การพัฒนาและประเมินผลแนวปฏิบัติการพยาบาลเพื่อคัดกรอง การถูกกระทำความรุนแรงและจัดการดูแลผู้ป่วยเด็กและสตรี ที่มารับบริการในโรงพยาบาลร้อยเอ็ด

ผู้แต่ง

  • มะลิวรรณ อังคณิตย์ โรงพยาบาลร้อยเอ็ด
  • ดวงจัน ข่าขันมะลี โรงพยาบาลร้อยเอ็ด
  • อาริยา สอนบุญ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

คำสำคัญ:

แนวปฏิบัติการพยาบาล, การคัดกรองการถูกกระทำความรุนแรง, การจัดการดูแลผู้ป่วยเด็กและสตรีที่ถูกกระทำความรุนแรง

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและศึกษาผลการใช้แนวปฏิบัติการพยาบาลเพื่อคัดกรองการถูกกระทำความรุนแรง
และจัดการดูแลผู้ป่วยเด็กและสตรีที่มารับบริการในโรงพยาบาลร้อยเอ็ด โดยใช้หลักฐานเชิงประจักษ์ของซูคัพ1 เป็นกรอบ
แนวคิดการพัฒนา 4 ระยะ คือ ค้นหาปัญหาทางคลินิก สืบค้นหลักฐานเชิงประจักษ์ การพัฒนาแนวปฏิบัติและนำแนวปฏิบัติ
ไปทดลองใช้ การนำแนวปฏิบัติที่ปรับปรุงแล้วไปใช้จริงในหน่วยงาน ได้ทบทวนงานวิจัยและหลักฐานเชิงประจักษ์ ในช่วงปี
ค.ศ. 2002-2016 ได้หลักฐานเชิงประจักษ์ที่มีระดับความน่าเชื่อถือ 10 เรื่อง โดยเป็นงานวิจัยระดับ 1 คือ งานวิจัยที่มีการ
ทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบ จำนวน 3 เรื่อง การวิเคราะห์เชิงอภิมานของงานวิจัยที่เป็นเชิงทดลองชนิดที่มีการสุ่ม
เข้ากลุ่ม จำนวน 2 เรื่อง การศึกษาโดยการสังเกต 3 เรื่อง และบทความวิชาการ 2 เรื่อง นำมาสังเคราะห์ในการสร้างแนว
ปฏิบัติการพยาบาลที่พัฒนาขึ้นตรวจสอบเชิงเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ 5 คน ได้ค่าความตรง 0.91 และทดสอบความเที่ยง
ระหว่างผู้ประเมินเท่ากับ 0.95 ผลการวิจัย: แนวปฏิบัติฯที่พัฒนาขึ้นประกอบด้วย 3 ส่วนคือ (1) การคัดกรองและประเมินความเร่งด่วนในการดูแล (2) การบันทึกผลการคัดกรองและการบันทึกทางการพยาบาล และ (3) การจัดการดูแลตามความเร่งด่วน ผลการนำใช้แนว ปฏิบัตินี้กับพยาบาลวิชาชีพ 16 คน พยาบาลผู้ใช้แนวปฏิบัติทุกราย ระบุว่า สามารถนำไปใช้ได้ มีความชัดเจน ง่ายสะดวกและมีความพึงพอใจในการนำไปใช้ในระดับมาก ประมาณสองในสามของพยาบาลผู้ใช้แนวปฏิบัติฯ เห็นว่ามีความเป็นไปได้มากที่สุดในการนำแนวปฏิบัติฯไปใช้ ความครอบคลุมการคัดกรองการถูกกระทำรุนแรงในเด็กและสตรีที่มารับบริการใน
โรงพยาบาล ทำให้การเข้าถึงบริการจัดการดูแลจากศูนย์พึ่งได้เพิ่มขึ้น และพยาบาลผู้ใช้แนวปฏิบัติฯมีความพึงพอใจโดยภาพ
รวมสูงมาก ส่วนการนำใช้กับผู้ป่วยจำนวน 60 คน พบว่า อัตราการได้รับการคัดกรองและการจัดการดูแลตามความเร่งด่วน
ร้อยละ 97.44 คุณภาพด้านการดูแลผู้ป่วยปลอดภัย ไม่ถูกกระทำซ้ำและไม่เสียชีวิต ได้รับเสริมพลังอำนาจความเข้มแข็งโดย
พยาบาลผู้ให้การปรึกษาและทีมสหวิชาชีพศูนย์พึ่งได้ตามความต้องการของผู้ป่วยและความพึงพอใจในการให้บริการตาม
แนวปฏิบัติ ร้อยละ 98.20 ผลการศึกษานี้เสนอแนะ แนวปฏิบัติฯนี้สามารถใช้คัดกรองการถูกกระทำความรุนแรงในเด็กและสตรีที่มารับบริการในโรงพยาบาลทุกแผนก ควรนำแนวปฏิบัตินี้ไปทดลองใช้กับผู้ป่วยเด็กและสตรีที่มารับบริการในโรงพยาบาลร้อยเอ็ดระยะยาวขึ้นเพื่อประเมินติดตามคุณภาพการพยาบาลผู้ป่วยอย่างต่อเนื่อง และควรมีการปรับปรุงเนื้อหาให้ทันสมัยอยู่เสมอ

