ระบบการดูแลสุขภาพของผู้ป่วยโรคหืด คลินิกโรคหืด โรงพยาบาลห้วยเม็ก อำเภอห้วยเม็ก จังหวัดกาฬสินธุ์

ผู้แต่ง

  • ณัฐกร พิชัยเชิด คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • ลิ้มตระกูล ลิ้มตระกูล คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

คำสำคัญ:

สถานการณ์, การดูแลสุขภาพผู้ป่วยโรคหืด, ระบบการดูแลสุขภาพ

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้เป็นข้อมูลระยะศึกษาสถานการณ์ของการวิจัยเชิงปฏิบัติการ เพื่อศึกษาระบบการดูแลสุขภาพผู้ป่วยโรคหืด
คลินิกโรคหืด โรงพยาบาลห้วยเม็ก อำเภอห้วยเม็ก จังหวัดกาฬสินธุ์ โดยใช้กรอบแนวคิดการดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรังภาคขยาย
กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ ผู้ป่วยโรคหืด ผู้ดูแล อสม. พยาบาลวิชาชีพประจำคลินิกโรคหืดและกลุ่มงานบริการด้านปฐมภูมิและ
องค์รวม เภสัชกร แพทย์ และผู้บริหารโรงพยาบาล เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล ได้แก่ แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง
แบบสัมภาษณ์เชิงลึก และแบบประเมินการควบคุมโรคหืด วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา และ
วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาผลการศึกษาสถานการณ์ พบว่า 1) ผู้ป่วยส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 85 ไม่สามารถควบคุมอาการได้ ร้อยละ 52.50 บางคนขาดนัด ใช้ยาพ่นสูดไม่ถูกวิธี และมีการสูบบุหรี่ 3 คน 2) ด้านครอบครัวและชุมชน การสนับสนุนการดูแลผู้ป่วยจาก ผ้ดู แู ลยงั น้อย และอสม. ยงั ไม่มสี ่วนร่วมในการดแู ลผ้ปู ่วยโรคหดื ในชมุ ชน 3) ด้านระบบบรกิ าร มกี ารให้ความร้ไู ม่ครอบคลมุ ฐานข้อมูลไม่เป็นปัจจุบัน และไม่มีระบบติดตามเยี่ยมบ้านต่อเนื่อง และ 4) ด้านสิ่งแวดล้อม ยังมีการเผาขยะในครัวเรือนและไม่มีนโยบายการควบคุมการเผาป่า ดังนั้นควรมีการกำหนดนโยบายต่อโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลในการทำ แผนการเยี่ยมผู้ป่วยที่บ้านตามระดับการควบคุมโรคหืด

References

1. Barr et al. The Expanded Chronic Care Model: an Integration of Concepts and Strategies from Popolation Health Promotion and the Chronic Care Model. Hospital Quarterrly 2003; 7: 73-82.
2001;20:64-78.
2. Kemmis S, Mc taggart R. Participatory Action Research. In N.K. Denzin & Y.S. Lincoln (Eds.), Strategies of Qualitative InQuiry (3ed). Thousand Oaks, CA: Sage; 2007: 271-326.
3. Wagner E. H. et al. Improving Chronic Illness Care:Translating Evidence Into Action. Health Affairs 2001;20:64-78.
4. World Health Organization. Chronic respiratory diseases : WHO; 2020.
5. World Health Organization. 10 facts on asthma. [Database on the Internet].2017 [cited July, 2017]. Available from http://www.who.int/respiratory/asthma/en/
6. World Health Organization. Management of asthma. [Database on the Internet].2017 [cited July, 2017]. Available from http://www.who.int/respiratory/asthma/burden/en/
7. Thai Asthma Council and Association. Clinical Guideline for Asthma Care 2017. Bangkok: Beyond enterprise; 2017.
8. Setaphan S, editors. The Development of Nursing System for Pediatric Patients with Asthma in Sanpasitthiprasong Hospital, Journal of Nursing and Health Care 2015; 33(3),185-194.
9. Bootdee P. Improvement of the continuing care for asthma patients of Atsamat Primary Care Unit, Atsamat District, Roi-et Province. [Thesis]. Khon Jean : Khon Kean University; 2016.
10. Tangpathomwong C. Children and Caregiver Factors Predicting Asthma Control of School Aged Children. Journal of Nursing and Health Care 2016; 34(2), 67-74.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-03-31