พฤติกรรมการดูแลตนเองของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน เพื่อป้องกันโรคและภาวะแทรกซ้อนของความดันโลหิตสูง

ผู้แต่ง

  • จิราวิช วัฒนไชย โรงพยาบาลชุมพรเขตรอุดมศักดิ์ ชุมพร
  • ศรีเมือง พลังฤทธิ์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ปทุมธานี
  • นติมา ติเยาว์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ปทุมธานี
  • วิษณุ อนิลบล โรงพยาบาลปากน้ำหลังสวน ชุมพร
  • เพชรรัตน์ บุนนาค คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ปทุมธานี
  • จารณี มากภิรมย์ โรงพยาบาลชุมพรเขตรอุดมศักดิ์ ชุมพร

คำสำคัญ:

การดูแลตนเอง, ความดันโลหิตสูง

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการดูแลตนเองของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ในการ
ป้องกันโรคและภาวะแทรกซ้อนของความดันโลหิตสูง การรับรู้เกี่ยวกับความดันโลหิตสูง และความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยกับ
ระดับการดูแลตนเองของ อสม. เป็นการวิจัยภาคตัดขวาง กลุ่มตัวอย่างเป็น อสม. ตำบลคูคต อำเภอลำลูกกา จังหวัดปทุมธานี
เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบไคสแคว์
ผลการวิจัย ผู้เข้าร่วมวิจัย 142 คน เป็นผู้หญิงร้อยละ 86 มีอายุระหว่าง 61 - 70 ปี ร้อยละ 45.2 น้ำหนักเกินมาตรฐาน
ร้อยละ 71 เป็นความดันโลหิตสงู ร้อยละ 49.2 คน คนในครอบครวั เป็นความดนั โลหิตสูงร้อยละ 48 พฤติกรรมการดูแลตนเอง
ภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง ดูแลตนเองได้ดีในเรื่องรสชาติอาหารไม่จัด การรับประทานธัญพืช การออกกำลังกาย
การสูบบุหรี่/ยาเส้น การดื่มแอลกอฮอล์ การไปพบแพทย์ และอารมณ์กังวลหรือเครียด แต่การดูแลตนเองที่ยังไม่ดีในเรื่อง
การรับประทานผัก ผลไม้ การรับประทานยา และการนอน ส่วนการรับรู้เกี่ยวกับความดันโลหิตสูงภาพรวมอยู่ในระดับมาก
ส่วนพฤติกรรมเสี่ยง และอุปสรรคที่ควบคุมความดันโลหิตสูงไม่ได้ ส่วนใหญ่เกิดจากอาหารและอารมณ์เครียด แรงบันดาลใจ
ในการปรับเปลี่ยนตนเองเกิดจากทำเพื่อตนเองและครอบครัว ปัจจัยที่มีผลต่อระดับการดูแลสุขภาพตนเองอย่างมีนัยสำคัญ
ทางสถิติ คือครอบครัวมีคนป่วยเป็นความดันโลหิตสูง (p-value < 0.01)

Author Biography

จิราวิช วัฒนไชย, โรงพยาบาลชุมพรเขตรอุดมศักดิ์ ชุมพร

สถานเวชศาสตร์ชุมชนและเวชศาสตร์ครอบครัว คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