References

References
1. Soukup SM. The center for advanced nursing practice evidence-based practice model. Nurs Clin North Am 2000; 35(2) : 301-9.
2. Alotaby, I,Y.,Alkandari, B.A.,Alshamali,K.A., Kamel, M. I.,& El-Shazly, M. K. (2013). Barriers for domestic violence screening in primary health care centers. Alexandria Journal of Medicine, 49, 175-180. doi: 10.1016/j.ajme.2012.07.005.
3. ภาควิชาสตรีศึกษาคณะสังคมศาสตร์มหาวิทยาลัย เชียงใหม่. (2557). จดหมายข่าว: ยุติความ รุนแรงต่อผู้หญิง. ตอนที่ 5. สืบค้นเมื่อ 8ธันวาคม2558, จากhttps://static1.squarespace.com/static/52.
4. WHO Multi-country Study team. (2005). WHO multi-country study on women’s health and domestic violence against women: initial results on prevalence, health outcomes and women’s responses. Geneva:WorldHealth Organization.
5. พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ถูกกระทำด้วยความ รุนแรงในครอบครัว พ.ศ. 2550. (2550, 14 สิงหาคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 124 ตอนที่41. หน้า 1-8.
6. สุขุม กาญจพิมาย. สธ.ร่วมยุติความรุนแรงต่อเด็กและสตรี “ตั้งศูนย์พึ่งได้”. คำให้สัมภาษณ์ปลัดกระทรวงสาธารณสุข กรุงเทพธุรกิจ. https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/818777 ,17 พฤศจิกายน 2561.
7. Buaboon.N, Jeeraporn Kummabutr.J. DOMESTIC VIOLENCE AGAINST PREGNANT WOMEN SCREENING TOOLS .Vol.30 No.3 September - December 2016.
8. Richardson,J.,Coid,J.,Petruckevitch,A.,Chung, W.S., Moorey, S., & Feder, G. (2002). Identifying domestic violence: cross sectional study in primary care. The British Medical Journal, 324, 274–7.
9. BenNatan,M.,BenAri,G.,Bader,T.,&Hallak,M. (2012).Universalscreening for domestic violence in a department of obstetrics andgynecology: A patient and care perspective. International Nursing Review, 59(1), 108–114.
10. The U.S.PreventiveServices TaskForce. (2013). Screening for intimate partner violence and abuse of elderly and vulnerable adults. Retrieved December 5, 2015, from http:// www.uspreventiveservice staskforce.org/ uspstf12/ipvelder/ipvelderfact.pdf
11. กมลพร แพทย์ชีพ. ความรุนแรงในคู่ครองและผลกระทบต่อปัญหาด้านจิตใจในกลุ่มอาการความวิตกกังวล ความซึมเศร้าและความก้าวร้าว: กรณีศึกษา อ.เมือง จ.ราชบุรี. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต (สาธารณสุขศาสตร์) สาขาวิชาพยาบาลสาธารณสุข คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล; 2542.
12. Barnett OW. Why battered women do not leave, part I: External inhibiting factors within society. Trauma, Violence, and Abuse 2000; 1:343-72.
13. Fischbach RL, Herbert B. Domestic Violence and Mental Health:Correlates and Conundrums within and Across Cultures. Soc Science Med 1997; 45: 1161-76.
14. Sripichyakan K. Dealing with wife abuse: A study from the women’s perspectives in thailand. Unpublished PhD dissertation, School of Nursing, University of Washington; 1999. 14. คณะกรรมการส่งเสริมและประสานงานสตรี. นโยบาย และแผนขจัดความรุนแรงต่อเด็กและสตรี. เอกสาร อัดโรเนียว; 2543.
15. คณะกรรมการส่งเสริมและประสานงานสตรี. นโยบาย และแผนขจัดความรุนแรงต่อเด็กและสตรี. เอกสาร อัดโรเนียว; 2543.
16. 24.Joanna Briggs Institute. JBI Levels of Evidence and Grades of Recommendation 2014 [cite 2015 July 27]. Available from http://www.Joannabriggs.
