The Association between Gender, Hypertension Knowledge, Self-efficacy, Social Support and Lifestyle Modification among Bhutanese People with Hypertension

ผู้แต่ง

  • นิภาวรรณ สามารถกิจ คณะพยาบาลศาสตร ์มหาวิทยาลัยบูรพา
  • Nima Dorji
  • เขมารดี มาสิงบุญ คณะพยาบาลศาสตร ์มหาวิทยาลัยบูรพา
  • วิภา วิเสโส คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา

คำสำคัญ:

การปรับวิถีการดำเนินชีวิต ความรู้เกี่ยวกับโรคความดันโลหิตสูง สมรรถนะแห่งตน การสนับสนุนทางสังคม

บทคัดย่อ

การศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนาหาความสัมพันธ์ระหว่างเพศ ความรู้เกี่ยวกับโรคความดันโลหิตสูง การรับรู้สมรรถนะแห่งตน การรับรู้การสนับสนุนทางสังคม กับการปรับวิถีการดำเนินชีวิต กลุ่มตัวอย่างสุ่มอย่างง่ายจากผู้เป็นโรคความดันโลหิตสูงที่มาตรวจตามนัดที่คลินิกโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง โรงพยาบาลภูนาคา ประเทศภูฏาน จำนวน 108 ราย ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลระหว่างเดือนมีนาคมถึงเมษายน พ.ศ. 2563 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แบบสอบถามข้อมูลส่วนแบบวัดพฤติกรรมในการดูแลตนเองเกี่ยวกับโรคความดันโลหิตสูง แบบวัดระดับความรู้เกี่ยวกับ โรคความดันโลหิตสูง แบบวัดการรับรู้สมรรถนะแห่งตน แบบสอบถามการรับรู้การสนับสนุนทางสังคมแบบพหุมิติ ซึ่งมีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.83, 0.82, 0.81 และ 0.85 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนา สถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ พอยท์ไบซีเรียล และสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน
ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่าง มีคะแนนการปรับวิถีการดำเนินชีวิตในระดับสูง (M = 53.9, SD = 7.7) การปรับวิถีการดำเนินชีวิตมีความสัมพันธ์ทางบวกกับความรู้เกี่ยวกับโรคความดันโลหิตสูง (r= .27, p < .01) การรับรู้สมรรถนะแห่งตน(r = .43, p < .001) และการรับรู้การสนับสนุนทางสังคม (r = .26, p <.01) เพศไม่มีความสัมพันธ์กับการปรับวิถีการดำเนินชีวิต(rpb= .03, p.79) จากผลการศึกษานี้ การออกแบบการดูแลผู้เป็นโรคความดันโลหิตสูงให้สามารถปรับวิถีการดำเนินชีวิตเพื่อให้ควบคุมความดันโลหิตให้อยู่ในระดับปกติและป้องกันภาวะแทรกซ้อน ควรให้ความสำคัญกับการให้ความรู้เกี่ยวกับโรคความดันโลหิตสูง การส่งเสริมการรับรู้สมรรถนะแห่งตนและการรับรู้การสนับสนุนทางสังคม

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-12-30