การพยาบาลผู้ป่วยไข้เลือดออกเดงกีที่มีภาวะช็อก: กรณีศึกษา

ผู้แต่ง

  • ปานจิต โพธิ์ทอง คณะเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดล
  • วราภรณ์ สมวงษ์ โรงพยาบาลเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดล
  • กองแก้ว ย้วนบุญหลิม โรงพยาบาลเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดล
  • เอกมณี พัฒนพิพิธไพศาล โรงพยาบาลเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดล

คำสำคัญ:

ไข้เลือดออกเดงกี, ช็อก, การพยาบาล

บทคัดย่อ

การพยาบาลผู้ป่วยไข้เลือดออกเดงกีช็อก (dengue shock syndrome;DSS) โดยใช้แผนการประเมินแนวทางการรักษาตามกระบวนการทางการพยาบาล ผู้ป่วยรายนี้ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคไข้เลือดออกเดงกีช็อก และมีโรคร่วมคือธาลัสซีเมีย ผลการศึกษาพบว่าผู้ป่วยอยู่ในระยะวิกฤติ มีประเด็นปัญหาทางการพยาบาลคือ มีภาวะ hypovolemic shock เนื่องจากมีการรั่วของพลาสมาออกนอกเส้นเลือด มีเลือดออกและก้อนเลือดบริเวณคอเหนือกระดูกไหปลาร้า (Supraclavicular) และโพรงจมูก (nasal cavity) เนื่องจากเกล็ดเลือดต่ำและมีการเปลี่ยนแปลงของค่าการแข็งตัวของเลือดผิดปกติ  ส่งผลให้เกิดภาวะลิ่มเลือดแพร่กระจายในหลอดเลือด (disseminated intravascular coagulation; DIC) ประเด็นที่ต้องเฝ้าระวังคือเกิดภาวะ ischemia อวัยวะต่างๆขาดoxygen ทำให้มี organ failure ผู้ป่วยได้รับการรักษาโดยการให้เลือดและส่วนประกอบของเลือด พบความไม่สมดุลของสารน้ำและอิเลคโตรไลท์ นอกจากนี้ยังพบภาวะการทำงานของตับและไตล้มเหลว ผู้ป่วยจึงจำเป็นต้องได้รับการฟอกไตอย่างต่อเนื่อง เพื่อขับของเสียและน้ำที่เกินออกจากร่างกาย

                 ดังนั้นพยาบาลที่ทำหน้าที่ดูแลผู้ป่วยควรมีแนวทางการประเมินภาวะช็อกได้ตั้งแต่เริ่มต้นซึ่งมีความสำคัญอย่างมาก ที่จะช่วยให้ผู้ป่วยได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที ช่วยลดอัตราการเกิดภาวะแทรกซ้อนและเสียชีวิตได้ รวมถึงสามารถดูแลผู้ป่วยได้อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพทำให้อัตราการรอดชีวิตมีมากขึ้น

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-03-31