17. Polit, D. F., & Beck, C. T., (2012). Nursing research: Principles and methods (9th ed.). Philadelphia, PA: Lippincott.
18. Thongchai CH, Nantachaipan P. Survey on the use of practice. Chaing Mai: Chaing Mai University; 2004. (In Thai).
19. Weawwanjit D. The development and evaluation of clinical nursing practice guideline for fever management in patients with traumatic brain injury, Songklanakarind Hospital, [Master of Nursing Science Thesis]. Songkhla: Prince of Songkla University; 2011. (In Thai).
20. สายพิณ เกษมกิจวัฒนา. การใช้หลักฐานเชิงประจักษ์ในการปฏิบัติการพยาบาล. ในการวิจัยทางการพยาบาลสารสนเทศและสถิติ. สาขาวิชาพยาบาลศาสตร์, มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช 2550.
21. Melnyk BM, Fineout-Overholt E. Evidence-base practice in nursing & healthcare: a guide to best practice. Philadelphia: Lippincott Williams & Wilkins; 2005.
22. Polit F, Beck CT. Nursing research: principles and methods. 7th ed. Philadelphia: Lippincott Williams & Wilkins; 2004.
23. Allen NE, Bybee DI, Sullivan CM. Battered Women’s Multitude of Needs: Evidence Supporting the Need For Comprehensive Advocacy. Violence Against Women 2004; 10(9): 1015-35.
24. Hamilton Health Sciences, Hamilton, Ontario, Reprinted with permission, 2016.
25. World Health Organization. Prevalence of Physical Violence Against Women. Available at www5.who. int/violence_injury_prevention/. 2002.
26. Atatanuchit S, Sae-Sia W, Songwathana P. Development of Clinical Nursing Practice Guideline for Initial Assessment among Multiple Injured Patients Admitted in Trauma Units. Princess of Naradhiwas University 2010; 2(2): 16-28. (In Thai).
27. Thongchai CH. Clinical Practice Guidelines Development. The Thai Journal of Nursing Council 2005; 20(2): 63-74. (In Thai).
28. Sanbudda T. Working experience of new graduated nurses in a general hospital, [Master of Nursing Science Thesis]. Bangkok: Chulalongkorn University; 2003. (In Thai).
29. สุธาสินี พิมพ์สังข์ , จีราภรณ์ กรรมบุตร, มยุรี นิรัตธราดร. ผลของการใช้แนวปฏิบัติทางคลินิกในการคัดกรองกลุ่มอาการปวดท้องในผู้ป่วยนอก. วารสารพยาบาลทหารบก; 2561(19): ฉบับพิเศษ กันยายน – ธันวาคม
30. Phomtong CH, Prechanond P, Pavavattananusorn S, et al. Using an Evidence-Based Approach for Developing Clinical Nursing Practice Guidelines for Breast Cancer Patients Undergoing Surgery. Ramathibodi Nursing Journal 2008; 14(1): 42-53. (In Thai).
31. สุนีรัตน์ จันทร์ศรี, อัจฉราพร สี่หิรัญวงศ์, และอทิตยา พรชัยเกตุ โอวยอง. การพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาลในการพิทักษ์สิทธิ์ของสตรีไทยที่ถูกสามีทำร้าย. วารสารสภาการพยาบาล 2552; 24(4).
32. น้ำฝน ไวทยวงศ์กร, เอมพร รตินธร, เยาวลักษณ์ เสรีเสถียร, และนิตยา สินสุก. ความรุนแรงในขณะตั้งครรภ์ ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์และการแสวงหาความช่วยเหลือของสตรีตั้งครรภ์ที่ถูกกระทำรุนแรง.
33. Waithayawongkorn. N, Ratinthorn.A , Yaowalak Serisathien.Y, Sinsuksai.N. Violence during Pregnancy Related Factors and Help Seeking of Abused Pregnant Women. J Nurs Sci; 2009 Vol.27 No.3 S2 Sep-Dec 2009.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-12-29