาธารณสุข 3 คน และกลุ่มเสี่ยงความดันโลหิตสูง 102 คน ศึกษาช่วง ธันวาคม พ.ศ.2560 ถึง สิงหาคม พ.ศ.2561 มี 2 ระยะ ได้แก่ 1) การเสริมพลัง อสม. โดยการพัฒนาศักยภาพด้วยการอบรมหลักสูตร อสม. เชี่ยวชาญการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม การเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมเพื่อสร้างความตระหนักและทักษะการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมผ่านการเยี่ยมบ้าน การวางแผนปรับเปลี่ยนพฤติกรรม และจัดตั้งหมู่บ้านต้นแบบสร้างเสริมสุขภาพ และ 2) การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมกลุ่มเสี่ยงความดันโลหิตสูง นำแนวทางการดำเนินงานไปใช้ในการปฏิบัติงานเชิงรุกในชุมชน และขยายพื้นที่เรียนรู้โดยเปิดห้องเรียนชุมชน

ผลลัพธ์การพัฒนา ได้แก่ หลักสูตรอบรม อสม.เชี่ยวชาญการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม แผนจัดการสุขภาพด้วยตนเอง ผลลัพธ์เชิงระบบ ทำให้เกิดแนวทางการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมกลุ่มเสี่ยงความดันโลหิตสูง ผลลัพธ์ทางการพยาบาล ได้แก่ อสม. มีการรับรู้ความเสี่ยงทางสุขภาพและพฤติกรรมการป้องกันโรคความดันโลหิตสูงเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ กลุ่มเสี่ยงมีพฤติกรรมสุขภาพเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ ร่วมทั้งมีระดับความดันโลหิตอยู่ในเกณฑ์ปกติเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ ดังนั้นควรนำรูปแบบดังกล่าวมาปรับใช้ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพกลุ่มเสี่ยงความดันโลหิตสูงในชุมชน

References

1. World health organization. High blood pressure: a public health problem [online] 2013 [cited 2018 sep 15]. Available from: http://www.emro.who.int/media/world-health-day/public-health-problem-factsheet-2013.html
2. Bolli P, Hemmelgarn B, Myers MG, McKay D, Tremblay G, Tobe SW. High normal blood pressure and prehypertension: The debate continues. Can J Cardiol 2007; 23(7): 281-583.
3. Huang Y, Wang S, Cai X, Mai W, Hu Y, Tang H, Xu D. Prehypertension and incidence of cardiovascular disease: a meta-analysis. BMC Med 2013; 11(177): 1-9.
4. Thai Hypertension Society. 2019 Thai Guidelines on The Treatment of Hypertension. Chiang Mai: Trick Think; 2019.
5. Chobanian AV, Bakris GL, Black HR, Cushman WC, Green LA, Lsso JL, Fones DW, et al. Seventh report of the Joint National Committee on Prevention, Detection, Evaluation, and Treatment of High Blood Pressure. Hypertension 2003; 42(6): 1206-1252.
6. Yu R, Yan LL, Wang H, Ke L, Yang Z, Gong E, Guo H, et al. Effectiveness of a Community-Based Individualized Lifestyle Intervention Among Older Adults With Diabetes and Hypertension, Tianjin, China, 2008–2009. Prevention chronic disease 2014, 11(84): 1-7
7. Tiparat W, Suwanweala S, Sumrit W. The effects of self-awareness development program on stroke prevention behaviors among hypertension patients in Muang District, Trang Province. The southern college network journal of nursing on public health 2017; 4(2): 94-107.
8. Kemmis, S, McTaggart, R. The Action Research Planer edit 3rd. USA: Deakin University; 1988.
9. Muhihi AJ, Urassa DP, Mpembeni RN, Leyna GH, Sunguya BF, Kakoko D, Kessy AT, et al. Effect of training community health workers and their interventions on cardiovascular disease risk factors among adults in Morogoro, Tanzania: study protocol for a cluster randomized controlled trial. Trails 2018; 552(2018): 1-12.
10. Ursua RA, Aguilar DE, Wyatt LC, Katigbak C, Islam NS, Tandon SD, Nur PR, et al. A community health worker intervention to improve management of hypertension among Filipino Americans in New York and New Jersey: a pilot study. Ethn Dis 2014; 24(1); 67-76.
11. Koyanee S, Tassana-iem S. The effect of the application of food, exercise, emotion, non-smoking, alcohol cessation and social support to reduce the risk of diabetes and hypertension among new risk group. Ratchophruek Journal 2019, 11(2); 95-104.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-09-30