การศึกษาปัจจัยเสี่ยงที่มีความสัมพันธ์กับการเกิดโรคหลอดเลือดสมอง ของผู้ป่วยความดันโลหิตสูงที่รับบริการที่โรงพยาบาลชัยภูมิ

ผู้แต่ง

  • พรภัทรา แสนเหลา คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ
  • สายนาท พลไชยโย โรงพยาบาลชัยภูมิ
  • เบญจา สนิทสิงห์ โรงพยาบาลชัยภูมิ
  • ทศพร ปิ่นแก้ว โรงพยาบาลชัยภูมิ
  • ดรุณี ภาระขันธ์ โรงพยาบาลชัยภูมิ

คำสำคัญ:

โรคหลอดเลือดสมอง, ความดันโลหิตสูง, ปัจจัยเสี่ยง

บทคัดย่อ

การศึกษาเชิงวิเคราะห์นี้ ศึกษาย้อนหลังเพื่อวิเคราะห์ปัจจัยสี่ยงที่มีความสัมพันธ์กับการเกิดโรคหลอดเลือดสมองของ
ผู้ป่วยความดันโลหิตสูงที่รับบริการที่โรงพยาบาลชัยภูมิ่ กลุ่มศึกษา คือ ผู้ป่วยความดันโลหิตสูงที่ป่วยเป็นโรคหลอดเลือด
สมอง 30 ราย กลุ่มเปรียบเทียบ คือ ผ้ปู ่วยความดันโลหิตสูงที่ไม่ป่วยเป็นโรคหลอดเลือดสมอง 60 ราย ที่รับบริการที่โรง
พยาบาลชัยภูมิในเดือนตุลาคมถึงธันวาคม พ.ศ. 2563 เก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์ และศึกษาเวชระเบียน วิเคราะห์ข้อมูล
โดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและสถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ Chi-Square test; Fisher’s exact test และ Independent t-test
ผลการศึกษา 1) ปัจจัยส่วนบุคคลและปัจจัยด้านสุขภาพ พบว่า กลุ่มศึกษาและกลุ่มเปรียบเทียบ มีดัชนีมวลกาย
สถานภาพสมรส อาชีพ และรูปร่าง แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 ส่วนเพศ อายุ ระดับการศึกษา การมี
โรคร่วม ระยะเวลาป่วยเป็นความดันโลหิตสูง ประวัติโรคทางพันธุกรรม การความคุมระดับความดันโลหิต การสูบบุหรี่และ
การดืม่ สุราไม่แตกต่างกัน 2) ปจั จยั ดา้ นความรอบร้สู ขุ ภาพ พบว่า ความรู้ ความเขา้ ใจดา้ นสุขภาพและการดแู ลรกั ษาสุขภาพตนเองแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.001 และ 0.01 ตามลำดับ ส่วนการตัดสินใจเลือกปฏิบัติไม่แตกต่างกันผลการศึกษาสะท้อนให้เห็นว่า ปัจจัยเสี่ยงที่มีความสัมพันธ์กับการเกิดโรคหลอดเลือดสมองของผู้ป่วยความดันโลหิต
สูงที่รับบริการที่โรงพยาบาลชัยภูมิ 3 ปัจจัย คือ 1) ส่วนบุคคล ได้แก่ สถานภาพสมรส และอาชีพ 2) สุขภาพ ได้แก่ รูปร่าง
3) ความรอบรู้สุขภาพ ได้แก่ ความรู้ความเข้าใจด้านสุขภาพ และการดูแลสุขภาพตนเอง ดังนั้นจึงควรส่งเสริมให้ผู้ป่วยความ
ดันโลหิตสูงมีความรอบรู้สุขภาพและการดูแลรักษาสุขภาพตนเองในการป้องกันโรคหลอดเลือดสมอง โดยเฉพาะการดูแล
รูปร่างตนเองให้มีดัชนีมวลกายในเกณฑ์ปกติ

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-03-31