การพัฒนารูปแบบการพยาบาลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง ขาดเลือดเฉียบพลันที่ได้รับยาละลายลิ่มเลือด (rt-PA) แผนกผู้ป่วยอุบัติเหตุและฉุกเฉิน โรงพยาบาลขอนแก่น
คำสำคัญ:
คำสำคัญ : โรคหลอดเลือดสมองขาดเลือดเฉียบพลันการพัฒนารูปแบบการพยาบาล แผนกผู้ป่วยอุบัติเหตุและฉุกเฉิน, โรคหลอดเลือดสมองขาดเลือดเฉียบพลัน, การพัฒนารูปแบบการพยาบาล, แผนกผู้ป่วยอุบัติเหตุและฉุกเฉินบทคัดย่อ
การวิจัยเชิงปฏิบัติการนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อพฒั นารูปแบบการพยาบาลผ้ปู ่วยโรคหลอดเลือดสมองขาดเลือดเฉียบพลัน
ที่ได้รับยาละลายลิ่มเลือด (rt-PA) แผนกผู้ป่วยอุบัติเหตุและฉุกเฉิน โรงพยาบาลขอนแก่น แบ่งเป็น 3 ระยะ คือ 1) ระยะ
วิเคราะห์สถานการณ์ 2) ระยะพัฒนารูปแบบการพยาบาล และ 3) ระยะประเมินผลลัพธ์ โดยศึกษาจากผู้ป่วย 30 ราย ในเดือน
ตุลาคม 2562 ถึง กันยายน 2563 พบว่ารูปแบบการพยาบาลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองขาดเลือดเฉียบพลันที่ได้รับยา rt-PA
ประกอบด้วย 1) แนวปฏิบัติการพยาบาล 5 เรื่องได้แก่ การประเมินผู้ป่วย การจัดการอาการรบกวน การเฝ้าระวังภาวะความ
ดันในกะโหลกศีรษะสูง การป้องกันภาวะแทรกซ้อนจากการได้รับยา rt-PA และการดูแลต่อเนื่อง 2) การพัฒนาสมรรถนะ
พยาบาล 3) สื่อวิดีโอในการให้ข้อมูลผู้ป่วยและญาติเกี่ยวกับโรคหลอดเลือดสมองขาดเลือดเฉียบพลันและการรักษาด้วยยา
rt-PA และ 4) นวัตกรรมการคำนวณออกซิเจน และ “Head up ปรับ 30” ผลลัพธ์พบว่า Door-to needle time และค่าคะแนน NIHSS ดีขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p=0.005) การเกิดเลือดออกในสมองหลังได้รับยา rt-PA ภายใน 24 ชั่วโมงลดลงจาก
ร้อยละ 13.3 เหลือ 3.3 ระดับความพึงพอใจของผู้ป่วยและญาติด้านสื่อการให้ข้อมูลร้อยละ 98 ค่าเฉลี่ยคะแนนสมรรถนะ
พยาบาลโดยรวมเพิ่มขึ้นจาก 3.99 (SD=0.51) เป็น 4.40 (SD=0.51) สรุปว่ารูปแบบการพยาบาลที่พัฒนาขึ้นสามารถเพิ่ม
ประสิทธิภาพการทำงานของพยาบาลได้ตามหน้าที่หลักทางคลินิกของพยาบาลวิชาชีพ
References
2.World Health Organization. World Stroke Day [Internet].2010. [cited 2015 April 25]. Available from: http:// www.worldstrokecampaign.org/media/pages/aboutwordstrokeday2010.aspx.
3. สำนักงานพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ.ปีสุขภาวะที่สูญเสีย Disability-Adjusted Life Year; DALY รายงาน ภาวะโรคและการบาดเจ็บของประชากรไทย พ. ศ.2554. นนทบุรี: สำนักงานกิจการพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก: 2557.
