ผลของโปรแกรมสุขศึกษาโดยประยุกต์ใช้แรงจูงใจเพื่อป้องกันโรค และแรงสนับสนุนทางสังคมต่อพฤติกรรมการป้องกันภาวะแทรกซ้อน จากโรคไม่ติดต่อเรื้อรังในผู้สูงอายุที่เป็นโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ในเขตพื้นที่อำเภอเมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์

ผู้แต่ง

  • จุฑามาส ขุมทอง คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์
  • วิทยา จันตุ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์

คำสำคัญ:

โปรแกรมสุขศึกษา, แรงจูงใจ, แรงสนับสนุนทางสังคม, พฤติกรรมการป้องกันภาวะแทรกซ้อน, โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง, ผู้สูงอายุ

บทคัดย่อ

การวิจัยกึ่งทดลอง ชนิดสองกลุ่มวัดก่อนและหลังการทดลอง เพื่อศึกษาผลของการใช้โปรแกรมสุขศึกษาโดยประยุกต์
ใช้แรงจูงใจเพื่อป้องกันโรคและแรงสนับสนุนทางสังคม ในการส่งเสริมพฤติกรรมการป้องกันภาวะแทรกซ้อนจากโรคไม่ติดต่อ
เรื้อรัง ในผู้สูงอายุที่เป็นโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ในเขตพื้นที่อำเภอเมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้สูงอายุ
ทั้งเพศชายหรือหญิงที่เป็นโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ที่มารับการตรวจรักษาที่คลินิกผู้สูงอายุ โรงพยาบาลสุรินทร์ จำนวน 60 คน
แบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ โปรแกรมสุขศึกษาโดยประยุกต์ใช้
แรงจูงใจเพื่อป้องกันโรคและแรงสนับสนุนทางสังคม และ แบบสอบถามพฤติกรรมการป้องกันภาวะแทรกซ้อนจากโรค
ไม่ติดต่อเรื้อรังสำหรับผู้สูงอายุที่เป็นโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง เก็บรวบรวมข้อมูลเดือนมกราคม-เมษายน พ.ศ. 2563 ใช้เวลา
12 สัปดาห์ วิเคราะห์ข้อมูลส่วนบุคคลด้วยสถิติพรรณนา เปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมการป้องกันภาวะแทรกซ้อน
จากโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ในผู้สูงอายุที่เป็นโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ด้วยสถิติ paired t-test และ Independent t-test
ผลการศึกษา พบว่า หลังการทดลอง กลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมการป้องกันภาวะแทรกซ้อนจากโรคไม่ติดต่อ
เรื้อรัง สูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.001) และหลังการทดลอง กลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยพฤติกรรม
การป้องกันภาวะแทรกซ้อนจากโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง สูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.001)

References

1. Strategy and Planning Group Bureau of Non-communicable Diseases. Annual Report 2015. Bangkok: Office of
Publishing Organization.Helping veterans under the Royal Patronage. Retrieved from http: // www.
thaincd.com/document/file/download/ paper-manual / Annual-report-2015.pdf. (2016).
2. Jariyapon Ploekaew and Suthana Teachings. Effect of Motivation Building Program on Group Health BehaviorRisk of diabetes. Master of Public Health Thesis Naresuan University. (2018).
3. Niparat Boonkul and Rujira Duangsong. Effect of a health education program by applying the theory of motivation to prevent disease andSocial support for the development of preventive behaviors of nephrotic syndrome in hypertensive patients. One hospital in Khon Kaen Master of Public Health Thesis Khon Kaen University. (2012).
4. Nuanit Chaiyapetch, Udomsilpa, Kaewklumsitphong, Sornrat and Yuwadee Witthayaphan. Effectiveness of the modification program.Health behavior towards Health Behavior of NCDs Risk Group, Pho Wai Community, Bang Kung Subdistrict, Mueang District, Surat Thani Province. Journal of the Southern College of Nursing and Public Health Network. Vol 4 No 2 (2017): May-August. (2017).
5. Nipanan Suksawat, Araya Pranprawit, and Sarot Petmanee. Results of the Health Education Program Applied TheorySelf-Capability and Social Support for Self-Care in Elderly with Diabetes of Tha Leuk Sub-District Health Promoting Hospital, Phunphin District, Surat Thani Province. Master of Public Health Thesis Suratthani Rajabhat University. (2016).
6. Chu Leimthong, et al. Effect of the application of disease prevention theory to health promotion behavior.In high blood pressure risk groups Kong Air Force Journal of Faculty of Nursing Science Burapha University, 61-71. (2011).
7. Premthip Khongphan. Effect of a health education program by applying the theory of motivation for disease prevention and clinical support.Society on Prevention Behavior of Kidney Complications of Type 2. Diabetes Patients. Master of Public Health. Rajabhat Rajanagarindra University. (2016).
8. Rampaiwan Nakarin. Effect of application of the theory of motivation for disease prevention and social support inBehavior modification to reduce complications in people with diabetes. Ban Pho Noi Health Center, Khun Han District, Sisaket Province. Master of Public Health Thesis Mahasarakham University. (2010).

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-03-31