การมีส่วนร่วมของชุมชนในการป้องกันโรคพยาธิใบไม้ตับ

ผู้แต่ง

  • วราพร สุดบุญมา คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • วิลาวัณย์ ชมนิรัตน์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

คำสำคัญ:

การมีส่วนร่วมของชุมชน /กการแก้ไขปัญหาพยาธิใบไม้ตับ

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานการณ์และพัฒนารูปแบบการมีส่วนร่วมของชุมชนในการป้องกันแก้ไขปัญหาโรคพยาธิใบไม้ตับ ผู้ร่วมวิจัยคือ ผู้นำชุมชน 4 คน อาสาสมัครสาธารณสุข 10 คน ผู้ติดพยาธิใบไม้ตับ     10 คน และ เจ้าหน้าที่ สาธารณาสุข 4 คน รวม 28 คน รวบรวมข้อมูลจาก การสัมภาษณ์เชิงลึก การสนทนากลุ่ม การสังเกตแบบมีส่วนร่วมและไม่มีส่วนร่วม การระดมสมองสะท้อนคิด การตรวจสอบความน่าเชื่อถือของข้อมูลด้วยวิธีการสามเส้า วิเคราะห์ข้อมูลเชิงเชื้อหา           

            ผลการศึกษาพบว่า 1) สถานการณ์ปัญหาพยาธิใบไม้ตับในชุมชนมีปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับ พฤติกรรมการการรับประทานปลาดิบมาตั้งแต่อดีตและมีความเข้าใจในเรื่องของโรคพยาธิใบไม้ตับที่ยังไม่ถูกต้อง การทิ้งสิ่งปฏิกูล และความต่อเนื่องในการดำเนินงานป้องกันควบคุมพยาธิใบไม้ตับ  2) การพัฒนารูปแบบการมีส่วนร่วมของชุมชนในการป้องกันและแก้ไขปัญหาพยาธิใบไม้ตับ ประกอบไปด้วย การสร้างภาคีเครือข่ายในการป้องกันโรคพยาธิใบไม้ การอบรมให้ความรู้แก่กลุ่มผู้ติดพยาธิใบไม้ตับและกลุ่มประชาชนที่สนใจ  ความร่วมมือกันคนในชุมชนรายงานการทิ้งสิ่งปฏิกูลลงในไร่นา และ ส่งเสริมการจัดการเรียนการสอนเรื่องโรคพยาธิใบไม้ตับฯในโรงเรียน ชุมชนสามารถนำผลการวิจัยนี้ไปใช้ในการแก้ไขปัญหาโรคพยาธิใบไม้ตับในชุมชน ตามบริบทของชุมชนที่มีผู้มีส่วนได้ส่วนเสียและภาคีเครือข่ายในชุมชนร่วมดำเนินการ ต่อยอดสู่การเป็นต้นแบบในการแก้ไขปัญหาในพื้นที่อื่นๆ ที่มีอัตราความชุกของพยาธิใบไม้ตับสูง ต่อไป

References

1. กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. (2559). แผนยุทธศาสตร์ทศวรรษกำจัดปัญหาพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดี ปี 2559-2568. กรุงเทพฯ: สำนักงานกิจการโรงพิมพ์ องค์กรสงเคราะห์ทหารผ่านศึกในพระบรมราชูปถัมภ์
2. กองยุทธศาสตร์และแผนงาน กระทรวงสาธารณสุข. (2562). สถิติสาธารณสุข 2563. นนทบุรี:
3. กองตรวจราชการ สำนักตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุข. (ตุลาคม 2563). เข้าถึงได้จาก สรุปผลการตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุข ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๓ รอบที่ ๒: http://bie.moph.go.th/e-insreport/file_doc/2020-10-02-01-04-59.pd
4. เกษร แถวโนนงิ้ว และคณะ. (2558). การพัฒนารูปแบบระบบเฝ้าระวังโรคติดเชื้อพยาธิใบไม้ตับระดับอำเภอภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประเทศไทย. วารสารควบคุมโรค, 41(4), 329-340
5. เครือข่ายความร่วมมือในการแก้ไขปัญหาพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดี. (2559). นวัตกรรมการควบคุมพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดีอย่างครบวงจร. ขอนแก่น: สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 จังหวัดขอนแก่น.
6. ธิดารัตน์ บุญมาศ. (2558). วิวัฒนาการของพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดี. ขอนแก่น: โรงพิมพ์คลังนานาวิทยา.
7. นิตย์ ทัศนิยม และ สมพันธ์ ทัศนิยม. (2555). การสร้างเสริมสุขภาพ: การสร้างพลังอำนาจ. ขอนแก่น: คลังนานาวิทยา.
8. บรรจบ ศรีภา. (2551). รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์เรื่องการเฝ้าระวังโรคพยาธิใบไม้ตับ (opisthorchis viverrini) ในสุนัขและแมวต่อความเสี่ยงทางด้านสาธารณสุข. [ม.ป.ท.: ม.ป.พ.].
9. รุจิรา ดวงสงค์, จุฬาภรณ์ โสตะ, ไพบูลย์ สิทธิถาวร, พงษ์เดช สารการ, และสุพรรณี ศรีอำพร. (2550). การพัฒนาพฤติกรรมการป้องกันโรคพยาธิใบไม้ตับของประชาชน อำเภอภูเวียง จังหวัดขอนแก่น. ขอนแก่น: คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
10. สมจิต แดนสีแก้ว. (2557). การเสริมพลังอำนาจของครอบครัวผู้ป่วยเบาหวานเพื่อลดการสัมผัสควันบุหรี่ในบ้าน. รายงานการศึกษาอิสระปริญญาพยาบาลศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชน คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
11. องค์การบริหารส่วนตำบลโคกสี อ.เมือง จ.ขอนแก่น. (2556). สืบค้นเมื่อ 15 มกราคม 2560 จาก สภาพทั่วไปและข้อมูลพื้นฐานที่สำคัญขององค์การบริหารส่วนตำบลโคกสี http://www.koksee.com/index.php/feature/basicinfo/section-2
12. Banchob Sripa. (2016). Liver Fluke and bile duct cancer :The disease of the poor. KKU Research, 1(1), 29-23. สืบค้นเมื่อ มกราคม 2018 file:///C:/Users/User/Downloads/KKU%20RESEARCH%202016,1.pdf

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-09-30