คลองหนึ่ง คลองหลวง ปทุมธานี 12120

References

1. ธาริณี พังจุนันท์, นิตยา พันธุเวทย์. ประเด็นสารรณรงค์วันความดันโลหิตสูงโลก 2556. [ออนไลน์]. (2556). [เข้าถึงเมื่อวันที่ 15 สิงหาคม 2561]. เข้าถึงได้จาก:http://thaincd.com/document/file/download/leaflet/ประเด็นสารความดันโลหิตสูง56.pdf.
2. กลุ่มพัฒนาระบบสาธารณะสุข สำนักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค. ประเด็นสารรณรงค์วันความดันโลหิตสูงโลกปี 2561. [ออนไลน์]. 2561. [เข้าถึง เมื่อวันที่ 15 สิงหาคม 2561]. เข้าถึงได้จาก:http://www.thaincd.com/document/file/info/...ประเด็นสารวันความดันโลหิตสูง_61.pdf.
3.วิชัย เอกพลากร.รายงานการสำรวจสุขภาพประชาชนไทยโดยการตรวจร่างกายครั้งที่ 5 พ.ศ.2557. [ออนไลน์]. (2557). [เข้าถึง เมื่อวันที่ 15 สิงหาคม 2561]. เข้าถึงได้จาก:http://thaitgri.org/?p=37869.
4. สถานบริการสาธารณสุข ของกระทรวงสาธารณสุข.จำนวนผู้ป่วยในจำแนกตามกลุ่มสาเหตุป่วย 75 โรค จังหวัดปทุมธานี พ.ศ.2546–2555. [ออนไลน์]. (2555). [เข้าถึง เมื่อวันที่ 15 สิงหาคม 2561]. เข้าถึงได้จาก : http://service.nso.go.th/nso/web/statseries/tables/21300_Pathum_Thani/in-46-55.xls.
5. Regional Consultation Bangkok. Self-care in the Context of Primary Health Care.[online].(2009). [cited 2018 August 15]. Availablfrom:http://apps.searo.who.int /PDS_ DOCS/B4301.pdf.
6. Sayed Fazel Zinat Motlagh, Reza Chaman and others.Self-Care Behaviors and Related Factors in Hypertensive Patients. Pubmed2016:1–10.
7. ปฐญาภรณ์ ลาลุน, นภาพร มัธยมางกูร และอนันต์ มาลารัตน์.พฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่มารับบริการแผนกผู้ป่วยนอกอายุรกรรมโรงพยาบาลศูนย์การแพทย์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี. Thai journal online 2011;18:1–10.
8.จันทนี เปี่ยมนุ่ม.พฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยความดันโลหิตสูง กิ่งอำเภอเขาคิชฌกูฏ จังหวัดจันทบุรี.สำนักกรรมการการวิจัยแห่งชาติ 2007: 1 –4.
9. โสภณ เมฆธน.คลินิกหมอครอบครัว แนวทางการดำเนินงานคลินิกหมอครบครัวสำหรับหน่วยบริการ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด; 2559.
10. ตวงพร กตัญญุตานนท์, วัชนีย์ จันทร์ปัญญา และคณะ. พฤติกรรมดูแลสุขภาพตนเองของผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง สถานีอนามัยแห่งหนึ่ง ในตำบลบางเมือง จังหวัดสมุทรปราการ. วารสารวิชาการสมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย 2559:53–62.
11. เนาวรัตน์ จันทานนท์, บุษราคัม สิงห์ชัย และวิวัฒน์ วรวงษ์.พฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง จังหวัดชุมพร.วารสารวิจัยขอนแก่น 2011:749–5.
12. สมรัตน์ ขำมาก.พฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลนางเหล้า อำเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลา. Thai journal online 2559;3:153–69.
13. ภัสพร ขำวิชา, เพ็ญศิริ สันตโยภาส และคณะ.การพัฒนาพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ที่มีความดันโลหิตสูง ในชุมชนซอยโจ๊ก เขตบางซื่อกรุงเทพมหานคร.คณะพยาบาลศาสตร์เกื้อการุณย์ มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช 2014;13:83–96.
14. สมาคมความดันโลหิตสูงแห่งประเทศไทย.แนวทางการรักษาโรคความดันโลหิตสูงในเวชปฏิบัติทั่วไป พ.ศ.2562.[ออนไลน์]. (2562). [เข้าถึงเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน2555]. เข้าถึงได้จาก: http://www.thaihypertension.org/guideline.html.
15. สิทธิโชค หายโสก, อภิเชษฐ์ จำเนียรสุข และคณะ. ปัจจัยสุขภาพกับพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลดงขี้เหล็ก อำเภอเมือง จังหวัดปราจีนบุรี. มหาวิทยาลัยมหิดล คณะสาธารณสุขศาสตร์. 2560:87–93.
16. กำไร เผียดสูงเนิน.การพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงในเขตพื้นที่ตำบลกุดตาเพชรอำเภอลำสนธิจังหวัดลพบุรี.วารสารวิจัยและพัฒนาด้านสุขภาพสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา 2561; 4(2): 26 – 39 .
17. วิมุตชพรรณ ไชยชนะ, Wimutchapun Chaichana, หทัยรัตน์ นิยมาศ,Hathairat Niyamas.พฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง ชุมชนบ้านแม่พุง อำเภอป่าแดด จังหวัดเชียงราย. สถาบันวิจัยระบบสาธารณะสุข 2007:1.
18. จรูญรัตน์ รอดเนียม, สกุนตลา แซ่เตียว และวรวรรณ จันทวีเมือง. การรับรู้ประโยชน์ การรับรู้อุปสรรค และการรับรู้ความสามารถของตนเองกับพฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพ และภาวะสุขภาพของนักศึกษาพยาบาล. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข. 2556:88–97.
19. ดวงใจ เปลี่ยนบำรุง. การรับรู้สุขภาพ และพฤติกรรมสุขภาพของผู้ใช้บริการกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง. Thai journal online. 2559:1.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-03-31