4. สมศักดิ์ เทียมเก่า. Stroke Fast Track การบริการทางด่วนโรคหลอดเลือดสมอง. วารสารประสาทวิทยาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ปี2555 (The Publication of the North- Eastern Neuroscience Association) : 50-55.
5. พะนอ เตชะอธิก,สุนทรพร วันสุพงศ์,สุมนา สัมฤทธิ์. ผลการใช้หลักฐานเชิงประจักษ์ในการพยาบาลผู้บาดเจ็บที่หน่วยผู้ป่วยนอกอุบัติเหตุและฉุกเฉิน. วารสารพยาบาลศาสตร์และสุขภาพ.2554;34(3):65-74
6. คู่มือระบบบริการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง เครือข่ายจังหวัดขอนแก่น.คลังนานาธรรม.2562
7.ปิ่นเพชร อำภรณ์ ,ประภัสสร สมศรี ,ทัศนีย์ แดขุนทด , ไพลิน นัดสันเทียะ . รูปแบบการจัดการรายกรณีผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบ อุดตัน เฉียบพลัน ห้องฉุกเฉินโรงพยาบาลสกลนคร. วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ 2561; 36(3): 207-220.
8.ตุลาพร อินทนิเวศน์. ศึกษากระบวนการการจัดการการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองระยะเฉียบพลันที่เข้ารับการรักษา ในโรงพยาบาลลำพูน. วารสารสาธารณสุขล้านนา 2560 ; 13(2) : 34-47.
9.เอื้อมพร กาญจนรังสิชัย,วนิดา ประดุจจักราพล, ดวงใจ ลาพร. การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยโรคสมองขาดเลือดเฉียบพลันที่ได้รับยาrt-PA(rt-PA)โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา.วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ 2558; 33(1):12-22.
10.Donabedian A. An introduction to quality assurance in health care. New York: Oxford University Press; 2003
11.สารา วงษ์เจริญ. แนวคิดการพัฒนาคุณภาพและการประกันคุณภาพการพยาบาล.2651
12. เสาวลักษณ์ เกษมสุข, วีนารัตน์ กันจีน๊ะ และดารณี ศิริบุตร. การเกิดภาวะแทรกซ้อน จำนวนวันนอนโรงพยาบาลและ การกลับมานอนโรงพยาบาลซ้ำภายหลังการใช้ระบบการดูแลแบบ 7 ASPECTS OF CARE ในผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดในหอผู้ป่วยนรีเวชกรรม โรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์ . วารสาร เชียงรายเวชสาร 2562;11(1): 85-91.
13. เพ็ญศรี จะนู. ผลการใช้สื่อวีดีทัศน์เพื่อเตรียมความพร้อมของผู้ป่วยก่อนผ่าตัดต่อระดับความรู้และความพึงพอใจในผู้ป่วยที่มารับบริการผ่าตัดแบบผู้ป่วยนอก ห้องผ่าตัด หู คอ จมูก โรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ .2558.
14.สุรีรัตน์ สุวัชรังกูร.การดูแลรักษาผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองเฉียบพลันที่มีภาวะความดันในกะโหลกศีรษะสูง วารสาร Thai Stroke Soc2015: 14: 94-101.
15.ฉัตรกมล ประจวบลาภ. ภาวะความดันในกะโหลกศีรษะสูงในผู้ป่วยที่มีพยาธิสภาพที่สมอง :มิติของการพยาบาลตามหลักฐานเชิงประจักษ์วารสารสภาการพยาบาล2561;33(2):15-28.
16.กันติมาภรณ์ วิวัฒน์ตระกูล ,ลัดดาอะโนศรี.การพัฒนารูปแบบการจัดการรายกรณีผู้ป่วยโรคเลือดสมองตีบอุดตันเฉียบพลัน ห้องฉุกเฉิน โรงพยาบาลสกลนคร.วารสารกองการพยาบาล 2560;44(2):26-45.