การพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน ชนิดคลื่น เอส ที ไม่ยกสูง โรงพยาบาลเลย

ผู้แต่ง

  • ฉัตรพร หัตถกรรม โรงพยาบาลเลย
  • วนิดา เคนทองดี โรงพยาบาลเลย
  • พรวีนัส โสกัณทัต โรงพยาบาลเลย

คำสำคัญ:

การพัฒนา แนวปฏิบัติการพยาบาล ระบบการพยาบาล โรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันชนิดไม่พบคลื่นไฟฟ้าหัวใจเอสทียก

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงปฏิบัติการนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและประเมินผลลัพธ์การใช้แนวปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันชนิดคลื่น เอส ที ไม่ยกสูง (Non ST segment Elevation Myocardial Infarction: NSTEMI)ในโรงพยาบาลเลย ตามกรอบแนวคิด ของ  Kemmis & Mctaggart มีผู้ร่วมวิจัยคือ พยาบาลวิชาชีพประจำแผนกอุบัติเหตุและฉุกเฉิน แผนกผู้ป่วยนอก หอผู้ป่วยอายุรกรรม 6 แห่ง และศัลยกรรม 5 แห่ง รวม 28 คนและผู้ป่วยNSTEMI 100ราย ระยะเวลาศึกษาตั้งแต่เดือนมีนาคม พ.ศ.2563 ถึง กุมภาพันธ์ พ.ศ.2564 เครื่องมือเชิงปริมาณ ประกอบด้วย แบบสอบถามความจำเป็นในการพัฒนา แบบบันทึกการปฏิบัติและผลลัพธ์ แบบสอบถามความพึงพอใจต่อแนวปฏิบัติ เครื่องมือเชิงคุณภาพ ประกอบด้วย แบบสังเกตอย่างมีส่วนร่วม แนวทางการสนทนากลุ่ม และ แบบสัมภาษณ์เชิงลึก แบ่งการดำเนินการเป็น 3 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1 การประเมินสถานการณ์ ระยะที่ 2 การพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วย NSTEMI ประกอบด้วย 2 วงรอบ ระยะที่ 3 การประเมินผลลัพธ์การใช้แนวปฏิบัติ ผลการวิจัย พบว่า เกิดแนวปฏิบัติการพยาบาล 3 หมวด ได้แก่ 1) การคัดกรอง 2) การดูแลเพื่อความปลอดภัย และ 3) การเฝ้าระวังตามระดับความเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติการณ์รุนแรง ประกอบด้วย เสี่ยงสูงมาก เสี่ยงสูง และเสี่ยงต่ำ เกิดผลลัพธ์ คือ พยาบาลมีความพึงพอใจระดับมากที่สุดต่อแนวปฏิบัติ เฉลี่ยร้อยละ 4.54 (ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน เท่ากับ 0.40) อัตราการคัดกรองถูกต้องเพิ่มขึ้นจาก ร้อยละ 76.7 เป็น 96.7 การดูแลผู้ป่วยมีคุณภาพตามแนวปฏิบัติที่กำหนด ≥ มากกว่าเท่ากับ ร้อยละ 80และ ไม่พบอุบัติการณ์รุนแรง  สรุปว่า แนวปฏิบัติดังกล่าวส่งผลลัพธ์ที่ดีต่อผู้ป่วยและเหมาะสมกับบริบทโรงพยาบาลเลย

References

1. สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ และสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข.แผนยุทธศาสตร์สุขภาพดีวิถีไทย พ.ศ. 2554- 2563. พิมพ์ครั้งที่ 1. นนทบุรี: สำนักพระพุทธศาสนาแห่งชาติ.2564.
2.เกรียงไกร เฮงรัศมี.มาตรการรักษาผู้ป่วยกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน 2555. กรุงเทฯ: กลุ่มงาน อายุรศาสตร์ สถาบันโรคทรวงอก; 2558.
3. Goldberger E .Myocardial ischemia: Acute myocardial infarction.London: ST. Louis.1982.
4.ศรัณยู สุทธิพงศ์เกียรติ. การเปิดหลอดเลือดหัวใจเพื่อรักษากล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันชนิด ST Elevate. พุทธชินราชเวชสาร.2555;29(2): 271-77.
5. ผ่องศรี ศรีมรกต. บรรณาธิการ, การพยาบาลผู้ใหญ่และผู้สูงอายุที่มีปัญหาสุขภาพ.เล่มที่ 4. กรุงเทพฯ: ไอกรุ๊ป เพรส.2553.
6. Hannan EL, Zhong Y, Krumholh H, Walford G, Holmes DR, Stamato NJ, et al. 30 day readmission for patients undergoing percutaneous coronary interventions in New York State. JACC: Cardiovasc Interv.
2011; 4(12): 1335- 342.
7. สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข.สถิติสาธารณสุข พ.ศ. 2553. กรุงเทพฯ: องค์การทหารสงเคราะห์ทหารผ่านศึก.2554.
8. กองสถิติสาธารณสุข.สถิติข้อมูลกองสถิติสาธารณสุขปี 2554- 2557. นนทบุรี: กระทรวงสาธารณสุข.2557.
9. จันทิมา พรเชนศวรพงศ์, จันนภา คำวัจนัง และ กวินทร์นาฎ. ผลของการพัฒนาแนวปฏิบัติเพื่อดูแลผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน ชนิด เอส ที ยกสูง แผนกอุบัติเหตุและฉุกเฉิน โรงพยาบาลนครนายก. วารสาร คณะแพทย์ มหาวิทยาลัยบูรพา. 2015; 23(3) 97-111.
10 . สุพจน์ ศรีมหาโชตะ.What have we leaned from Thai ACS registry?.ใน ระพีพล กุญชร ณ อยุธยา (บรรราธิการ), CARDIOLOGY 2008. กรุงเทพฯ: ไชยาฟิล์ม. 2551. .
11. Srivanichakorn S. Morbidity and mortality situation of non- communicable disease (diabetis type 2 And cardiovascular disease )in Thailand during 2010- 2014. Disease control Journal. 2017; 379- 90.
12. ข้อมูลโรงพยาบาลเลย.เอกสารเย็บเล่ม. 2563.
13. Rosswurm, MA, Larrabee JH. A Model for change to Evidence- Based Practice. Journal of Nursing Scholarship. 1999; 13(4): 317- 322.
14. Lincoln, Y. S. & Guba, E. G. Naturalistic inquiry. Sage publication. 1985. (4).
15.Strauss, A., & Corbin, J. Basics of qualitative research: Grounded theory procedures and techniques. Sage publication. 1990.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-06-29